Share this
Ethereum คืออะไร เหรียญ ETH ยังน่าลงทุนหรือไม่

ไม่ว่ากระแสการลงทุนปัจจุบันจะเป็นอย่างไร Ethereum คือ อีกหนึ่งชื่ออันดับต้น ๆ ของสินทรัพย์ดิจิทัลที่ต้องได้ยินและรู้จักเป็นวงกว้าง บทความนี้ จะพามาทำความรู้จักว่า Ethereum คืออะไร มีเทคโนโลยีอะไรบ้าง นำไปใช้แบบไหน ข้อดีและข้อจำกัดของ Ethereum ต้องพิจารณาเรื่องอะไรเหรียญ ETH มีแนวโน้มราคาเป็นอย่างไรบ้าง แล้ววิธีการซื้อเหรียญต้องทำอย่างไร
ข่าวล่าสุดเกี่ยวกับ Ethereum
- Ethereum กำลังพิจารณาข้อเสนอ EIP-9698 เพื่อเพิ่มขีดจำกัดของ gas limit จาก 30 ล้าน เป็น 3 พันล้านภายในไม่กี่ปีข้างหน้า ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการประมวลผลธุรกรรม และรองรับการขยายตัวของเครือข่ายได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการพูดถึงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายใน Ethereum Foundation และการเปลี่ยนแปลงทางเทคนิคอื่น ๆ ที่สำคัญ
- Blockchain News รายงานว่า Ethereum แสดงสัญญาณการกลับตัวของแนวโน้มราคาขาขึ้น โดยมีปริมาณการซื้อขายและกิจกรรมบนเครือข่ายเพิ่มขึ้น เช่น จำนวน Address ที่ใช้งานรายวันเพิ่มขึ้น 12% การฝากเหรียญเพื่อ Staking เพิ่มขึ้น 8,000 ETH ภายใน 48 ชั่วโมงที่ผ่านมา ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้นในระยะยาว
- ในเดือนเมษายน 2025 Ethereum ครองส่วนแบ่ง 60% ของมูลค่าทรัพย์สินจริง (Real-World Assets - RWA) ที่ถูกโทเคน ซึ่งแสดงถึงการยอมรับที่เพิ่มขึ้นของ Ethereum ในการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้กับสินทรัพย์ในโลกจริง อย่างไรก็ตาม ยังมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาความสามารถในการขยายตัวของเครือข่ายที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตในอนาคต

Ethereum คืออะไร
Ethereum คือ แพลตฟอร์มบล็อกเชนแบบกระจายศูนย์หรือ Decentralized โดยพัฒนาและสร้างเหรียญคริปโตเคอร์เรนซีของเครือข่ายออกมาชื่อว่าเหรียญ Ether (ETH) เทคโนโลยีบล็อกเชนช่วยให้เครือข่าย Ethereum สร้างความปลอดภัยในการทำธุรกรรมดิจิทัล
หากเทียบกับ Bitcoin แล้ว ทั้งสองเหรียญนี้ต่างมีทั้งจุดเหมือนและจุดต่างอันเป็นทั้งข้อดีและข้อจำกัดของเครือข่ายตน ทั้งนี้ Ethereum ใช้กลไกตรวจสอบธุรกรรมแบบ Proof-of-Stake อีกทั้งยังถือเป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่เน้นหลักพัฒนาเริ่มต้นมาจากบล็อกเชนอีกด้วย

ความแตกต่างระหว่าง Ethereum กับ Bitcoin
จริง ๆ แล้ว ทั้ง Ethereum และ Bitcoin ต่างมีจุดเหมือนร่วมกันหลายอย่าง แต่ถึงอย่างนั้น ก็มีจุดต่างให้พิจารณาและน่าสนใจไม่น้อยทั้งในกลุ่มนักลงทุนและนักพัฒนา
