Share this
Fintech คืออะไร สำคัญยังไงกับการเงินยุคดิจิทัล

เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นตาหรือคุ้นหูกันมานานแล้วกับคำว่า Fintech จนอดสงสัยและเกิดคำถามขึ้นมาว่า Fintech คืออะไร ทำไรได้ หน้าตาเป็นอย่างไร แล้วทำไมหลาย ๆ คนในวงการการเงินจึงให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะวงการการเงินดิจิทัล วันนี้เราจะพามาทำความรู้จักกันว่าฟินเทค (Fintech) ให้มากขึ้น
Fintech คืออะไร?
‘Fintech’ คือ เทคโนโลยีการเงิน โดยเป็นการผสมคำกันระหว่าง ‘Finance’ และ ‘Technology’ หรือเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้กับระบบการเงินเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานมากขึ้น จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีการเงินเติบโตเคียงและพัฒนาไปพร้อม ๆ กับเทคโนโลยีเสมอ ถ้าจะให้เห็นภาพใกล้ตัวมากขึ้น ก็คงเริ่มตั้งแต่ยุคฝาก-ถอนเงินที่ต้องต่อคิวนาน ๆ มีระบบที่ซับซ้อนยุ่งยาก ไปจนถึงการใช้โทรศัพท์เพื่อโอน ฝาก ถอน จ่าย ได้ง่ายเพียงแค่ปลายนิ้ว สิ่งนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างเล็ก ๆ ในการนำเทคโนโลยีมาผสมผสานกับการเงินเพื่อความสะดวกสบายกับผู้ใช้งานมากขึ้น แล้วโลกของฟินเทค (Fintech) มีความน่าสนใจมากแค่ไหน มีอะไรบ้าง มาดูไปพร้อม ๆ กันเลย

Fintech มีทั้งหมดกี่ประเภท อะไรบ้าง
‘Fintech’ มีหลากหลายรูปแบบแต่ที่นิยมใช้และคุ้นเคยกันดีสามารถแบ่งได้ถึง 9 ประเภท โดยมีรายละเอียดและความน่าสนใจดังนี้
- Mobile Banking: แอปฯ ธนาคาร ใช้ฝาก ถอน โอน จ่ายบิล ลงทุน เปิดบัญชีไปจนถึงแลกคะแนน ให้บริการแบบครบจบในแอปฯ เดียว
- Digital Payment: การชำระเงินแบบดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น 2C2P , Wallet ต่าง ๆ เป็นระบบเพย์เมนต์ที่เป็นตัวกลางรับชำระเงินแบบออนไลน์ระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย โอนจ่ายรับเงินกันได้สะดวกมากขึ้น
- Online Lending: กู้ยืมทางออนไลน์ สินเชื่อออนไลน์ที่นำบริการมาใช้เพื่อให้ผู้ที่ต้องการใช้เงินกู้ยืมได้ง่ายขึ้น โดยใช้อัลกอริธึ่มมาวิเคราะห์การอนุมัติสินเชื่อนั่นเอง มีตั้งแต่กู้ยืมเพื่อการศึกษาไปจนถึงการจำนองทรัพย์สิน เป็นต้น
- Robo-Advisors: AI แนะนำการลงทุน เป็นการนำเทคโนโลยี AI ผสมกับการแนะนำทางการเงินโดยใช้อัลกอริธึ่มและการวิเคราะห์ต่าง ๆ แสดงผลเป็นแผนการลงทุนที่เหมาะสมตามต้องการ แถมค่าธรรมเนียมและต้นทุนต่ำด้วย
- Crowdfunding: ระดมทุน เป็นการเปิดระดมทุนผ่านแอปฯ หรือแพลตฟอร์มที่ให้บริการ เพื่อระดมเงินลงทุนไปกับแผนธุรกิจที่น่าสนใจ ที่ให้ประโยชน์ต่อการเติบโตของ Startup และสร้างผลกำไรต่อนักลงทุน
- Blockchain & Cryptocurrencies: บล็อกเชนและสกุลเงินดิจิทัล เรียกว่าเป็น ฟินเทค (Fintech) ที่เปลี่ยนโลกการเงินไปอย่างสิ้นเชิง เพราะมีข้อดีที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ เป็นเทคโนโลยีทางการเงินที่เข้ามาสร้างปรากฏการณ์ให้กับโลกทางการเงินได้ชัดเจนและเห็นผลที่สุด
- Insurtech: เทคโนโลยีด้านการประกันภัย เป็นการนำเทคโนโลยีการเงินไปผสมกับการประกันภัยทำให้สามารถวางแผนประกัน ออกแบบการคุ้มครอง และผลประโยชน์ได้แบบเฉพาะเจาะจงมากขึ้น จนสามารถเปิด-ปิดการใช้ประกันได้แค่ปลายนิ้วเลยทีเดียว
- Regtech: เทคโนโลยีด้านกฎระเบียบ เป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยให้การใช้กฏ (Regulation) ในองค์กร ได้แม่นยำ และควบคุมเกณฑ์ต่าง ๆ ในการทำธุรกรรมออนไลน์ เพื่อความปลอดภัยต่อข้อมูลและป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับลูกค้าขณะใช้งาน เช่น การบังคับพิสูจน์ตัวตน (KYC) เป็นต้น
- Personal Finance Management: จัดการการเงินส่วนบุคคล เป็นการนำข้อมูลการเงินมาวิเคราะห์ ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อจัดทำงบประมาณ ดูค่าใช้จ่าย และวางแผนทางการเงินแบบเฉพาะเจาะจงเพื่อสร้างความมั่นคงทางการเงินให้ดียิ่งขึ้น

เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลัง Fintech
จะเห็นว่าการพัฒนาฟินเทค (Fintech) มักจะมีเทคโนโลยีทันสมัยเข้ามาพัฒนาอยู่ด้วยเสมอ อย่างไรก็ตามการพัฒนาเครื่องมือลักษณะนี้มักจะมีเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใช้และนักพัฒนาเป็นเบื้องหลังการพัฒนาหลัก ๆ ดังนี้
- Blockchain และ Cryptocurrencies เป็นเทคโนโลยีที่ใช้คอนเซ็ปท์ ‘Decentralisation’ ในการตรวจสอบความโปร่งใสของธุรกรรม ความปลอดภัย และการตรวจสอบได้ การประยุกต์เทคโนโลยีนี้กับโลกการเงิน จึงเกิดการ Disrupt ขนาดใหญ่เปลี่ยนมุมมองการใช้เงินพฤติกรรมการใช้เงิน และการลงทุนของผู้คนไปโดยปริยาย เกิดทั้ง เหรียญคริปโตฯ การลงทุนแบบดิจิทัล การใข้งานสื่อเอ็นเตอร์เทนเมนต์ เรียกว่าเปลี่ยนโฉมการเงินไปอย่างสิ้นเชิง
- AI และ Machine Learning อีกเทคโนโลยีเบื้องหลังการรวม ‘Fintech’ เข้ากับโลกการเงิน โดยนำ AI และใช้ Machine Learning มาวิเคราะห์ วางแผน ฝึกสอนระบบ และให้คำแนะนำในเรื่องการเงิน ตั้งแต่วางแผนรายรับ รายจ่าย ทำประกันภัย ไปจนถึงการบริหารความเสี่ยงด้านการเงินหรือแม้กระทั่งแนะนำการลงทุนรายบุคคลให้กับลูกค้าที่มีเงื่อนไขและความต้องการที่แตกต่างกัน
- Big Data และ Analytics เป็นโทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เมื่อนำมาใช้กับการเงินทั้งในแง่การรวบรวมข้อมูลเพื่อประมวลผล การรวบรวมปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ ไปจนถึงการแสดงผลของข้อมูลที่ได้ นำมาวิเคราะห์ วางแผน วางกลยุทธ์เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่คุ้มค่าคุ้มทุนในการตัดสินใจทางด้านการเงินมากที่สุด

ตัวอย่าง Fintech ที่เราใช้งานในชีวิตประจำวัน
หากจะให้เห็นภาพมากขึ้นก็มีตัวอย่าง การใช้ Fintech เข้ามาใช้กับการเงินในชีวิตประจำวัน และอำนวยความสะดวกในการใช้งานที่น่าสนใจ และใกล้ตัวมากที่สุด ดังนี้
- 2C2P เป็นการใช้ Fintech อำนวยความสะดวกในการจ่ายเงินระหว่างลูกค้ากับร้านค้า หากสังเกตดี ๆ จะเห็นว่าเทคโนโลยีนี้จะอยู่กับเราตลอดเวลาจนอาจมองข้ามไปเลยก็ได้ แต่จะมีความสำคัญที่สุดเมื่อเวลาเราต้องการจ่ายเงินออนไลน์ผ่านช่องทางต่าง ๆ 2C2P จะเข้ามาเป็นตัวกลางและยืนยันธุรกรรมเสมอ โดยผ่านการกรอกรหัสยืนยันขณะชำระธุรกรรมออนไลน์นั่นเอง
- Cryptocurrencies Exchange เป็นการนำ Fintech มาใช้ได้อย่างใกล้ตัวไม่แพ้กัน เพราะเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนเงินเฟียตไปเป็นเงินดิจิทัล โดยมีค่าบริการในการเทรดซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแพลตฟอร์มที่ใช้งาน ที่สำคัญเทรดเดอร์จำเป็นต้องเลือก Exchange ที่น่าเชื่อถือในการฝากเงินเฟียตไปเทรดหรือลงทุนในเงินดิจิทัลเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดการ Rug pull ขึ้น หรือเสี่ยงต่อการโดนโจมตีทางไซเบอร์จนเกิดการสูญเสียเงินที่ฝากไว้นั่นเอง
Fintech มีธุรกิจอะไรบ้าง
จะเห็นได้ว่า Fintech เมื่อนำไปประยุกต์ใช้ในทางการเงินแล้วจะเกิดธุรกิจมากมายหลากหลายแบบ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเงินให้กับผู้ใช้งานมากมาย ตั้งแต่ ธุรกิจดิจิทัลวัลเลต ธุรกิจวางแผนบัญชี ธุรกิจประเมินความเสี่ยง ธุรกิจที่ปรึกษาด้านการเงิน ฯลฯ ขึ้นอยู่กับไอเดียในการนำเทคโนโลยีไปใช้ในทางการเงินนั่นเอง

