Share this
เปิดโลก DAO: นวัตกรรมองค์กรยุคใหม่ที่กำลังเปลี่ยนโลก

เคยคิดหรือไม่ว่าจะเป็นอย่างไร หากองค์กรไม่มีผู้บริหาร ไม่มีคณะกรรมการ ไม่มี CEO ที่มีอำนาจเด็ดขาดในการตัดสินใจ และทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการบริหารได้อย่างโปรงใส ยุติธรรม นี่คือแนวคิดขององค์กรรูปแบบใหม่แบบกระจายศูนย์ หรือ ที่เรียกว่า “DAO” (Decentralised Autonomous Organization) ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราสร้างองค์กร และทำธุรกิจ ในบทความนี้จะพาคุณรู้จัก DAO แบบละเอียด ทั้งหลักการทำงาน ข้อดี ข้อเสีย ตัวอย่าง DAO ที่ประสบความสำเร็จ และอนาคตของ DAO ที่จะทำให้เข้าใจถึงแนวคิดใหม่ที่เข้ามาปฏิวัติรูปแบบการบริหารองค์กรแบบดั้งเดิม
DAO คืออะไร แตกต่างจากองค์กรทั่วไปอย่างไร
DAO (Decentralised Autonomous Organization) แปลว่า องค์กรอัตโนมัติแบบกระจายศูนย์ มีความหมาย คือ องค์กรรูปแบบใหม่ที่มีการบริหารจัดการผ่านสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contracts) บนเครือข่ายบล็อกเชน ไม่มีหน่วยงานกลางควบคุม ไม่ต้องพึ่งพาคณะกรรมการ หรือ CEO ในการตัดสินใจ ซึ่งองค์กรเหล่านี้มักจะมี DAO Crypto หรือเหรียญของตัวเองที่สมาชิกจะต้องใช้สำหรับการลงคะแนนเสียงและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
หลังจากนั้นทุกคะแนนจะถูกบันทึกบนบล็อกเชนเพื่อให้เกิดความโปร่งใส มากไปกว่านั้น สมาชิกขององค์กรมีเป้าหมายร่วมกันในการดำเนินการเพื่อผลประโยชน์สูงสุดขององค์กร
หากเปรียบเทียบ DAO กับองค์กรแบบดั้งเดิม จะมีความแตกต่าง ดังนี้
- โครงสร้างองค์กร: องค์กรของ DAO มีโครงสร้างที่เรียบง่าย ลดการแบ่งชั้นของฝ่ายบริหาร ในขณะที่องค์กรแบบดั้งเดิมมีโครงสร้างหลายระดับ ประกอบไปด้วยแผนกต่าง ๆ และลำดับชั้นของผู้บริหาร ที่อาจส่งผลให้เกิดการแบ่งแยกและอุปสรรคต่อการทำงานร่วมกัน
- การบริหารและการตัดสินใจ: สมาชิกทุกคนมีสิทธิ์เสนอและโหวตเรื่องต่าง ๆ ผ่านระบบอัตโนมัติ โดยไม่ต้องพึ่งผู้บริหารหรือคณะกรรมการมีอำนาจตัดสินใจหลักแบบระบบขององค์กรดั้งเดิม
- การดำเนินงาน: อย่างที่เราคุ้นเคยกันดีว่าองค์กรแบบดั้งเดิมมีการใช้ระบบเอกสารและพนักงานในการดำเนินงาน แต่เทคโนโลยี DAO จะเป็นการใช้ Smart Contracts ให้ทำงานอัตโนมัติ ซึ่งสามารถลดต้นทุนตัวกลางในการดำเนินงานได้
-
ความโปร่งใสและความปลอดภัย: เนื่องจาก DAO ถูกบริหารบนบล็อกเชน ทำให้ข้อมูลทุกอย่างมีความปลอดภัยเป็นอย่างมาก สามารถตรวจสอบได้อย่างเปิดเผย ซึ่งแตกต่างจากองค์กรแบบดั้งเดิมที่อาจมีปัญหาทุจริตหรือข้อมูลรั่วไหลได้ง่ายกว่า

หลักการทำงานของ DAO
การทำงานของ DAO อาศัยหลักการผ่านสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contracts) ที่ถูกจัดเก็บบนบล็อกเชน ซึ่ง Smart Contracts จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่กำหนดวิธีการดำเนินงานของ DAO เมื่อกฎเกณฑ์เหล่านี้ถูกบันทึกลงบนบล็อกเชนอย่างเป็นทางการแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการ จัดหาเงินทุน และการกำหนดสิทธิ์ในการกำกับดูแลขององค์กรนั้น ๆ โดยทั่วไป DAO จะใช้วิธีออกโทเคนเพื่อระดมทุน โดยโปรโตคอลจะขายโทเคนเพื่อรวบรวมเงินเข้าสู่กองทุนของ DAO (DAO Treasury) และผู้ถือโทเคนจะได้รับสิทธิ์ในการลงคะแนนเสียง หลังจากขั้นตอนการระดมทุนเสร็จสิ้น DAO ก็พร้อมสำหรับการเปิดใช้งาน ซึ่ง DAO จะสามารถดำเนินการตาม Smart Contracts ได้ก็ต่อเมื่อได้รับฉันทามติจากสมาชิกเท่านั้น และจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกฎได้ หากไม่ได้รับการอนุมัติจากสมาชิก
