Share this
ติดดอย คืออะไร? คู่มือฉุกเฉินสำหรับนักลงทุน

ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนมือใหม่หรือแม้กระทั่งอยู่ในวงการมาสักพัก คงต้องเคยได้ยินคำว่า “ติดดอย” ผ่านหูกันมาบ้าง ซึ่ง “ติดดอย” ไม่ใช่การที่ติดอยู่บนยอดภูเขาแต่อย่างใด แต่เป็นสถานการณ์ที่นักลงทุนต้องเผชิญกับการขาดทุนในตลาดคริปโตจนพอร์ตเกิดความเสียหายนั้นเอง ในบทความนี้จะพาไปรู้จักกับความหมายของ “ติดดอย” ว่าคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร พร้อมวิธีรับมืออย่างมีสติ เพื่อให้ลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมั่นใจอีกครั้ง
ติดดอย คืออะไร?
“ติดดอย” คือ ศัพท์แสลงที่ใช้เรียกสถานการณ์ที่นักลงทุนมีการซื้อสินทรัพย์ในราคาสูง ก่อนที่ราคาจะร่วงลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องถือครองไว้แบบจำใจโดยไม่รู้ว่าราคาจะฟื้นตัวเมื่อไหร่

ติดดอยในตลาดคริปโตหมายถึงอะไร?
สำหรับตลาดคริปโต “ติดดอย” หมายถึง การที่ซื้อเหรียญในราคาที่สูงสุด All Time High (ATH) หรือใกล้จุดพีคของตลาด ก่อนที่ราคาจะดิ่งลงอย่างรุนแรง ทำให้หลายคนต้องถือเหรียญไว้โดยไม่สามารถขายทำกำไรได้ หรือหากขายได้ ก็มักจะขาดทุนอย่างสาหัส
ปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนติดดอยในคริปโต
มีหลายปัจจัยที่ทำให้พอร์ตของนักลงทุนหลาย ๆ คนติดดอย เช่น
- การซื้อเหรียญตามกระแส (FOMO): เมื่อกระแสของเหรียญคริปโตกำลังมาแรง เทรดเดอร์มักถูกชักจูงจากข่าวบนโซเชียลมีเดียหรือกลุ่มนักลงทุนกันเองที่สามารถทำกำไรได้ ทำให้เกิดความรู้สึกว่ากลัวตกเทรนด์ กลัวพลาดโอกาส เลยต้องรีบซื้อเหรียญตามกระแส
- การขาดความรู้: การลงทุนโดยไม่ศึกษาข้อมูลของคริปโตให้รอบคอบ หรือหลงเชื่อข่าวที่เกินจริง รวมถึงการตกเป็นเหยื่อของกลยุทธ์ปั่นราคาต่าง ๆ ทำให้ซื้อเหรียญในช่วงราคาที่สูงเกินความเป็นจริง ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด
- การซื้อในช่วงตลาดคริปโตขาขึ้น: เมื่อตลาดอยู่ในช่วงขาขึ้น (Bull Market) โดยราคาเหรียญพุ่งขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง นักเทรดมักมั่นใจและเชื่อว่าราคาจะขึ้นสูงอีก จึงไม่อยากพลาดโอกาสในการกำไรและรีบซื้อเหรียญโดยไม่ดูแนวโน้มของตลาดในระยะยาว
- ความคาดหวังสูง: นักลงทุนบางคนเชื่อว่าเหรียญที่ถืออยู่จะกลับไปทำราคาสูงเท่าเดิม ซึ่งถือเป็นการมองโลกในแง่ดีเกินไป จนเกิดความผูกพันธ์ทางอารมณ์ทำให้ถือครองสินทรัพย์ไว้นาน นำมาสู่ผลกระทบทางการเงินในท้ายที่สุด
-
การขาดความอดทน: เทรดเดอร์บางคนซื้อขายคริปโตแบบใช้อารมณ์นำเหตุผล โดยไม่มีการวางแผนการลงทุนที่ชัดเจน ส่งผลให้พลาดโอกาสในการซื้อขายในจังหวะที่เหมาะสม
.jpg?width=1398&height=1042&name=Gold%20Shiba%20Coin%20on%20White%20Background%20(1).jpg)
ตัวอย่างเคสติดดอยในตลาดคริปโต
-
เหตุการณ์ของเหรียญ Shiba Inu ในปี 2021
Shiba Inu เป็นเหรียญที่ได้รับความสนใจและความนิยมอย่างมากในช่วงเดือนตุลาคมปี 2021 จึงทำให้เทรดเดอร์จำนวนมากรีบซื้อเหรียญในช่วงราคาที่พุ่งทะยานแบบ Skyrocket ไปถึง $0.00008616 หลังจากนั้นเหรียญ Shiba ก็ประสบกับปัญหาราคาดิ่งลงอย่างรุนแรง ส่งผลให้นักลงทุนหลายคนติดดอย ขาดทุน และไม่สามารถขายเหรียญที่ซื้อไว้ได้ทันเวลา ปัจจุบันราคาของเหรียญ Shiba Inu ยังคงไม่สามารถกลับไปทำราคาสูงเท่ากับปี 2021 ได้อีก

