Bitazza Thailand Blog

ทำความรู้จัก ‘Smart Contract’ เทคโนโลยีบล็อกเชนที่สำคัญกับนักลงทุน

what is smart contract

 

ก่อนจะรู้ว่าว่า ‘Smart Contract’ คืออะไร จะชวนมาทำความเข้าใจและเจาะลึก ตั้งแต่นิยามไปจนถึงการใช้งานจริง เพื่อที่นักเทรดหรือนักลงทุนได้เห็นภาพเดียวกัน และนำไปใช้ได้จริง ว่าเครื่องมือนี้ ที่แปลเป็นไทยว่า ‘สัญญาอัจฉริยะ’ นั้น มีนิยามว่าอย่างไร มีหลักการทำงานยังไง มีประโยชน์ต่อตลาดคริปโตฯ ยังไง และในอนาคตจะมีความสำคัญหรือไม่ ถ้าพร้อมแล้วมาดูไปพร้อมกันเลย

 


Electronic Signature with Finger on Smartphone Touchscreen

 

Smart Contract คืออะไร?

อย่างที่เกริ่นไปเบื้องต้นว่า Smart Contract หรือ สัญญาอัจฉริยะ  คือ สัญญาที่เกิดจากการโค้ดดิ้ง ในระบบบล็อกเชน เพื่อสร้างสัญญาระหว่างผู้ร่างทั้ง 2 ฝั่ง โดยสามารถทำงานอัตโนมัติ ภายใต้เงื่อนไขที่ออกแบบมาในสัญญานั้น ๆ หากเงื่อนไขครบ การทำงานจึงเกิดขึ้นนั่นเอง 

หากยกตัวอย่าง เช่น การซื้อบ้าน ที่ผู้ซื้อและผู้ขาย ทำสัญญากันผ่านสัญญาอัจฉริยะ เพียงแค่ทำตามเงื่อนไขครบ การซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์ก็เสร็จสิ้น โดยไม่ต้องผ่านนายหน้า ใช้เวลาเซ็นต์เอกสาร หรือ ต้องไปธนาคาร แต่หาก Smart Contract เกิดขึ้นในระบบบล็อกเชน ที่เราสามารถใช้งานได้เพียงปลายนิ้ว

 


หลักการทำงานของ Smart Contract

หลักการทำงานอย่างที่ยกตัวอย่างไปให้เห็นภาพ Smart Contract หรือ สัญญาอัจฉริยะ นั่นคือการสร้างสัญญาขึ้นมา ตามเงื่อนไขที่ต้องการ และนำโค้ดดังกล่าวไปใส่ในบล็อกเชน ดังเช่น Etherium ที่สร้าง Smart Contract ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ใช้ต่อผู้ใช้ นำมาใช้งานได้ง่ายขึ้น โดยการทำงานของสัญญาอจฉริยะนี้ จะอยู่บนพื้นฐาน การทำงานอัตโนมัติ การยืนยันสัญญาและการบันทึกข้อมูล หากทำตามเงื่อไขครบ สัญญาอัจฉริยะก็พร้อมใช้งาน โดยตัวสัญญาจะกระจายสำเนาไปยังทุกคนในระบบ ให้ช่วยกันตรวจสอบกันเอง โดยไม่มีตัวกลาง จึงทำให้ไม่มีใครสามารถโกงสัญญาฉบับนี้ได้ เพราะถ้าหากต้องการแก้ไข ก็จำเป็นต้องแก้ไขในสัญญาทุกฉบับที่ส่งออกไป 

 


how smart contracts work

 

การทำงานบนบล็อกเชน

จะเห็นหลักการทำงานของเทคโนโลยี Smart Contract มีความน่าสนใจอยู่ที่ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และแม่นยำ ทำให้นักพัฒนานำไปปรับใช้ และก่อให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าง DeFi, NFT และ GameFi โดยเป็นการนำสัญญาอัจฉริยะนี้ ไปประยุกต์เพื่อออกบริการ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อดึงดูดนักเทรดคริปโตฯ ที่ชอบใช้งานบนโลกดิจิตอลมากขึ้น 

การทำงานของสัญญาอัจฉริยะมีดังนี้

  1. การสร้างสัญญา (Coding the Contract) เป็นการสร้างสัญญาขึ้นมาบนแพลตฟอร์มบล็อกเชน โดยใช้โปรแกรมเฉพาะ
  2. การอัปโหลดสัญญา (Deploying the Contract) ป็นการอัปโหลดสัญญาที่สร้างขึ้นแล้วลงในระบบ Blockchain สัญญาเหล่านั้นจะถูกเก็บรักษาอย่างปลอดภัย ไม่สามารถแก้ไขได้
  3. การดำเนินสัญญา (Executing the Contract) หากเงื่อนไขสัญญาถูกต้อง ตรงจุดประสงค์ ตรงเงื่อนไขทั้งผู้เขียนและผู้ใช้ สัญญาก็จะทำงานอัตโนมัติ
  4. การตรวจสอบสัญญา (Verification and Validation) การตรวจสอบสัญญาจะยืนยันโดยผ่านเครือข่าย Blockchain เพื่อความถูกต้อง โปร่งใส และปลอดภัยนั่นเอง