หากว่ากันถึงการวาง Position ของเครือข่ายและเหรียญ ฝั่งผู้ก่อตั้ง Ethereum มองว่าเครือข่ายของตนมุ่งเน้นสู่การเป็น “เครือข่ายบล็อกเชนที่ติดตั้งโปรแกรมในระดับโลก” กล่าวคือ พวกเขาต่างมองว่า Ethereum จะกลายเป็นเครือข่ายที่นักพัฒนาสามารถเข้าถึง Ethereum เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันจาก Resource ที่มีได้ ในขณะที่ Bitcoin มุ่งสร้างขึ้นมา เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการใช้เป็นสื่อกลางชำระเงินที่นอกเหนือไปจากการใช้สื่อกลางจากสถาบันการเงินแบบดั้งเดิม
นอกจากนี้ จำนวนเหรียญบิตคอยน์ก็มีปริมาณหมุนเวียนในเครือข่ายจำกัด ซึ่งปริมาณหมุนเวียนของเหรียญอยู่ที่ 21 ล้านเหรียญ ในขณะที่อีเธอเรียมจะถูกสร้างขึ้นมาได้ไม่จำกัด
ที่สำคัญ ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมของทั้งสองเครือข่ายถือเป็นจุดต่างสำคัญ กล่าวคือ ค่าธรรมเนียมหรือค่าแก๊สของเครือข่ายอีเธอเรียมจะเป็นความรับผิดชอบของผู้เข้าร่วมทำธุรกรรมบนเครือข่าย และจะเครือข่ายเผาไป ต่างจากเครือข่ายบิตคอยน์ที่นักขุดจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมนั้นแทน

Ethereum 2.0 คืออะไร
Ethereum 2.0 คือ เครือข่ายอีเธอเรียมแบบอัปเกรดขึ้นมาอีกขั้น ถือเป็นต้นแบบการเปลี่ยนผ่านจากกลไกการตรวจสอบธุรกรรมจาก Proof-of-Stake มาเป็น Proof-of-Work จุดมุ่งหมายของ Ethereum 2.0 คือต้องการยกระดับเครือข่ายให้ดีขึ้น ทั้งในแง่ของการปรับตัวของเครือข่าย การเข้าถึงเครือข่าย รวมทั้งความราบรื่นในการทำธุรกรรม
ทั้งนี้ Ethereum 2.0 จะต้องดำเนินการอัปเกรดอีกหลายครั้ง เพื่อให้เวอร์ชันของเครือข่ายนี้ที่สมบูรณ์ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพทำงานของเครือข่ายให้ทำธุรกรรมได้มากกว่า 100,000 ธุรกรรมต่อวินาที
เทคโนโลยีเบื้องหลัง Ethereum
จริง ๆ แล้ว เครือข่าย Ethereum ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ามาในเครือข่ายหลายอย่าง ดังนี้
-
Smart Contracts คืออะไร
Smart Contracts คือ โปรแกรมที่ติดตั้งและดำเนินการบนบล็อกเชน Ethereum ถือเป็นชุดข้อมูลและโค้ดที่อยู่ใน Address เฉพาะของเครือข่าย มีส่วนสำคัญในการใช้ทำข้อมูลธุรกรรม การทำงานของ Smart Contracts จะทำงานด้วยโปรแกรมที่ได้รับการป้อนข้อมูลมาแล้ว ไม่ต้องมีคนหรือผู้ใช้งานอื่นมาควบคุมการทำงาน นอกจากนี้ Smart Contracts ยังช่วยกำหนดกฎเกณฑ์และบังคับปรับใช้ผ่านโค้ดอัตโนมัติ ไม่สามารถลบข้อมูลหรือแก้ไขได้
-
dApps (Decentralized Applications)
dApps มีเป้าหมายสู่การมุ่งเน้นการสร้างบริการทางการเงินที่ใช้เหรียญคริปโคเคอร์เรนซี ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถใช้เป็นสื่อกลางในการให้ยืม ยืม เก็งกำไร และชำระใช้จ่ายต่าง ๆ ได้ โดยไม่ต้องใช้ข้อมูลส่วนตัว
-
Ethereum Virtual Machine (EVM)