วิธีเอาตัวรอดเมื่อคุณติดดอยในคริปโต
-
ถือยาว (HODL)
กลยุทธ์การ HODL นี้นับว่าเป็นแนวคิดแบบ “ไม่ขายไม่ขาดทุน” คือ การถือครองสินทรัพย์ระยะยาวแบบไม่ขาย เพราะมีความเชื่อมั่นในศักยภาพระยะยาวของโครงการ ถึงแม้ว่าตลาดจะผันผวนแค่ไหนก็ตาม ซึ่งหากเหรียญมีพื้นฐานที่ดี การถือยาวอาจช่วยให้พอร์ตฟื้นตัวเมื่อมูลค่ากลับมาได้
-
ถัวเฉลี่ยต้นทุน (DCA - Dollar Cost Averaging)
การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน เป็นกลยุทธ์ที่นักเทรดจะค่อย ๆ ทยอยซื้อสินทรัพย์เมื่อราคาลง เพื่อลดต้นทุนเฉลี่ยและผลกระทบจากความผันผวนของตลาด อีกทั้งยังเป็นการสร้างวินัยในการลงทุน ซึ่งสำหรับวิธีนี้ นักลงทุนควรมีเงินเย็นสำรองและความรู้ในเรื่องกราฟราคาก่อนใช้กลยุทธ์นี้ ที่จะช่วยคืนทุนได้เร็วขึ้นเมื่อตลาดฟื้นตัว
-
ตั้ง Stop-Loss และ Cut Loss
- การตั้ง Stop-Loss: เป็นการกำหนดจุดขาดทุน ให้หยุดขาดทุน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเพิ่มขึ้น หากราคาของเหรียญลดลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดพอร์ตแตก
- การ Cut Loss: กลยุทธ์ที่นักเทรดต้องตัดใจขายเหรียญที่ขาดทุน เพื่อปกป้องเงินทุนที่เหลือ โดยการรอช้อนซื้อในราคาที่ต่ำกว่าหรือนำเงินไปลงทุนในเหรียญที่มีศักยภาพในการเติบโตมากกว่าได้
-
ใช้ประโยชน์จาก Staking หรือ Yield Farming
สำหรับคริปโตในกลุ่ม DeFi เช่น Ethereum (ETH), MakerDao (MKR) และ Uniswap (UNI) คือ การนำเหรียญไปค้ำประกันเพื่อช่วยตรวจสอบธุรกรรม และรับผลตอบแทน ส่วน Yield Farming เหรียญ คือการฝากเหรียญบนแพลตฟอร์ม DeFi เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับ DeFi นั้น ๆ และรับผลตอบแทนจากค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้น
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการติดดอยในคริปโต
-
Cut loss คืออะไร
Cut Loss คือ การที่ตัดสินใจขายสินทรัพย์ถึงแม้จะขาดทุน นับเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่เปรียบเสมือนการตัดไฟตั้งแต่ต้นลม เพื่อป้องกันไม่ให้ติดดอยและขาดทุนมากขึ้นไปอีก เพราะหากขายเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมนั้นย่อมดีกว่าปล่อยให้พอร์ตพังยับเยิน ซึ่งทำให้สามารถไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ ที่มีแนวโน้มว่าจะผลตอบแทนที่ดีกว่าได้
-
ติดดอยควรทำอย่างไร
หากนักเทรดติดดอยในคริปโต ควรลงจากดอยให้เร็วที่สุด โดยมีวิธีการรับมือสำหรับนักลงทุนหลากหลายทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นการ HODL ถือเหรียญยาวเพื่อรอการฟื้นตัว, การตั้ง Stop Loss เพื่อลดความเสี่ยงจากราคาที่ลงต่อเนื่อง, Cut Loss เพื่อไม่ให้ขาดทุนเพิ่มขึ้น, Staking หรือ Yield Farming เพื่อสร้างผลตอบแทน และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการ ตัดสินใจโดยใช้เหตุผล ไม่ใช่อารมณ์ เพราะเมื่อติดดอย นักลงทุนควรอาจมีความกลัวมากเกินไป จึงต้องรักษาสติ วิเคราะห์สถานการณ์อย่างรอบคอบ และใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ เพื่อลดความเสี่ยงในการขาดทุนเพิ่มเติม