ประเภทของ DAO
DAO สามารถแบ่งออก 4 ประเภทด้วยกัน นั่นก็คือ
1. Protocol DAO
ถูกออกแบบมาเพื่อดูแลการทำงานต่าง ๆ ภายในโปรโตคอลแบบกระจายอำนาจ มักจะพบในการเงินแบบกระจายศูนย์ (DeFi) เช่น การกู้ การยืม การจัดการสินทรัพย์ และการซื้อขาย
- ตัวอย่างของ Protocol DAO ได้แก่ MakerDAO, Uniswap และ Yearn Finance
2. Investment DAO
องค์กรที่รวบรวมเงินทุนจากหลากหลายแหล่งเพื่อสนับสนุนโครงการที่เกี่ยวข้องกับ Startups, Web3, และการลงทุนที่อยู่นอกบล็อกเชน ในระยะเริ่มต้น ซึ่งจะเป็นการเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีการลงทุนแบบดั้งเดิมที่สามารถเข้าถึงได้มากขึ้น รวมถึงเปิดโอกาสให้กับนักลงทุนกลุ่มใหม่ ๆ ได้
- ตัวอย่างของ Social DAO ได้แก่ MetaCartel Ventures, Moloch DAO และ theLAO
3. Social DAO
แพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้คนที่มีความสนใจคล้ายคลึงกัน เช่น ศิลปิน นักสร้างสรรค์ นักพัฒนา ได้มารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล แสวงหาความรู้ ซึ่งสามารถช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ พร้อมกับการมีส่วนร่วมในโครงการแบบเปิด ที่ทำงานร่วมกัน และได้รางวัลตอบแทน
- ตัวอย่างของ Social DAO ได้แก่ Friends with Benefits, Developer DAO และ BAYC
4. Collector DAO
แพลตฟอร์มที่มุ่งเน้นการซื้อและคัดสรรของสมต่าง ๆ โดยส่วนใหญ่จะเป็นคอลเล็กชันงานศิลปะ NFTs แบบ Blue Chip NFT ผู้ถือโทเคนทุกคนจะมีส่วนร่วมในการระดมทุนหรือบริจาคเงินให้กับกองทุนของ DAO หลังจากนั้นจะลงคะแนนเสียงเพื่อรว่มกันตัดสินใจว่าจะซื้อผลงานศิลปะชิ้นบ้าง
-
ตัวอย่างของ Collector DAO ได้แก่ Unicorn DAO, Flamingo DAO และ ConsitutionDAO

ข้อดีของ DAO
- การกระจายอำนาจ: DAO มีการจัดการที่ปราศจากอำนาจของมนุษย์ โดยสมาชิกทุกคนมีความสามารถในการตัดสินใจเท่ากัน แทนที่จะพึ่งพาการกระทำของบุคคลเดียวแบบองค์กรดั้งเดิม และสมาชิกทุกคนมีส่วมร่วมที่จะทำให้ DAO ประสบความสำเร็จ ซึ่งส่งผลให้ชุมชนสามารถเติบโตได้อย่างดี
- การมีส่วนร่วม: ผู้ที่ถือโทเคนใน DAO ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้แต่ละคนมีเสียงของตัวเองและมีส่วนร่วมในชุมชน ยิ่งมีสมาชิกเข้าร่วมมากเท่าไหร่ DAO ยิ่งประสบความสำเร็จมากเท่านั้น DAO ส่งเสริมให้ผู้ถือโทเคนลงคะแนน เผาโทเค็น หรือใช้โทเคนในวิธีที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่อองค์กร
- ความโปร่งใสสูง: จากที่กล่าวไปเบื้องต้นว่า DAO มีการลงคะแนนและเก็บข้อมูลของการกระทำทั้งหมดผ่านบล็อกเชน ทำให้สามารถดูได้อย่างเปิดเผย ความโปร่งใส่นี้จะช่วยสร้างความไว้วางใจใน DAO และตอกย้ำความเชื่อมั่นว่า DAO จะดำเนินการในผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของผู้สมาชิกทุกคน
- การเป็นชุมชม: แนวคิดของ DAO เป็นการสนับสนุนคนจากทั่วโลกให้มารวมตัวเพื่อวิสัยทัศน์เดียวกัน ซึ่งสามารถสร้างความรู้สึกที่เปรียบเสมือนชุมชนให้กับสมาชิกได้ เช่น การรวบรวมผู้เชี่ยวชาญที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกัน ทำให้เกิดความเชื่อมโยงและกระตุ้นให้สมาชิกมีส่วนร่วม อีกทั้งเพิ่มโอกาสความสำเร็จให้กับ DAO