Ethereum Virtual Machine หรือ EVM ถือเป็นโปรแกรมที่เอื้อให้เกิดโลกเสมือนของการเงินแบบกระจายศูนย์ โดยจะใช้การจัดการผ่านโค้ดผ่านโหนดต่าง ๆ ภายในเครือข่าย Ethereum โหนดจะเรียกใช้งาน EVM จากนั้น EVM จะดำเนินการกับ Smart Contracts หน่วยการทำงานจะใช้ว่า “แก๊ส” เพื่อวัดประสิทธิภาพในการคำนวณสำหรับการดำเนินการต่าง ๆ มีส่วนช่วยในการจัดสรรทรัพยากรและรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย

การใช้งาน Ethereum ในชีวิตจริง
เมื่อว่ากันถึงการประยุกต์ใช้ Ethereum แล้ว เหรียญนี้ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้าวขวาง ดังนี้
- Ethereum ในเกม
Ethereum ถูกนำไปปรับใช้กับเกมโลกเสมือน ที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือ Decentraland เกมบล็อกเชนว่าด้วยการซื้อขายที่ดินในโลกเสมือนนั้นใช้งานเครือข่ายบล็อกเชน Ethereum เพื่อรักษาความปลอดภัยของไอเทมต่าง ๆ ภายในเดม นอกจากนี้ ตัวอวตาร เครื่องแต่งกาย ตึกอาคาร และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในเกมก็ยังถูกทำออกมาในรูปของโทเคน ซึ่งใช้เป็นสื่อกลางแสดงความเป็นเจ้าของ
- Ethereum กับ NFTs
NFTs ใช้โทเคนแทนดิจิทัลไอเทม ซึ่งโทเคนดังกล่าวใช้ Ethereum ในการสร้างขึ้นมา โดยโทเคน 1 โทเคน จะแทนดิจิทัลไอเทมที่มาพร้อม Private Key ทำให้เจ้าของ NFTs จะมีสิทธิถือครองงาน NFTs แต่เพียงผู้เดียว ทั้งนี้ งาน NFTs จะนำไปขายหรือเทรดก็ได้ ซึ่งจะทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายบล็อกเชน เมื่อเครือข่ายตรวจสอบและยืนยันธุรกรรมแล้ว กรรมสิทธิเจ้าของงานก็จะถ่ายโอนไปยังอีกฝ่ายอย่างถูกต้อง
หากว่ากันถึงงาน NFTs แล้วนั้น ต้องยอมรับว่า ถูกนำไปปรับใช้ในหลายวงการ ไม่ว่าจะเป็นด้านกีฬา Trading Card ไปจนถึงวิดีโอ
-
The Development of DAOs
Decentralized Autonomous Organization หรือ DAOs คือ วิธีการตัดสินใจร่วมกันของทั้งเครือข่าย เป้าหมายของการสร้าง DAOs นั้น ก็เพื่อตอบสนองหลายเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา Web 3 ทำเกม หรือการลงทุน โดย DAOs สามารถใช้งาน Smart Contracts และแอปพลิเคชันต่าง ๆ เพื่อรวบรวมจำนวนโหวตจากเหล่าสมาชิก ลงทุนกิจการต่าง ๆ ตามเสียงโหวตข้างมาก และสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ โดยไม่ต้องใช้การตัดสินจากบุคคลที่สาม
วิธีซื้อ Ethereum ในประเทศไทยผ่าน Bitazza
หากใครสนใจลงทุนเหรียญ ETH นอกจากศึกษาความเป็นไปของตลาด ทิศทางและแนวโน้มราคาของสินทรัพย์แล้ว การเลือกแพลตฟอร์ม Exchage ก็ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ โดย Bitazza เป็นอีกทางเลือกของแพลตฟอร์มการเทรดสินทรัพย์ดิจิทัลในไทย โดยสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนได้ง่าย ๆ ดังนี้
- สมัครสมาชิกกับ Bitazza ลงทะเบียนเปิดบัญชีสำหรับใช้งานในเว็บไซต์ Bitazza
- เข้าสู่ระบบด้วยอีเมลและรหัสผ่านที่ใช้ลงทะเบียน พร้อมตรวจสอบการเปิดใช้งานระบบยืนยันตัวตน 2FA
- เข้าใช้งานเมนู “ตลาด” เพื่อสำรวจความเป็นไปของตลาดและราคาสินทรัพย์