-
ถ้าเหรียญที่เราถืออยู่อาจเป็นเหรียญ Scam ควรทำอย่างไร
- ตรวจสอบข้อมูลของเหรียญอย่างอย่างละเอียด
- ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหว เพื่อดูรายงานว่าเป็น Scam จริงหรือไม่
- หลีกเลี่ยงการลงทุนเพิ่มเติม และพิจารณา Cut Loss หากมีสัญญาณในทางลบที่ชัดเจน เพื่อลดความเสียหาย
Conclusion
“ติดดอย” คือเหตุการณ์ที่นักลงทุนหลาย ๆ คนไม่อยากพบเจอ อย่างไรก็ตาม การติดดอยไม่ใช่จุดจบของการลงทุนในโลกคริปโต แต่นับเป็นบทเรียนล้ำค้าที่สอนให้รู้จักการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ และไม่หลงเชื่อข่าวตามกระแส นักลงทุนที่ฉลาดจะใช้ประสบการณ์จากการติดดอยเป็นโอกาสในการเรียนรู้ วางแผน และพัฒนากลยุทธ์ในการลงทุน ดังนั้น การศึกษาข้อมูลให้ลึกซึ้ง การวางแผนบริการความเสี่ยงจะสามารถช่วยให้เทรดเดอร์หลีกเลี่ยงการติดดอย และสามารถลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต
คำเตือน
*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
**บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการให้คำแนะนำทางการเงินแต่อย่างใด
อ้างอิง
Share this
- Bitazza Blog (117)
- Crypto Weekly (48)
- DAO (15)
- Beginner (14)
- mission (11)
- ความปลอดภัย (11)
- Tether (USDt) (8)
- missions (8)
- บล็อกเชน (8)
- bitcoin (7)
- Learning Hub (6)
- การค้าขาย (6)
- หัวข้อเด่น (6)
- ตลาด (5)
- วิจัย (5)
- Campaigns (3)
- Security (3)
- เศรษฐศาสตร์ (3)
- Bitazza Insights (2)
- Social Features (2)
- Stablecoin (2)
- Token talk (2)
- Trading (2)
- TradingView (2)
- เกี่ยวกับการสอน (2)
- Crypto รายสัปดาห์ (1)
- Disclosure (1)
- ENJ (1)
- Educational (1)
- Featured (1)
- KYC (1)
- NFTs (1)
- SEC (1)
- TRUMP (1)
- บิทาซซ่าบล็อกส์ (1)
Subscribe by email

รับสมัครครีเอเตอร์ สร้างสรรค์คอนเทนต์จาก TradingView พร้อมใช้ Premium ฟรี*

ญี่ปุ่นเสนอปรับสถานะคริปโตเป็นผลิตภัณฑ์การเงิน ปูทางออก ETF และลดภาษี

WLD Coin คืออะไร? เจาะลึก Worldcoin และระบบยืนยันตัวตนด้วยดวงตา

TIA Coin คืออะไร? Celestia กับการเปลี่ยนโฉมบล็อกเชนแบบ Modular

STG Coin คืออะไร? Stargate Protocol และระบบสะพานข้ามบล็อกเชน

LINK Coin คืออะไร? เหรียญจาก Chainlink ตัวกลางข้อมูลสู่บล็อกเชน

KSM Coin คืออะไร? เจาะลึก Kusama เครือข่ายทดสอบของ Polkadot

ZETA Coin คืออะไร? เหรียญน้องใหม่ในระบบ Cross-Chain DeFi

WAN Coin คืออะไร? เหรียญจาก Wanchain กับโซลูชันเชื่อมต่อบล็อกเชน
