ไม่ว่ากระแสการลงทุนปัจจุบันจะเป็นอย่างไร Ethereum คือ อีกหนึ่งชื่ออันดับต้น ๆ ของสินทรัพย์ดิจิทัลที่ต้องได้ยินและรู้จักเป็นวงกว้าง บทความนี้ จะพามาทำความรู้จักว่า Ethereum คืออะไร มีเทคโนโลยีอะไรบ้าง นำไปใช้แบบไหน ข้อดีและข้อจำกัดของ Ethereum ต้องพิจารณาเรื่องอะไรเหรียญ ETH มีแนวโน้มราคาเป็นอย่างไรบ้าง แล้ววิธีการซื้อเหรียญต้องทำอย่างไร
Ethereum คือ แพลตฟอร์มบล็อกเชนแบบกระจายศูนย์หรือ Decentralized โดยพัฒนาและสร้างเหรียญคริปโตเคอร์เรนซีของเครือข่ายออกมาชื่อว่าเหรียญ Ether (ETH) เทคโนโลยีบล็อกเชนช่วยให้เครือข่าย Ethereum สร้างความปลอดภัยในการทำธุรกรรมดิจิทัล
หากเทียบกับ Bitcoin แล้ว ทั้งสองเหรียญนี้ต่างมีทั้งจุดเหมือนและจุดต่างอันเป็นทั้งข้อดีและข้อจำกัดของเครือข่ายตน ทั้งนี้ Ethereum ใช้กลไกตรวจสอบธุรกรรมแบบ Proof-of-Stake อีกทั้งยังถือเป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่เน้นหลักพัฒนาเริ่มต้นมาจากบล็อกเชนอีกด้วย
จริง ๆ แล้ว ทั้ง Ethereum และ Bitcoin ต่างมีจุดเหมือนร่วมกันหลายอย่าง แต่ถึงอย่างนั้น ก็มีจุดต่างให้พิจารณาและน่าสนใจไม่น้อยทั้งในกลุ่มนักลงทุนและนักพัฒนา
หากว่ากันถึงการวาง Position ของเครือข่ายและเหรียญ ฝั่งผู้ก่อตั้ง Ethereum มองว่าเครือข่ายของตนมุ่งเน้นสู่การเป็น “เครือข่ายบล็อกเชนที่ติดตั้งโปรแกรมในระดับโลก” กล่าวคือ พวกเขาต่างมองว่า Ethereum จะกลายเป็นเครือข่ายที่นักพัฒนาสามารถเข้าถึง Ethereum เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันจาก Resource ที่มีได้ ในขณะที่ Bitcoin มุ่งสร้างขึ้นมา เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการใช้เป็นสื่อกลางชำระเงินที่นอกเหนือไปจากการใช้สื่อกลางจากสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม
นอกจากนี้ จำนวนเหรียญบิตคอยน์ก็มีปริมาณหมุนเวียนในเครือข่ายจำกัด ซึ่งปริมาณหมุนเวียนของเหรียญอยู่ที่ 21 ล้านเหรียญ ในขณะที่อีเธอเรียมจะถูกสร้างขึ้นมาได้ไม่จำกัด
ที่สำคัญ ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมของทั้งสองเครือข่ายถือเป็นจุดต่างสำคัญ กล่าวคือ ค่าธรรมเนียมหรือค่าแก๊สของเครือข่ายอีเธอเรียมจะเป็นความรับผิดชอบของผู้เข้าร่วมทำธุรกรรมบนเครือข่าย และจะเครือข่ายเผาไป ต่างจากเครือข่ายบิตคอยน์ที่นักขุดจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมนั้นแทน
Ethereum 2.0 คือ เครือข่ายอีเธอเรียมแบบอัปเกรดขึ้นมาอีกขั้น ถือเป็นต้นแบบการเปลี่ยนผ่านจากกลไกการตรวจสอบธุรกรรมจาก Proof-of-Stake มาเป็น Proof-of-Work จุดมุ่งหมายของ Ethereum 2.0 คือต้องการยกระดับเครือข่ายให้ดีขึ้น ทั้งในแง่ของการปรับตัวของเครือข่าย การเข้าถึงเครือข่าย รวมทั้งความราบรื่นในการทำธุรกรรม
ทั้งนี้ Ethereum 2.0 จะต้องดำเนินการอัปเกรดอีกหลายครั้ง เพื่อให้เวอร์ชันของเครือข่ายนี้ที่สมบูรณ์ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพทำงานของเครือข่ายให้ทำธุรกรรมได้มากกว่า 100,000 ธุรกรรมต่อวินาที
จริง ๆ แล้ว เครือข่าย Ethereum ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ามาในเครือข่ายหลายอย่าง ดังนี้
Smart Contracts คือ โปรแกรมที่ติดตั้งและดำเนินการบนบล็อกเชน Ethereum ถือเป็นชุดข้อมูลและโค้ดที่อยู่ใน Address เฉพาะของเครือข่าย มีส่วนสำคัญในการใช้ทำข้อมูลธุรกรรม การทำงานของ Smart Contracts จะทำงานด้วยโปรแกรมที่ได้รับการป้อนข้อมูลมาแล้ว ไม่ต้องมีคนหรือผู้ใช้งานอื่นมาควบคุมการทำงาน นอกจากนี้ Smart Contracts ยังช่วยกำหนดกฎเกณฑ์และบังคับปรับใช้ผ่านโค้ดอัตโนมัติ ไม่สามารถลบข้อมูลหรือแก้ไขได้