ข้อเสียและความท้าทายของ DAO
- ความรวดเร็ว: หากจะต้องมีการตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง องค์กรแบบดั้งเดิมมีผู้ที่ถืออำนาจในการตัดสินใจ อย่าง CEO สามารถที่จะลงคะแนนเสียงได้รวดเร็ว ในขณะที่ DAO มีโครงสร้างแบบเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ลงคะแนนเสียง ซึ่งทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการลงคะแนนนานกว่ามาก
- การให้ความรู้: ถึงแม้ว่า DAO ให้สมาชิกทุกคนมีส่วมร่วมเท่าเทียมกันในการตัดสินใจ อย่างไรก็ตามสมาชิกบางคนอาจไม่มีพื้นฐานหรือความรู้เหมาะสมในเรื่องนั้นเท่าที่ควร ทำให้ในทุก ๆ กิจกรรมที่จะเกิดขึ้น DAO จะต้องให้ความรู้แก่สมาชิก ซึ่ง DAO อาจประสบปัญหาจากการตัดสินใจ เนื่องจากสมาชิกขาดความเชี่ยวชาญได้
- ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน: การบริหารแบบประชาธิปไตย มักจะล่าช้ากว่าการตัดสินใจแบบบนลงล่าง (Top-Down Approach) ซึ่งอาจทำให้ DAO เสียเวลาส่วนมากไปกับการให้ความรู้กับผู้ลงคะแนน การอธิบาย การถกเถียง และการบริหาร มากกว่าการลงมือทำจริง
-
ระบบความปลอดภัย: เนื่องจากเทคโนโลยี DAO ทำงานบนแพลตฟอร์มดิจิทัล ทำให้มีความเสี่ยงจากการถูกแฮกข้อมูลและอาชญากรรมไซเบอร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อระบบการลงคะแนนเสียงที่จะถูกโจมตี และทำลายความเชื่อใจของสมาชิกในท้ายที่สุด

ตัวอย่าง DAO ที่ประสบความสำเร็จ
1. MakerDAO – ระบบ Stablecoin DAI
MakerDAO คือ โปรโตคอลคริปโตเคอร์เรนซีที่ถูกสร้างขึ้นบนบล็อกเชน Ethereum ในปี 2015 มีหน้าที่หลักคือบริหารจัดการ Stablecoin DAI ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ผูกมูลค่าไว้กับดอลลาร์สหรัฐ และมุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการกู้ยืม และการออมแบบกระจายศูนย์ ช่วยให้ผู้ใช้งานกู้ยืมสกุลเงินดิจทัลได้โดยไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางใด ๆ
2. Uniswap DAO – ระบบบริหารแพลตฟอร์ม DeFi
Uniswap แพลตฟอร์มสำหรับการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลแบบกระจายอำนาจ บนเครือข่าย Ethereum ที่อนุญาตให้ผู้ถือโทเคน UNI สามารถเสนอ ลงคะแนนการตัดสินใจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของแพลตฟอร์ม Uniswap มีการพัฒนาที่แข็งแกร่ง โดยถือครองสินทรัพย์มูลค่ากว่า 5.4 พันล้านดอลลาร์ ส่งผลให้ Uniswap เป็น DAO ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
3. ApeCoin DAO – การบริหารเหรียญ APE และโปรเจค NFT
ApeCoin DAO คือ องค์กรแบบกระจายศูนย์ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการโทเค็น APE ก่อตั้งเมื่อปี 2022 ซึ่งเชื่อมโยงกับคอลเลกชั่น NFT ที่มีชื่อเสียงอย่าง Bored Ape Yacht Club (BAYC) ผู้ถือเหรียญ APE จะมีส่วนในการตัดสินใจร่วมกันเกี่ยวกับการจัดสรรกองทุน กฎระเบียบโครงการ และอื่น ๆ ที่เป็นการกำหนดทิศทางของระบบนิเวศ
วิธีเข้าร่วมและมีส่วนร่วมใน DAO
ในการที่จะเข้าร่วม DAO นั้น เบื้องต้นผู้ใช้งานควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ DAO ที่สนใจเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายและค่านิยมของตัวเองจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ หลังจากเลือก DAO ได้แล้ว ขั้นตอนถัดไปจะเป็นการซื้อและถือครองโทเคนขององค์กรนั้น ๆ ซึ่งสามารถทำได้ผ่านแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตเคอร์เรนซีต่าง ๆ
