Bitazza Thailand Blog

กระจายอำนาจ (Decentralized) คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญในโลกยุคใหม่

Decentralized

 

Decentralized หรือการกระจายอำนาจเป็นคำที่คุ้นหูกันโดยเฉพาะในระบบ Blockchain แต่หลายคนอาจยังไม่เห็นภาพว่าจะ Decentralized ได้อย่างไร มีหลักการอย่างไรและนำไปใช้อย่างไรได้บ้าง ในบทความนี้จะพาไปเจาะลึกมากยิ่งขึ้น

 


Decentralized คืออะไร?

Decentralized ซึ่งแปลว่า การกระจายอำนาจ หมายถึงระบบที่ไม่ได้มีศูนย์กลางหรือผู้ควบคุมเพียงคนเดียว แต่ทุกคนในระบบมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและดำเนินการ โดยไม่มีใครเป็นเจ้าของหรือผู้ควบคุม

ในแง่ของ Blockchain คือระบบกระจายศูนย์หรือ Decentralized จะเห็นว่าไม่มีคนหรือองค์กรที่สามารถควบคุมหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดในระบบได้ เพราะทุกคนสามารถตรวจสอบกันได้ ทำให้ระบบมีความโปร่งใสและปลอดภัยมากขึ้น

 


ความแตกต่างระหว่าง Decentralized กับ Centralized 

ความแตกต่างระหว่าง Decentralized (กระจายศูนย์) และ Centralized (ศูนย์กลาง)  คือวิธีการจัดการและควบคุมในระบบ ซึ่งมีข้อแตกต่างกันที่เห็นได้ชัด ดังนี้

การควบคุมและตัดสินใจ 

ระบบ Centralized การตัดสินใจและควบคุมทั้งหมดจะอยู่ที่ศูนย์กลาง อาจเป็นผู้บริหารหรือองค์กรที่เป็นเจ้าของที่จะทำหน้าที่ควบคุมและตัดสินใจทุกอย่าง รวมถึงการจัดการทรัพยากรและข้อมูลต่าง ๆ หากเป็นระบบการเงินก็เหมือนธนาคารที่ควบคุมระบบการโอนเงินหรือรัฐบาลที่มีหน้าที่กำหนดนโยบาย ส่วนระบบ Decentralized การตัดสินใจหรือนโยบายจะถูกกระจาย ผู้ที่อยู่ในระบบทุกคนสามารถตัดสินใจหรือมีส่วนร่วมในการควบคุม หรือดำเนินการด้วยตนเอง โดยไม่มีจุดศูนย์กลางที่คอยควบคุม เช่น ระบบ Blockchain ที่ทุกคนสามารถร่วมกันตรวจสอบและยืนยันข้อมูล

ความปลอดภัย

Centralized เป็นระบบศูนย์กลางจึงถูกโจมตีได้ง่ายกว่าด้วยการโจมตีที่ศูนย์กลาง เพราะข้อมูลหรือการตัดสินใจดำเนินการต่าง ๆ จะอยู่ที่จุดศูนย์กลาง ดังนั้นหากศูนย์กลางถูกโจมตีก็จะส่งผลกระทบต่อทั้งระบบได้ แต่ Decentralized ข้อมูล การตัดสินใจและดำเนินการ จะถูกกระจายไปทั่วทุกจุดในระบบ ทำให้ระบบมีความปลอดภัยสูงขึ้น ต้องโจมตีทั้งระบบพร้อมกัน ซึ่งเป็นเรื่องยาก เช่น หากระบบ Blockchain ถูกแก้ไขข้อมูลในหนึ่งบล็อกก็จะต้องมีการยืนยันจากทุกคนในเครือข่ายก่อน 

ความเข้าถึงและความยืดหยุ่นของระบบ

สำหรับระบบ Centralized ผู้ใช้ต้องพึ่งพาผู้ควบคุมหรือศูนย์กลางในการเข้าถึงหรือใช้บริการ หากศูนย์กลางมีปัญหาระบบทั้งหมดก็จะใช้านไม่ได้ แต่ในระบบ Decentralized สามารถเข้าถึงได้จากหลายจุด หรือจากเครือข่ายหลายแห่ง ระบบจึงมีความยืดหยุ่นสูง และยังสามารถทำงานต่อไปได้ แม้จะเกิดปัญหาขึ้นกับจุดใดจุดหนึ่ง