- เลือกคู่สินทรัพย์เหรียญที่ต้องการซื้อ โดยปัจจุบันระบบรองรับการจับคู่เหรียญ ETH/THB
- พิจารณาความเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ของคู่เหรียญที่เลือก โดยจะแสดงผลออกมาเป็นกราฟหลากหลายรูปแบบ
- เมื่อพิจารณาจนตัดสินใจได้แล้ว ให้เลือกปุ่ม “ซื้อ” เพื่อกรอกรายละเอียดข้อมูลอื่น ๆ ต่อไป
- ระบุราคาสินทรัพย์ที่ต้องการซื้อ พร้อมใส่จำนวนเหรียญที่ต้องการซื้อ เมื่อตรวจสอบรายละเอียดเรียบร้อยแล้วนั้น ให้ยืนยันรายละเอียด
- ระบบจะดำเนินการทำธุรกรรม โดยอัปเดตยอดเงินอัตโนมัติ ถือเป็นการทำธุรกรรมเสร็จสิ้น
ข้อดีและข้อเสียของ Ethereum
แม้ Ethereum จะได้ชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งเหรียญคริปโตที่ได้รับความสนใจจากนักเทรดและนักลงทุนไม่น้อย แต่ก่อนพิจารณาซื้อเหรียญนั้น ควรศึกษาถึงข้อดีและข้อจำกัดของเหรียญนี้ให้ดี ดังนี้
ข้อดีของ Ethereum
- เครือข่าย Ethereum ดำเนินการภายใต้แนวคิด Decentralized หรือกระจายศูนย์ กล่าวคือ เครือข่ายจะไม่ขึ้นอยู่กับการผูกขาดอำนาจที่ส่วนกลางหรือใครคนใดคนหนึ่ง ส่งผลให้ผู้ใช้งานบนเครือข่ายเกิดความเชื่อใจกัน รวมทั้งระบบเกิดความปลอดภัยภายในเครือข่าย ที่สำคัญ จะมั่นใจได้ว่าทุกการทำธุรกรรมจะได้รับการเข้ารหัสและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้เอง
- เครือข่ายยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนการดำเนินการได้ โดยนักพัฒนาสามารถสร้าง dApps และโทเคนต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับกรณี Use Case ได้ เพราะเครือข่าย Ethereum มีนวัตกรรมอย่าง Solidity Programming Language ช่วยซัพพอร์ตการใช้งาน Smart Contracts ข้อดีข้อนี้ยังนำไปสู่โอกาสการสร้างโปรเจกต์ใหม่ ๆ อีกหลากหลายอย่าง ซึ่งรวมไปถึงการสร้างแพลตฟอร์ม DeFi, NFTs และมาร์เก็ตเพลสอีกมากมาย
- Ethereum ยังคงเติบโตและขยายเครือข่ายของระบบนิเวศอยู่ อย่างที่รู้กันดีว่า เครือข่าย Ethereum ได้ชื่อว่าเป็น Open-Source ที่เปิดให้นักพัฒนาเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ จนนำไปสู่การพัฒนาโปรเจกต์ โปรโตคอล และอีกหลายอย่าง ทั้งนี้ การปรับใช้โทเคนหรือ dApps ก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งดึงดูดให้นักลงทุนและผู้ใช้งานเข้ามาร่วมกับเครือข่ายมากขึ้น นำไปสู่การขยายขอบเขตของเครือข่ายที่ใหญ่กว่าเดิม
มีมาตรฐานและการทำงานร่วมกันที่ดี เครือข่าย Ethereum ได้รับการพัฒนาบนมาตรฐานของ ERC-20 และ ERC-721 ซึ่งช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพด้านการทำงานร่วมกันของสินทรัพย์บนเครือข่ายบล็อกเชน และได้รับการยอมรับเป็นวงกว้าง
- กระตุ้นผู้ใช้งานในเครือข่ายให้มีส่วนร่วมในการพัฒนา อย่างที่รู้กันว่าเครือข่าย Ethereum ดำเนินการด้วยเทคโนโลยีอย่าง Smart Contracts กระตุ้นให้ผู้ใช้งานส่วนในการรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย ตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรม พัฒนา dApps รวมทัั้งสร้างความยั่งยืนให้กับระบบนิเวศ