หลังจากที่มีการซื้อโทเคน และเป็นผู้ถือครองเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถทื่จะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจต่าง ๆ ได้ เช่น การลงคะแนนเสียงเพื่อเสนอการเปลี่ยนแปลง การสนับสนุนโปรเจกต์ใหม่ การบริหารจัดการทรัพย์สินของ DAO การสนับสนุนกิจกรรมภายในชุมชน นอกจากนี้ ผู้ถือโทเคนสามารถที่จะมีส่วนร่วมในการสนทนาและอภิปรายเรื่องต่าง ๆ ร่วมกันเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องที่จะเกิดขึ้นเพื่อผลักดัน DAO ไปข้างหน้า
DAO กับอนาคตของการบริหารองค์กร
DAO กำลังก้าวเข้าสู่บทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารองค์กรสู่ยุคใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนในการบริการให้มีความโปร่งใส กระจายอำนาจ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีทิศทางในอนาคตที่สำคัญ เช่น
- การผสมผสานกับองค์กรแบบดั้งเดิม: เป็นการนำ AI มาวิเคราะห์ข้อมูลการโหวตและแนวโน้มตลาด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจและให้คำแนะนำที่แม่นยำมากขึ้น
- การรองรับทางกฎหมาย: เมื่อ DAO ได้รับความนิยมมากขึ้น รัฐบาลอาจมีการออกกฎหมายเพื่อรองรับเทคโนโลยี DAO ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความมั่นคง และช่วยให้เกิดการยอมรับในระดับสากล
- การขยายตัวไปยังอุตสาหกรรมอื่น: แม้ปัจจุบัน DAO ยังคงอยู่ในวงการบล็อกเชนและคริปโตเคอร์เรนซี แต่ในอนาคต DAO อาจถูกนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เช่น การเงิน สื่อและความบันเทิง การบริหารจัดการทรัพยากร การปกครอง
Conclusion
DAO คือ นวัตกรรมที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงการบริหารองค์กรแบบดั้งเดิม พร้อมนำเสนอวิสัยทัศน์ที่มนุษย์สามารถร่วมมือกันในโลกของการตัดสินใจแบบกระจายอำนาจ มีกฏที่โปร่งใส และทุกคนสามารถมีส่วนร่วมกันได้อย่างเท่าเทียม ผ่านการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนและ Smart Contracts ในอนาคตเราอาจได้เห็นการผสมผสาน DAO เข้ากับองค์กรแบบดั้งเดิมมากขึ้น รวมถึงการขยายตัวไปยังอุตสาหกรรมอื่น ๆ DAO จึงไม่ใช่เพียงเทรนด์ชั่วคราว แต่เป็นก้าวสำคัญของวิวัฒนาการองค์กรในโลกดิจิทัลที่ควรจับตามองอย่างแน่นอน
คำเตือน
*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
**บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการให้คำแนะนำทางการเงินแต่อย่างใด
อ้างอิง
Share this
- Bitazza Blog (73)
- Crypto Weekly (40)
- DAO (15)
- Beginner (14)
- mission (11)
- ความปลอดภัย (11)
- บล็อกเชน (8)
- Learning Hub (6)
- การค้าขาย (6)
- หัวข้อเด่น (6)
- ตลาด (5)
- วิจัย (5)
- Tether (USDt) (4)
- Security (3)
- bitcoin (3)
- missions (3)
- เศรษฐศาสตร์ (3)
- Bitazza Insights (2)
- Campaigns (2)
- Stablecoin (2)
- Token talk (2)
- Trading (2)
- เกี่ยวกับการสอน (2)
- Crypto รายสัปดาห์ (1)
- Disclosure (1)
- ENJ (1)
- Educational (1)
- Featured (1)
- KYC (1)
- NFTs (1)
- SEC (1)
- TRUMP (1)
- TradingView (1)
- บิทาซซ่าบล็อกส์ (1)