ต้นทุนในการจัดการ

ระบบ Centralized ถึงแม้จะจัดการง่ายเพราะมีการควบคุมจากศูนย์กลาง แต่ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาศูนย์กลาง รวมถึงใช้บุคลากรจำนวนมากในการดูแลจัดการ ส่วนระบบ Decentralized ไม่มีศูนย์กลางจึงไม่มีค่าใช้จ่ายในการจัดการดูแล แต่ต้องใช้ทรัพยากรมากขึ้น เพื่อรักษาความสมดุลของเครือข่ายเพื่อให้ทุกคนช่วยกันตรวจสอบและยืนยันข้อมูล

การควบคุมและความเชื่อมั่น

Centralized เป็นระบบที่จัดการจากศูนย์กลางการควบคุมจึงทำได้ง่ายและรวดเร็ว แต่ไม่สามารถตรวจสอบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลได้ง่าย ๆ ส่วน Decentralized ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบข้อมูลและร่วมตัดสินใจได้ ทำให้มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ จึงทำให้ผู้ใช้เกิดความเชื่อมั่นในระบบ

 


 

ประโยชน์ของระบบ Decentralized

  1. ความโปร่งใส: เพราะทุกคนในระบบสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ทำให้ไม่สามารถซ่อนข้อมูลหรือปรับเปลี่ยนผลลัพธ์ได้ง่าย ๆ
  2. ความปลอดภัย: การกระจายข้อมูลไปในหลาย ๆ จุดทำให้ยากที่จะโจมตีหรือล้มระบบเพียงแค่จุดเดียว
  3. การควบคุมที่เป็นธรรม: ระบบไม่มีการควบคุมจากองค์กรเดียว ทำให้ทุกคนมีสิทธิ์ในการตัดสินใจและมีส่วนร่วมในการดำเนินการ
  4. ลดความเสี่ยงจากการถูกแทรกแซง: ในระบบที่กระจายศูนย์ ข้อมูลและการตัดสินใจจะกระจายไปทั่ว ทำให้ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนแปลงระบบได้ง่าย ๆ

 


limitation of decentralized

 

ข้อจำกัดของ Decentralized

แม้ว่า Decentralized จะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็ยังมีข้อจำกัดหลายข้อที่ต้องพิจารณาในการนำไปใช้

  1. ความซับซ้อนและการจัดการที่ยาก เพราะการกระจายอำนาจไปหลายจุดทำให้การจัดการยากเมื่อไม่มีศูนย์กลางควบคุม การตัดสินใจในบางกรณีอาจล่าช้า โดยเฉพาะเมื่อมีข้อเห็นต่างระหว่างผู้ใช้ในระบบ
  2. ประสิทธิภาพในการทำงาน Decentralized อาจมีปัญหาด้านประสิทธิภาพในการทำงานเมื่อมีการใช้งานมากขึ้น ข้อมูลที่ต้องถูกกระจายไปทั่วเครือข่ายอาจทำให้ระบบล่าช้าหรือไม่สามารถรองรับการทำธุรกรรมจำนวนมากได้
  3. ใช้ทรัพยากรสูง Decentralized ใช้ทรัพยากรสูงทั้งการประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูล จึงต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีมีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการทำงานและการพัฒนาในอนาคต
  4. ขาดการกำกับดูแล เนื่องจากไม่มีหน่วยงานกลางที่คอยดูแลควบคุมมาตรฐาน ทำให้มีความเสี่ยงที่การดำเนินงานจะไม่เป็นไปตามมาตรฐาน หรือเกิดความผิดพลาดซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบ
  5. ความซับซ้อนในการใช้งาน สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปการใช้งานระบบ Decentralize อาจะเป็นเรื่องยาก ผู้ใช้จะต้องมีความรู้ทางเทคนิคเพื่อเข้าถึงหรือใช้บริการ เช่น การใช้คริปโตเคอร์เรนซี่ผู้ใช้ต้องมีความรู้ด้านการสร้างกระเป๋าเงินดิจิทัลเพื่อเก็บรักษาเหรียญ
  6. ความเสี่ยงจากการใช้งานผิดประเภท เนื่องจากไม่มีหน่วยงานควบคุม ผู้ใช้อาจใช้ระบบในทางที่ผิด เช่นใช้หลอกลวงหรือแอบอ้างในการทำธุรกรรม