- เปลี่ยนผ่านสู่ Ethereum 2.0 หากการเปลี่ยนผ่านจากการทำงานแบบ PoS สู่ PoW จะช่วยยกระดับด้านการขยายสมรถถนะและขนาดของเครือข่ายและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสียของ Ethereum
- Ethereum เผชิญข้อจำกัดด้านการขยายขนาดของเครือข่าย โดยเฉพาะในช่วงที่มีผู้ใช้งานหนาแน่น ส่งผลให้การตรวจสอบและยืนยันธุรกรรมช้าลง และค่าธรรมเนียมสูง ปัจจุบัน Ethereum รองรับได้เพียงประมาณ 30 ธุรกรรมต่อวินาที (TPS) ซึ่งยังห่างไกลเมื่อเทียบกับระบบชำระเงินแบบดั้งเดิมอย่าง Visa ที่รองรับได้หลายพัน TPS
- ใช้พลังประมวลผลและพลังงานจำนวนมาก เพราะ Ethereum ยังคงใช้กลไก Proof-of-Work (PoW) เช่นเดียวกับ Bitcoin ซึ่งต้องอาศัยการขุด (mining) ผ่านการแก้สมการที่ซับซ้อน ประเด็นนี้ก่อให้เกิดความกังวลด้านสิ่งแวดล้อม และเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเกิดคาร์บอนฟุตพริ้นต์จากการขุดคริปโต
- เผชิญความท้าทายด้านกฎระเบียบ เมื่อ Ethereum และคริปโตเคอร์เรนซีโดยรวมเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ก็ยิ่งถูกจับตามองจากหน่วยงานภาครัฐทั่วโลก กรอบกฎหมายที่ยังไม่ชัดเจนส่งผลให้โครงการต่าง ๆ บน Ethereum ต้องปรับตัวและเผชิญกับความไม่แน่นอนด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
- Ethereum เผชิญการแข่งขันที่รุนแรงจากแพลตฟอร์มอื่นอย่าง Binance Smart Chain, Solana และ Polkadot ซึ่งต่างพัฒนาเครือข่ายให้รองรับธุรกรรมได้มากกว่าและค่าธรรมเนียมถูกลง จุดนี้กลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่าสำหรับทั้งนักพัฒนาและผู้ใช้งาน โดยเฉพาะเมื่อ Ethereum ประสบปัญหาเครือข่ายหนาแน่นในช่วงที่มีการใช้งานสูง
- การพัฒนาแอปพลิเคชันบน Ethereum ถือว่าซับซ้อน โดยเฉพาะนักพัฒนาหน้าใหม่ที่ยังไม่คุ้นเคยกับโครงสร้างระบบและภาษาการเขียนโปรแกรมอย่าง Solidity อีกทั้งการตรวจสอบจุดบกพร่องใน Smart Contract ถือเป็นเรื่องสำคัญ แต่มักต้องใช้ทรัพยากรและเวลาจำนวนมาก
- ยังมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย แม้ Ethereum ถือเป็นเครือข่ายที่มีความปลอดภัยสูง แต่ช่องโหว่ใน Smart Contract ก็นำไปสู่การสูญเสียเงินทุนจำนวนมากได้ ย้อนดูในอดีตพบว่าเคยเกิดเหตุการณ์แฮกและโจมตีบนแพลตฟอร์ม DeFi ที่พัฒนาบน Ethereum อยู่หลายครั้ง ซึ่งทำให้ประเด็นเรื่องความปลอดภัยยังคงเป็นจุดที่ต้องเฝ้าระวังและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

แนวโน้มและอนาคตของ Ethereum
ตามที่กล่าวไปบ้างข้างต้น ปัจจัยที่สนับสนุนการเติบโตของ Ethereum มีทั้งการพัฒนาเครือข่ายอย่างต่อเนื่องอย่างการอัปเกรด Dencun ที่มุ่งเน้นการปรับปรุงความสามารถในการปรับขนาดและลดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรม เป็นต้น
