Bitazza Thailand Blog

ติดดอย คืออะไร? คู่มือฉุกเฉินสำหรับนักลงทุน

เขียนโดย Bitazza Team - 30 เม.ย. 2025, 14:41:29

 

ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนมือใหม่หรือแม้กระทั่งอยู่ในวงการมาสักพัก คงต้องเคยได้ยินคำว่า “ติดดอย” ผ่านหูกันมาบ้าง ซึ่ง “ติดดอย” ไม่ใช่การที่ติดอยู่บนยอดภูเขาแต่อย่างใด แต่เป็นสถานการณ์ที่นักลงทุนต้องเผชิญกับการขาดทุนในตลาดคริปโตจนพอร์ตเกิดความเสียหายนั้นเอง ในบทความนี้จะพาไปรู้จักกับความหมายของ “ติดดอย” ว่าคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร พร้อมวิธีรับมืออย่างมีสติ เพื่อให้ลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมั่นใจอีกครั้ง

 

ติดดอย คืออะไร?

“ติดดอย” คือ ศัพท์แสลงที่ใช้เรียกสถานการณ์ที่นักลงทุนมีการซื้อสินทรัพย์ในราคาสูง ก่อนที่ราคาจะร่วงลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องถือครองไว้แบบจำใจโดยไม่รู้ว่าราคาจะฟื้นตัวเมื่อไหร่

 

 

ติดดอยในตลาดคริปโตหมายถึงอะไร?

สำหรับตลาดคริปโต “ติดดอย” หมายถึง การที่ซื้อเหรียญในราคาที่สูงสุด All Time High (ATH) หรือใกล้จุดพีคของตลาด ก่อนที่ราคาจะดิ่งลงอย่างรุนแรง ทำให้หลายคนต้องถือเหรียญไว้โดยไม่สามารถขายทำกำไรได้ หรือหากขายได้ ก็มักจะขาดทุนอย่างสาหัส

 

 

ปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนติดดอยในคริปโต

มีหลายปัจจัยที่ทำให้พอร์ตของนักลงทุนหลาย ๆ คนติดดอย เช่น

  1. การซื้อเหรียญตามกระแส (FOMO): เมื่อกระแสของเหรียญคริปโตกำลังมาแรง เทรดเดอร์มักถูกชักจูงจากข่าวบนโซเชียลมีเดียหรือกลุ่มนักลงทุนกันเองที่สามารถทำกำไรได้ ทำให้เกิดความรู้สึกว่ากลัวตกเทรนด์ กลัวพลาดโอกาส เลยต้องรีบซื้อเหรียญตามกระแส
  2. การขาดความรู้: การลงทุนโดยไม่ศึกษาข้อมูลของคริปโตให้รอบคอบ หรือหลงเชื่อข่าวที่เกินจริง รวมถึงการตกเป็นเหยื่อของกลยุทธ์ปั่นราคาต่าง ๆ ทำให้ซื้อเหรียญในช่วงราคาที่สูงเกินความเป็นจริง ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด
  3. การซื้อในช่วงตลาดคริปโตขาขึ้น: เมื่อตลาดอยู่ในช่วงขาขึ้น (Bull Market) โดยราคาเหรียญพุ่งขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง นักเทรดมักมั่นใจและเชื่อว่าราคาจะขึ้นสูงอีก จึงไม่อยากพลาดโอกาสในการกำไรและรีบซื้อเหรียญโดยไม่ดูแนวโน้มของตลาดในระยะยาว 
  4. ความคาดหวังสูง: นักลงทุนบางคนเชื่อว่าเหรียญที่ถืออยู่จะกลับไปทำราคาสูงเท่าเดิม ซึ่งถือเป็นการมองโลกในแง่ดีเกินไป จนเกิดความผูกพันธ์ทางอารมณ์ทำให้ถือครองสินทรัพย์ไว้นาน นำมาสู่ผลกระทบทางการเงินในท้ายที่สุด
  5. การขาดความอดทน: เทรดเดอร์บางคนซื้อขายคริปโตแบบใช้อารมณ์นำเหตุผล โดยไม่มีการวางแผนการลงทุนที่ชัดเจน ส่งผลให้พลาดโอกาสในการซื้อขายในจังหวะที่เหมาะสม

 

 

ตัวอย่างเคสติดดอยในตลาดคริปโต

  • เหตุการณ์ของเหรียญ Shiba Inu ในปี 2021

Shiba Inu เป็นเหรียญที่ได้รับความสนใจและความนิยมอย่างมากในช่วงเดือนตุลาคมปี 2021 จึงทำให้เทรดเดอร์จำนวนมากรีบซื้อเหรียญในช่วงราคาที่พุ่งทะยานแบบ Skyrocket ไปถึง $0.00008616 หลังจากนั้นเหรียญ Shiba ก็ประสบกับปัญหาราคาดิ่งลงอย่างรุนแรง ส่งผลให้นักลงทุนหลายคนติดดอย ขาดทุน และไม่สามารถขายเหรียญที่ซื้อไว้ได้ทันเวลา ปัจจุบันราคาของเหรียญ Shiba Inu ยังคงไม่สามารถกลับไปทำราคาสูงเท่ากับปี 2021 ได้อีก

 

 

วิธีเอาตัวรอดเมื่อคุณติดดอยในคริปโต

  • ถือยาว (HODL)