ข้อดีและข้อเสียของ Fintech
สำหรับข้อดีและข้อเสียของการนำ Fintech ไปใช้งานมีอยู่เสมออีกด้านคือช่วยในเรื่องความสะดวกในด้านธุรกรรมการเงิน และอีกด้านคือความเสี่ยงจากการสูญเงินที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ โดยแบ่งเป็น 2 ข้อดังนี้
ข้อดีของ Fintech
- สะดวกสบาย เข้าถึงง่าย โอนเงิน ชำระเงิน ทำธุรกรรมการเงินง่ายขึ้น ประหยัดเวลา เข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้อย่างรวดเร็ว
- ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่ำ ไปจนถึงไม่มีค่าธรรมเนียม
- อัปเดตเทคโนโลยีการใช้งานได้สม่ำเสมอ รองรับพฤติกรรมการใช้งานที่เปลี่ยนไปได้รวดเร็ว
- มีผลิตภัณฑ์ทางการเงินให้เลือกได้หลากหลาย ทั้งการออม การประกันภัย การจัดการเงิน และเข้าถึงการลงทุนได้ง่ายขึ้น
- มีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีรายละเอียดชัดเจน
- สนับสนุนการเข้าถึงเงินทุนของธุรกิจได้มากขึ้นและรวดเร็วขึ้น สร้างโอกาสให้ธุรกิจขนาดเล็ก เติบโตได้มากขึ้น
ข้อเสียของ Fintech
- ความเสี่ยงด้านข้อมูลและความเป็นส่วนตัวอาจหลุดออกไปโดยไม่ได้รับความยินยอม
- บางเทคโนโลยีกฏหมายยังไม่รับรอง มีโอกาสถูกฉ้อโกงได้
- การพึ่งพาเทคโนโลยีอาจเกิดความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็นการแฮค ระบบเซิร์ฟเวอร์ล่ม เป็นต้น
- การเสี่ยงต่อการขาดการซัพพอร์ตของเทคโนโลยี หากบริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยีเหล่านั้นล้มละลายอาจทำให้ต้องเปลี่ยนแพลตฟอร์มหรือโยกย้ายการใช้งานไปยังผู้ให้บริการเจ้าอื่นได้
- ความปลอดภัยและความมั่นคงของระบบ ที่อาจเกิดขึ้นจากความประมาทและความน่าเชื่อถือของบริษัท เช่น การอัปเดตซอฟต์แวร์ของสแกนไวรัส จนทำให้เกิดการ Blue Screen ทั่วโลก หรือเรียกว่าเป็นเหตุการณ์ The Blues Screen of Death
การนำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้กับการเงินหรือ ‘Fintech’ เป็นก้าวกระโดดสำคัญของการใช้เทคโนโลยีที่ส่งผลต่อโลกการเงินและชีวิตประจำวันของผู้คนทั้งโลก ตั้งแต่เริ่มต้นจากการเกิดขึ้นของบัตรเครดิต ช่วงค.ศ. 1950 การเทรดหุ้นออนไลน์ ธนาคารออนไลน์ในช่วง ค.ศ. 1980 จนมาถึงปัจจุบันที่มีบล็อกเชนและเงินดิจิทัล โดยใช้ ‘Fintech’ เข้ามาเพิ่มความสะดวก แม่นยำ และโปร่งใสในการทำธุรกรรม ทำให้เทคโนโลยีนี้จะพัฒนาไปพร้อมกับการเงินแบบคู่ขนานกันไปเรื่อย ๆ เพื่อรองรับการเงินที่มีความซับซ้อนและสะดวกสบายมากขึ้น โดยเทคโนโลยีนี้ต่างก็มีข้อดี-ข้อเสียที่จำเป็นต้องระมัดระวังและรู้เท่าทันการใช้งาน เพื่อให้เกิดผลประโยชน์ทางด้านการเงินกับเรามากที่สุดนั่นเอง
คำเตือน
*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
**บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการให้คำแนะนำทางการเงินแต่อย่างใด
อ้างอิง
Share this
- Bitazza Blog (34)
- Crypto Weekly (33)
- DAO (15)
- Beginner (14)
- mission (11)
- ความปลอดภัย (11)
- บล็อกเชน (8)
- Learning Hub (6)
- การค้าขาย (6)
- หัวข้อเด่น (6)
- ตลาด (5)
- วิจัย (5)
- missions (3)
- เศรษฐศาสตร์ (3)
- Bitazza Insights (2)
- Security (2)
- Tether (USDt) (2)
- Token talk (2)
- Trading (2)
- เกี่ยวกับการสอน (2)
- Campaigns (1)
- Crypto รายสัปดาห์ (1)
- Disclosure (1)
- Educational (1)
- Featured (1)
- TradingView (1)
- บิทาซซ่าบล็อกส์ (1)