เงื่อนไข (Conditions) และการดำเนินการอัตโนมัติ

เงื่อนไขและการใช้งานอัตโนมัติของ Smart Contract นั้นขึ้นอยู่กับการโค้ดดิ้งคำสั่งและเงื่อนไขขึ้นมา โดยการนำไปใช้ก็สามารถแบ่งเงื่อนไจได้หลัก ๆ ดังนี้ 

  1. การสร้างข้อตกลง จะถูกแปลงเป็นรหัสคอมพิวเตอร์ ธุรกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะถูกบันทึกอัตโนมัติ
  2. Triggering Event เป็นการสร้างเงื่อนไขในสัญญา ‘ถ้าเกิด…จะเกิด…’ เพื่อให้สัญญาเกิดขึ้นด้วยตัวเอง และเพื่อให้การใช้งานสมบูรณ์ จำเป็นต้องระบุเหตุการณ์/จุดประสงค์ และวันหมดอายุของสัญญา เพื่อให้ตัวสัญญาทำงานอัตโนมัติได้อย่างสมบูรณ์
  3. การยุติข้อตกลง หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ทำตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาที่ทำร่วมกัน สัญญาอัจฉริยะ ก็จะคืนเงินกลับไปให้อัตโนมัติอีกเช่นกัน

 


Smart Contract Language ที่ใช้พัฒนา

การพัฒนา Smart Contract หรือการโค้ดดิ้งสัญญาอัจฉริยะ นิยมใช้ภาษาในการพัฒนาดังนี้ 

  • Solidity เป็นภาษาที่ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อปี 2014 เป็นภาษาโปรแกรมระดับสูง ใช้โครงสร้างภาษาแบบ Object-oriented programming (OOP) สามารถรันบน Ethereum Blockchain ทำให้สามารถสร้างสัญญาอัจฉริยะได้อย่างรวดเร็ว
  • Vyper เป็นภาษาที่พัฒนามากจาก Python สามารถรันบน Ethereum ได้เช่นกัน จุดเด่น คือ ปลอดภัย ติดตั้งง่าย และคนทั่วไปสามารถตรวจสอบได้ แต่จะไม่มีบางฟังก์ชันที่ต้องใช้งานซับซ้อนมากขึ้น
  • DAML ย่อมาจาก Digital Asset Modeling Language เป็นภาษาแบบ Open-Source ที่ใช้ง่าย ปลอดภัย มีคุณภาพสูง มี Framework และเครื่องมือมาให้ใช้ง่ายขึ้น
  • JavaScript เป็นการใช้สร้างและพัฒนาบน Web 3.0 ที่อาศัยคอนเซ็ปท์ Decentralized บนบล็อกเชนในการเขียนโค้ดที่ทำงานเป็นส่วนเสริมได้นั่นเอง

 


ประโยชน์ของ Smart Contract

ประโยชน์ของสัญญาอัจฉริยะ มีความสำคัญอย่างมากในโลกดิจิตัล โดยเฉพาะการใช้บล็อกเชน ที่มีการนำสัญญาเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้บริการ คอนเทนต์ หรือทริกเกอร์บางอย่าง เพื่อทำให้เกิดเงื่อนไขและผลตอบแทนขึ้น ทำให้นักพัฒนานำไปต่อยอด ออกบริการ ที่รองรับการใช้งานต่าง ๆ ได้หลากหลาย และสร้างสังคมคริปโตฯ ให้มีความน่าใช้งานมากขึ้นอีกด้วย

 


man holding phone describing about blockchain smart contract concept

 

การใช้งาน Smart Contract ในชีวิตจริง

จะเห็นได้ว่านอกจากการประยุต์ใช้งานสัญญาอัจฉริยะในโลกดิจิตอลแล้ว ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานในโลกของความเป็นจริงได้อีกด้วย โดยสามารถนำการทำงานไปใช้ได้ดังนี้

  • การเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi) เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และไม่จำเป็นต้องมีตัวกลาง Smart Contract จึงเข้ามามีบทบาทหากเงื่อนไขต่าง ๆ ถูกต้อง สัญญาก็จะทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการกู้เงิน การเทรดสินทรัพย์ดิจิตอล ไปจนถึงการทำ dApps เป็นต้น