กลยุทธ์การ HODL นี้นับว่าเป็นแนวคิดแบบ “ไม่ขายไม่ขาดทุน” คือ การถือครองสินทรัพย์ระยะยาวแบบไม่ขาย เพราะมีความเชื่อมั่นในศักยภาพระยะยาวของโครงการ ถึงแม้ว่าตลาดจะผันผวนแค่ไหนก็ตาม ซึ่งหากเหรียญมีพื้นฐานที่ดี การถือยาวอาจช่วยให้พอร์ตฟื้นตัวเมื่อมูลค่ากลับมาได้ 

  • ถัวเฉลี่ยต้นทุน (DCA - Dollar Cost Averaging)

การลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน เป็นกลยุทธ์ที่นักเทรดจะค่อย ๆ ทยอยซื้อสินทรัพย์เมื่อราคาลง เพื่อลดต้นทุนเฉลี่ยและผลกระทบจากความผันผวนของตลาด อีกทั้งยังเป็นการสร้างวินัยในการลงทุน ซึ่งสำหรับวิธีนี้ นักลงทุนควรมีเงินเย็นสำรองและความรู้ในเรื่องกราฟราคาก่อนใช้กลยุทธ์นี้ ที่จะช่วยคืนทุนได้เร็วขึ้นเมื่อตลาดฟื้นตัว

  • ตั้ง Stop-Loss และ Cut Loss

    • การตั้ง Stop-Loss: เป็นการกำหนดจุดขาดทุน ให้หยุดขาดทุน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเพิ่มขึ้น หากราคาของเหรียญลดลงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเป็นการช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดพอร์ตแตก
    • การ Cut Loss: กลยุทธ์ที่นักเทรดต้องตัดใจขายเหรียญที่ขาดทุน เพื่อปกป้องเงินทุนที่เหลือ โดยการรอช้อนซื้อในราคาที่ต่ำกว่าหรือนำเงินไปลงทุนในเหรียญที่มีศักยภาพในการเติบโตมากกว่าได้

  • ใช้ประโยชน์จาก Staking หรือ Yield Farming

สำหรับคริปโตในกลุ่ม DeFi เช่น Ethereum (ETH), MakerDao (MKR) และ Uniswap (UNI) คือ การนำเหรียญไปค้ำประกันเพื่อช่วยตรวจสอบธุรกรรม และรับผลตอบแทน ส่วน Yield Farming เหรียญ คือการฝากเหรียญบนแพลตฟอร์ม DeFi เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับ DeFi นั้น ๆ และรับผลตอบแทนจากค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้น

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการติดดอยในคริปโต

  • Cut loss คืออะไร

Cut Loss คือ การที่ตัดสินใจขายสินทรัพย์ถึงแม้จะขาดทุน นับเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่เปรียบเสมือนการตัดไฟตั้งแต่ต้นลม เพื่อป้องกันไม่ให้ติดดอยและขาดทุนมากขึ้นไปอีก เพราะหากขายเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมนั้นย่อมดีกว่าปล่อยให้พอร์ตพังยับเยิน ซึ่งทำให้สามารถไปลงทุนในสินทรัพย์อื่น ๆ ที่มีแนวโน้มว่าจะผลตอบแทนที่ดีกว่าได้

  • ติดดอยควรทำอย่างไร

หากนักเทรดติดดอยในคริปโต ควรลงจากดอยให้เร็วที่สุด โดยมีวิธีการรับมือสำหรับนักลงทุนหลากหลายทางเลือก ไม่ว่าจะเป็นการ HODL ถือเหรียญยาวเพื่อรอการฟื้นตัว, การตั้ง Stop Loss เพื่อลดความเสี่ยงจากราคาที่ลงต่อเนื่อง, Cut Loss เพื่อไม่ให้ขาดทุนเพิ่มขึ้น, Staking หรือ Yield Farming เพื่อสร้างผลตอบแทน และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการ ตัดสินใจโดยใช้เหตุผล ไม่ใช่อารมณ์ เพราะเมื่อติดดอย นักลงทุนควรอาจมีความกลัวมากเกินไป จึงต้องรักษาสติ วิเคราะห์สถานการณ์อย่างรอบคอบ และใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ เพื่อลดความเสี่ยงในการขาดทุนเพิ่มเติม 

  • ถ้าเหรียญที่เราถืออยู่อาจเป็นเหรียญ Scam ควรทำอย่างไร

  1. ตรวจสอบข้อมูลของเหรียญอย่างอย่างละเอียด
  2. ติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหว เพื่อดูรายงานว่าเป็น Scam จริงหรือไม่
  3. หลีกเลี่ยงการลงทุนเพิ่มเติม และพิจารณา Cut Loss หากมีสัญญาณในทางลบที่ชัดเจน เพื่อลดความเสียหาย

 

Conclusion

“ติดดอย” คือเหตุการณ์ที่นักลงทุนหลาย ๆ คนไม่อยากพบเจอ อย่างไรก็ตาม การติดดอยไม่ใช่จุดจบของการลงทุนในโลกคริปโต แต่นับเป็นบทเรียนล้ำค้าที่สอนให้รู้จักการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ และไม่หลงเชื่อข่าวตามกระแส นักลงทุนที่ฉลาดจะใช้ประสบการณ์จากการติดดอยเป็นโอกาสในการเรียนรู้ วางแผน และพัฒนากลยุทธ์ในการลงทุน ดังนั้น การศึกษาข้อมูลให้ลึกซึ้ง การวางแผนบริการความเสี่ยงจะสามารถช่วยให้เทรดเดอร์หลีกเลี่ยงการติดดอย และสามารถลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต

 

 

คำเตือน

*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
**บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการให้คำแนะนำทางการเงินแต่อย่างใด

 

อ้างอิง