นอกจากนี้ นักลงทุนต่างสนใจเหรียญดังกล่าวเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ประกอบกับการนำ Ethereum ไปใช้ในแอปพลิเคชันต่าง ๆ ก็เป็นแรงผลักดันสำคัญที่อาจส่งผลให้ราคา ETH เพิ่มขึ้นในอนาคต
ทั้งนี้ หากมองถึงแนวโน้มราคาเหรียญ Ethereum ในช่วง 5 ต่อจากนี้ ก็ได้มีการวิเคราะห์ไว้อย่างน่าสนใจ ดังนี้
- 2025 ราคา Ethereum มีโอกาสแตะจุดต่ำสุดที่ 1,532.17 ดอลลาร์สหรัฐฯ และอาจพุ่งขึ้นไปสูงสุดที่ 1,958.62 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ราคาเฉลี่ยในการซื้อขายอยู่ที่ประมาณ 2,385.07 ดอลลาร์สหรัฐฯ ปีนี้ยังคงได้รับแรงหนุนจากการพัฒนาเครือข่ายและความสนใจจากกลุ่มนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง
- 2026 หากอิงข้อมูลราคาย้อนหลัง Ethereum มีแนวโน้มราคาต่ำสุดในปีนี้ โดยจะอยู่ที่ราว ๆ 6,953 ดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ราคาสูงสุดอาจแตะถึง 8,646 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 7,158 ดอลลาร์สหรัฐฯ ถือเป็นปีที่ ETH เริ่มกลับเข้าสู่ช่วงขาขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
- 2027 ผู้เชี่ยวชาญด้านคริปโตคาดว่า Ethereum อาจมีราคาต่ำสุดที่ 9,745 ดอลลาร์สหรัฐฯ และมีแนวโน้มขึ้นไปถึง 12,166 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีราคาค่าเฉลี่ยประมาณ 10,103 ดอลลาร์สหรัฐฯ หากแนวโน้มนี้เป็นจริง ปีนี้อาจกลายเป็นช่วงที่นักลงทุนเริ่มกลับมาเข้าตลาดอย่างจริงจัง
- 2028 อาจมีราคาต่ำสุดอยู่ที่ 14,318 ดอลลาร์สหรัฐฯ และขยับขึ้นไปสูงสุดที่ 16,977 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นอีกหนึ่งปีที่สะท้อนถึงการเติบโตอย่างมั่นคงและมีเสถียรภาพมากขึ้นของสินทรัพย์ดิจิทัลนี้
- 2029 การซื้อขาย Ethereum จะอยู่ในช่วงระหว่าง 21,649 - 25,096 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีราคาค่าเฉลี่ยที่ 22,390 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นระยะยาวและการนำไปใช้งานจริงในภาคส่วนต่าง ๆ ของระบบการเงินแบบ Decentralized
-
2030 เมื่อเข้าสู่ทศวรรษใหม่ ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า Ethereum จะมีราคาค่าเฉลี่ยราว 35,154 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยอาจลงไปต่ำสุดที่ 34,259 ดอลลาร์สหรัฐฯ และพุ่งสูงถึง 38,769 ดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ETH ยังถูกมองว่าเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของ Web 3 และเทคโนโลยีทางการเงินในอนาคต