  • การสร้างและซื้อขาย NFT การเป็นตัวกลางของสินทรัพย์ดิจิตอลของ NFT จึงสะดวกและรวดเร็วในการสร้าง ซื้อ-ขาย สินทรัพย์ดิจิตอลเหล่านั้น

  • การประกันภัยแบบอัตโนมัติ หากสัญญาที่ร่างระบุเงื่อนไขที่เกิดขึ้น หากเกิดเหตุบางอย่างก็จะทำให้มีการประกันภัยอัตโนมัติตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในสัญญาอัจฉริยะนั่นเอง

  • Supply Chain Management เป็นการประยุกต์สัญญาอัจฉริยะเข้ากับระบบซัพพลายบนบล็อกเชน เพื่อจัดการและบริหารซัพพลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำให้ระบบทำงานอัตโนมัติด้วยการใช้สัญญาอัจฉริยะ ก็ทำให้เสริมประสิทธิภาพได้มากขึ้น

 


ข้อดีของ Smart Contract

ข้อดีของสัญญาอัจฉริยะ คือ สะดวกสบาย ทำงานได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ มีประสิทธิภาพสูง มีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือได้มาก โดยเฉพาะการทำงานแบบอัตโนมัติ ทำงานได้เองโดยไม่ต้องมีตัวกลาง ที่นับว่าเป็นจุดแข็ง ของการใช้งานสัญญาอัจฉริยะ ทำให้ป้องกันการทุจริตได้จริง ลดความผิดพลาดจากมนุษย์ได้สูง และค่าใช้จ่ายที่ลดลงได้มาก

 


ความเสี่ยงและข้อจำกัดของ Smart Contract

ข้อเสียหรือข้อจำกัดของสัญญาอัจฉริยะ คือ หากสร้างผิดอาจเกิดความเสียหายขึ้นได้ เพราะจะทำให้แก้สัญญาได้ยาก ทำให้การสร้างสัญญาจำเป็นต้องวางโครงสร้างอย่างรอบคอบ และระมัดระวังเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดและอาจเกิดบั๊กในระบบ อาจเกิดการสูญเสียทรัพย์สินมากขึ้นได้

 


ตัวอย่างแพลตฟอร์มที่ใช้ Smart Contract

การใช้ Smart Contract ในแพลตฟอร์ม Ethereum เป็นแพลตฟอร์มแบบเปิดให้นักพัฒนาสามารถนำโค้ดไปพัฒนาต่อยอดได้ โดยเป็นการใช้งานบนระบบ Blockchain มี Network ที่สามารถใช้ Smart Contract รันบนเครือข่ายได้ โดย Ethereum Network สามารถรับส่งเหรียญ เก็บข้อมูล ทุก Node สามารถรันโปรแกรม พร้อมกับมีข้อมูลที่เหมือนกันได้ จึงทำให้การใช้ Smart Contract เกิดขึ้น โดยเรียกว่า dApps ที่แอปฯ จะทำธุรกรรมต่าง ๆ โดยไม่ผ่านตัวกลาง โดยแอปฯ ที่พัฒนาหลัก ๆ มีดังนี้ แอปฯ สำหรับแลกเปลี่ยนโดยตรง แอปฯ ที่เกี่ยวกับการเงิน รวมถึงแอปฯ พินัยกรรม แอปฯ ระบบโหวต เป็นต้น

 


Futuristic business scene with ultra modern ambiance

 

บทบาทของ Smart Contract ในอนาคต

จะเห็นว่าการประยุกต์ใช้สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) รองรับการใช้งานที่หลากหลาย มีการใช้งานในโลกดิจิตอลที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น DeFi, dApps , NFT เป็นต้น ล้วนแต่สร้างผลกระทบในเชิงบวกต่อโลกคริปโตฯ เป็นอย่างมาก ทำให้การใช้เทคโนโลยนี้จึงอาจมีบทบาทสำคัญในอนาคต อย่าง Web 3.0 ที่กำลังได้รับความสนใจ และกำลังอยู่ในขั้นตอนพัฒนาอีกด้วย

 


เทคโนโลยีสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) ที่สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับการใช้งานทั้งผู้ซื้อ-ผู้ขายที่ตกลงสัญญาร่วมกัน ไปจนถึงการนำไปพัฒนาต่อยอดออกมาเป็นเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่อโลกดิจิตอลอย่าง DeFi , dApps , NFT ก็ล้วนแต่เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานบล็อกเชนได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ อำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ ให้มากขึ้น ทำให้ความน่าสนใจของเทคโนโลยีนี้ถูกต่อยอด และนำไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง และน่าสนใจ ซึ่งนับเป็นอีกเทคโนโลยีนึงที่นักเทรดและนักลงทุนควรให้ความสำคัญ

 


คำเตือน

*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ 
**บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการให้คำแนะนำทางการเงินแต่อย่างใด

 


อ้างอิง