dApps มีเป้าหมายสู่การมุ่งเน้นการสร้างบริการทางการเงินที่ใช้เหรียญคริปโคเคอร์เรนซี ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้เป็นสื่อกลางในการให้ยืม ยืม เก็งกำไร และชำระใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ โดยไม่ต้องใช้ข้อมูลส่วนตัว
Ethereum Virtual Machine หรือ EVM ถือเป็นโปรแกรมที่เอื้อให้เกิดโลกเสมือนของการเงินแบบกระจายศูนย์ โดยจะใช้การจัดการผ่านโค้ดผ่านโหนดต่าง ๆ ภายในเครือข่าย Ethereum โหนดจะเรียกใช้งาน EVM จากนั้น EVM จะดำเนินการกับ Smart Contracts หน่วยการทำงานจะใช้ว่า “แก๊ส” เพื่อวัดประสิทธิภาพในการคำนวณสำหรับการดำเนินการต่าง ๆ มีส่วนช่วยในการจัดสรรทรัพยากรและรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย
เมื่อว่ากันถึงการประยุกต์ใช้ Ethereum แล้ว เหรียญนี้ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้าวขวาง ดังนี้
Ethereum ถูกนำไปปรับใช้กับเกมโลกเสมือน ที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ Decentraland เกมบล็อกเชนว่าด้วยการซื้อขายที่ดินในโลกเสมือนนั้นใช้งานเครือข่ายบล็อกเชน Ethereum เพื่อรักษาความปลอดภัยของไอเทมต่าง ๆ ภายในเดม นอกจากนี้ ตัวอวตาร เครื่องแต่งกาย ตึกอาคาร และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในเกมก็ยังถูกทำออกมาในรูปของโทเคน ซึ่งใช้เป็นสื่อกลางแสดงความเป็นเจ้าของ
NFTs ใช้โทเคนแทนดิจิทัลไอเทม ซึ่งโทเคนดังกล่าวใช้ Ethereum ในการสร้างขึ้นมา โดยโทเคน 1 โทเคน จะแทนดิจิทัลไอเทมที่มาพร้อม Private Key ทำให้เจ้าของ NFTs จะมีสิทธิถือครองงาน NFTs แต่เพียงผู้เดียว ทั้งนี้ งาน NFTs จะนำไปขายหรือเทรดก็ได้ ซึ่งจะทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายบล็อกเชน เมื่อเครือข่ายตรวจสอบและยืนยันธุรกรรมแล้ว กรรมสิทธิเจ้าของงานก็จะถ่ายโอนไปยังอีกฝ่ายอย่างถูกต้อง
หากว่ากันถึงงาน NFTs แล้วนั้น ต้องยอมรับว่า ถูกนำไปปรับใช้ในหลายวงการ ไม่ว่าจะเป็นด้านกีฬา Trading Card ไปจนถึงวิดีโอ
Decentralized Autonomous Organization หรือ DAOs คือ วิธีการตัดสินใจร่วมกันของทั้งเครือข่าย เป้าหมายของการสร้าง DAOs นั้น ก็เพื่อตอบสนองหลายเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา Web 3 ทำเกม หรือการลงทุน โดย DAOs สามารถใช้งาน Smart Contracts และแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพื่อรวบรวมจำนวนโหวตจากเหล่าสมาชิก ลงทุนกิจการต่าง ๆ ตามเสียงโหวตข้างมาก และสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ โดยไม่ต้องใช้การตัดสินจากบุคคลที่สาม
หากใครสนใจลงทุนเหรียญ ETH นอกจากศึกษาความเป็นไปของตลาด ทิศทางและแนวโน้มราคาของสินทรัพย์แล้ว การเลือกแพลตฟอร์ม Exchage ก็ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดย Bitazza เป็นอีกทางเลือกของแพลตฟอร์มการเทรดสินทรัพย์ดิจิทัลในไทย โดยสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนได้ง่าย ๆ ดังนี้
แม้ Ethereum จะได้ชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งเหรียญคริปโตที่ได้รับความสนใจจากนักเทรดและนักลงทุนไม่น้อย แต่ก่อนพิจารณาซื้อเหรียญนั้น ควรศึกษาถึงข้อดีและข้อจำกัดของเหรียญนี้ให้ดี ดังนี้
มีมาตรฐานและการทำงานร่วมกันที่ดี เครือข่าย Ethereum ได้รับการพัฒนาบนมาตรฐานของ ERC-20 และ ERC-721 ซึ่งช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพด้านการทำงานร่วมกันของสินทรัพย์บนเครือข่ายบล็อกเชน และได้รับการยอมรับเป็นวงกว้าง