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนควรตระหนักถึงความผันผวนของตลาดคริปโตเคอร์เรนซีและศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน แม้ว่าแนวโน้มระยะยาวของ Ethereum จะดูเป็นบวก แต่ความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายหรือเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ ก็อาจส่งผลต่อราคาได้เช่นกัน
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Ethereum
-
1 เหรียญ ETH เท่ากับกี่บาท
ตามที่กล่าวไปข้างต้น ราคาเหรียญ ETH หรือสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ๆ ล้วนมีความผันผวนเสมอ ก่อนตัดสินใจลงทุน สามารถเข้ามาอัปเดตราคาเหรียญ EHT/THB กันก่อนได้
-
ETH เคยสูงสุดกี่บาท
Ethereum เคยทำสถิติราคาสูงสุดตลอดกาล (All-Time High) ไว้ที่ 4,721.07 ดอลลาร์สหรัฐฯ โดยราคาดังกล่าวสะท้อนถึงมูลค่าสูงที่สุดที่เคยมีการซื้อขายเหรียญ Ethereum ตั้งแต่มีการเปิดตัวในตลาดคริปโตจนถึงปัจจุบัน
-
Ethereum มีทั้งหมดกี่เหรียญ
จากข้อมูลล่าสุด Ethereum มีราคาซื้อขายอยู่ที่ 3,762.59 ดอลลาร์สหรัฐฯ และยังคงครองอันดับที่ 2 ในระบบนิเวศคริปโตทั้งหมดในปัจจุบัน อีกทั้งมีมูลค่าหมุนเวียนในตลาดรวมกว่า 451,994,509,854.32 ดอลลาร์สหรัฐฯ และมีจำนวนเหรียญหมุนเวียนในระบบอยู่ที่ 120,128,511 ETH
Conclusion
Ethereum ยังคงเป็นหนึ่งในเครือข่ายบล็อกเชนที่มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศคริปโต ด้วยจุดเด่นด้านการรองรับ Smart Contract การพัฒนา dApps ที่ตอบโจทย์เรื่อง Decentralized และการมีระบบเศรษฐกิจของตนเองอย่างสมบูรณ์ แม้จะเผชิญความท้าทายด้านความสามารถในการขยายตัว ค่าธรรมเนียม และการแข่งขันจากเครือข่ายอื่น ๆ แต่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องก็ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ Ethereum เป็นรากฐานสำคัญของ Web3 ในระยะยาว อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนควรติดตามความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีและกฎระเบียบอย่างใกล้ชิด เพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุนอย่างรอบคอบ
คำเตือน
*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
**บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการให้คำแนะนำทางการเงินแต่อย่างใด
อ้างอิง
Share this
- Bitazza Blog (73)
- Crypto Weekly (40)
- DAO (15)
- Beginner (14)
- mission (11)
- ความปลอดภัย (11)
- บล็อกเชน (8)
- Learning Hub (6)
- การค้าขาย (6)
- หัวข้อเด่น (6)
- ตลาด (5)
- วิจัย (5)
- Tether (USDt) (4)
- Campaigns (3)
- Security (3)
- bitcoin (3)
- missions (3)
- เศรษฐศาสตร์ (3)
- Bitazza Insights (2)
- Stablecoin (2)
- Token talk (2)
- Trading (2)
- เกี่ยวกับการสอน (2)
- Crypto รายสัปดาห์ (1)
- Disclosure (1)
- ENJ (1)
- Educational (1)
- Featured (1)
- KYC (1)
- NFTs (1)
- SEC (1)
- TRUMP (1)
- TradingView (1)
- บิทาซซ่าบล็อกส์ (1)