 


Decentralized Blockchain คืออะไร

Decentralized Blockchain คือ เทคโนโลยีบล็อกเชน ที่ทำงานในลักษณะกระจายศูนย์ ซึ่งหมายความว่า ไม่มีศูนย์กลางหรือผู้ควบคุมเดียว ที่มีอำนาจในการจัดการหรือควบคุมข้อมูลทั้งหมดในระบบ แต่ทุกคนในเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลและยืนยันข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ Decentralized blockchain มีความโปร่งใส ปลอดภัย และเชื่อถือได้ในระดับสูง

 


วิธีการทำงานของ Decentralized Blockchain

  1. การสร้างบล็อก (Block): เมื่อมีธุรกรรมเกิดขึ้นในระบบ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมนั้นๆ จะถูกบันทึกในบล็อกใหม่
  2. การกระจายไปยังโหนดต่าง ๆ: เมื่อบล็อกถูกสร้างขึ้น ข้อมูลจะถูกกระจายไปยังโหนด (หน่วยพื้นฐานของข้อมูล) ทั้งหมดในเครือข่าย และโหนดเหล่านั้นจะทำการตรวจสอบข้อมูล
  3. การยืนยัน (Consensus): โหนดในระบบจะใช้กระบวนการ Consensus Mechanism เพื่อยืนยันว่า ข้อมูลในบล็อกนั้นถูกต้อง ตัวอย่างเช่นในระบบ Proof of Work ผู้ขุด (Miner) จะต้องแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์เพื่อยืนยันบล็อกใหม่ ในระบบ Proof of Stake ผู้ที่ถือเหรียญจะมีสิทธิ์ในการยืนยันบล็อกตามจำนวนเหรียญที่ถือ
  4. การบันทึกข้อมูลที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลง: เมื่อข้อมูลได้รับการยืนยันจากโหนดทั้งหมดแล้ว ข้อมูลจะถูกบันทึกในบล็อกที่เชื่อมโยงกับบล็อกก่อนหน้า ทำให้กลายเป็น Chain ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ (Blockchain)

 


Defi

 

DeFi คืออะไรและมีหลักการทำงานอย่างไร

DeFi หรือ Decentralized Finance คือ ระบบการเงินที่ทำงานบนเทคโนโลยีบล็อกเชน โดยไม่มีการควบคุมจากองค์กรหรือหน่วยงานกลาง เช่น ธนาคารหรือรัฐบาล หลักการทำงานของ DeFi คือการใช้สัญญาอัจฉริยะ (Smart contracts) ซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำงานอัตโนมัติบนบล็อกเชนในการให้บริการทางการเงิน เช่น การยืม -ให้ยืมเงิน การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ หรือการลงทุนโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง หลักการสำคัญของ DeFi คือการสร้างระบบการเงินที่โปร่งใส เปิดเผย และไม่พึ่งพาตัวกลาง ทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมสินทรัพย์ของตัวเองได้มากขึ้น

 


Decentralized กับเทคโนโลยีสมัยใหม่

นอกจาก บล็อกเชน (Blockchain) ที่เป็นเทคโนโลยีหลักในการสร้างระบบ Decentralized แล้ว ยังมี เทคโนโลยีสมัยใหม่ อื่น ๆ ที่สามารถนำหลักการ กระจายศูนย์ มาใช้ในการพัฒนาและประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลาย เช่น IoT (Internet of Things) คือการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ (เช่น เซ็นเซอร์, กล้องวงจรปิด, หรือเครื่องจักร) ผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและทำงานร่วมกันได้ ในระบบ IoT แบบกระจายศูนย์ ข้อมูลที่ถูกเก็บและส่งต่อมักจะไม่ถูกเก็บที่ศูนย์กลางเดียว แต่จะถูกกระจายไปยังอุปกรณ์ที่อยู่ในเครือข่ายทำให้มีความเร็วที่สูงขึ้น เพราะไม่ต้องส่งข้อมูลไปประมวลผลที่เซิฟเวอร์กลาง และอุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถทำงานร่วมกันได้อัตโนมัติ นอกจากนั้น AI (Artificial Intelligence) เช่น สมาร์ตโฟน ก็มีการใช้ระบบ Decentralized โดยการฝึกฝนโมเดล AI โดยไม่ต้องส่งข้อมูลไปยังเซิฟเวอร์กลาง แต่ฝึกฝนในอุปกณ์นั้นเลย จึงช่วยป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล

 


Conclusion

Decentralized เป็นระบบที่มีประโยชน์และสามารถช่วยพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้เกิดความรวดเร็ว ปลอดภัยได้ อย่างไรก็ตาม Decentralized ก็เป็นระบบที่ยังมีข้อจำกัดอยู่ ดังนั้นการนำระบบ Decentralized ไปใช้งาน ผู้พัฒนารวมถึงผู้ใช้งานจะต้องศึกษารูปแบบ และวางพื้นฐานให้เป็นอย่างดี รวมถึงเลือกระบบที่เหมาะสมกับงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดด้วย

 

 


คำเตือน

*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ 
**บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการให้คำแนะนำทางการเงินแต่อย่างใด

Subscribe by email

WAN Coin คืออะไร? เหรียญจาก Wanchain กับโซลูชันเชื่อมต่อบล็อกเชน
wan coin คืออะไร

WAN Coin คืออะไร? เหรียญจาก Wanchain กับโซลูชันเชื่อมต่อบล็อกเชน

26 มิ.ย. 2025, 23:00:58 2 min read
NEAR Coin คืออะไร? แพลตฟอร์มบล็อกเชนใช้งานง่ายสำหรับทุกคน
NEAR Protocol

NEAR Coin คืออะไร? แพลตฟอร์มบล็อกเชนใช้งานง่ายสำหรับทุกคน

25 มิ.ย. 2025, 21:53:50 3 min read
มาเลเซียเปิดตัวฮับสินทรัพย์ดิจิทัล เตรียมทดลอง Stablecoin ผูกเงินริงกิต

มาเลเซียเปิดตัวฮับสินทรัพย์ดิจิทัล เตรียมทดลอง Stablecoin ผูกเงินริงกิต

25 มิ.ย. 2025, 14:47:07 2 min read
DOT Coin คืออะไร? เจาะลึก Polkadot และระบบเชื่อมบล็อกเชนแห่งอนาคต
DOT Coin

DOT Coin คืออะไร? เจาะลึก Polkadot และระบบเชื่อมบล็อกเชนแห่งอนาคต

24 มิ.ย. 2025, 10:00:00 3 min read
ส่อง PNUT Coin เหรียญมีมมาแรงบน Solana
PNUT coin

ส่อง PNUT Coin เหรียญมีมมาแรงบน Solana

23 มิ.ย. 2025, 10:00:00 2 min read
TON Coin คืออะไร? ทำความรู้จักเหรียญจาก Telegram และอนาคตของ Web3
TON coin

TON Coin คืออะไร? ทำความรู้จักเหรียญจาก Telegram และอนาคตของ Web3

22 มิ.ย. 2025, 21:59:07 2 min read
รู้จัก NOT Coin คืออะไร? เหรียญไวรัลจาก Telegram ที่กำลังเปลี่ยนเกมคริปโตฯ
NOT coin คือ

รู้จัก NOT Coin คืออะไร? เหรียญไวรัลจาก Telegram ที่กำลังเปลี่ยนเกมคริปโตฯ

22 มิ.ย. 2025, 0:38:26 2 min read
BabyDoge คืออะไร? วิเคราะห์อนาคตเหรียญมีมในตลาดคริปโตปี 2025
เหรียญ BabyDoge

BabyDoge คืออะไร? วิเคราะห์อนาคตเหรียญมีมในตลาดคริปโตปี 2025

21 มิ.ย. 2025, 23:52:02 1 min read
AAVE คืออะไร? แพลตฟอร์มกู้ยืมในโลก DeFi ที่นักลงทุนต้องรู้
AAVE คืออะไร

AAVE คืออะไร? แพลตฟอร์มกู้ยืมในโลก DeFi ที่นักลงทุนต้องรู้

18 มิ.ย. 2025, 21:47:02 2 min read
ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลปลอดภาษีอย่างปลอดภัยบน Bitazza Thailand

ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลปลอดภาษีอย่างปลอดภัยบน Bitazza Thailand

18 มิ.ย. 2025, 18:38:53 1 min read