ตามที่กล่าวไปบ้างข้างต้น ปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตของ Ethereum มีทั้งการพัฒนาเครือข่ายอย่างต่อเนื่องอย่างการอัปเกรด Dencun ที่มุ่งเน้นการปรับปรุงความสามารถในการปรับขนาดและลดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม เป็นต้น
นอกจากนี้ นักลงทุนต่างสนใจเหรียญดังกล่าวเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ประกอบกับการนำ Ethereum ไปใช้ในแอปพลิเคชันต่าง ๆ ก็เป็นแรงผลักดันสำคัญที่อาจส่งผลให้ราคา ETH เพิ่มขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ หากมองถึงแนวโน้มราคาเหรียญ Ethereum ในช่วง 5 ต่อจากนี้ ก็ได้มีการวิเคราะห์ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
2030 เมื่อเข้าสู่ทศวรรษใหม่ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า Ethereum จะมีราคาค่าเฉลี่ยราว 35,154 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยอาจลงไปต่ำสุดที่ 34,259 ดอลลาร์สหรัฐฯ และพุ่งสูงถึง 38,769 ดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ETH ยังถูกมองว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของ Web 3 และเทคโนโลยีทางการเงินในอนาคต
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรตระหนักถึงความผันผวนของตลาดคริปโตเคอร์เรนซีและศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน แม้ว่าแนวโน้มระยะยาวของ Ethereum จะดูเป็นบวก แต่ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายหรือเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ ก็อาจส่งผลต่อราคาได้เช่นกัน
ตามที่กล่าวไปข้างต้น ราคาเหรียญ ETH หรือสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ๆ ล้วนมีความผันผวนเสมอ ก่อนตัดสินใจลงทุน สามารถเข้ามาอัปเดตราคาเหรียญ EHT/THB กันก่อนได้
Ethereum เคยทำสถิติราคาสูงสุดตลอดกาล (All-Time High) ไว้ที่ 4,721.07 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยราคาดังกล่าวสะท้อนถึงมูลค่าสูงที่สุดที่เคยมีการซื้อขายเหรียญ Ethereum ตั้งแต่มีการเปิดตัวในตลาดคริปโตจนถึงปัจจุบัน
จากข้อมูลล่าสุด Ethereum มีราคาซื้อขายอยู่ที่ 3,762.59 ดอลลาร์สหรัฐฯ และยังคงครองอันดับที่ 2 ในระบบนิเวศคริปโตทั้งหมดในปัจจุบัน อีกทั้งมีมูลค่าหมุนเวียนในตลาดรวมกว่า 451,994,509,854.32 ดอลลาร์สหรัฐฯ และมีจำนวนเหรียญหมุนเวียนในระบบอยู่ที่ 120,128,511 ETH
Ethereum ยังคงเป็นหนึ่งในเครือข่ายบล็อกเชนที่มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศคริปโต ด้วยจุดเด่นด้านการรองรับ Smart Contract การพัฒนา dApps ที่ตอบโจทย์เรื่อง Decentralized และการมีระบบเศรษฐกิจของตนเองอย่างสมบูรณ์ แม้จะเผชิญความท้าทายด้านความสามารถในการขยายตัว ค่าธรรมเนียม และการแข่งขันจากเครือข่ายอื่น ๆ แต่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องก็ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ Ethereum เป็นรากฐานสำคัญของ Web3 ในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนควรติดตามความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีและกฎระเบียบอย่างใกล้ชิด เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนอย่างรอบคอบ
คำเตือน
*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
**บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการให้คำแนะนำทางการเงินแต่อย่างใด
อ้างอิง