Share this
Liquidity คือ อะไร ทำความเข้าใจเรื่องสภาพคล่องในการลงทุน Crypto

เมื่อพูดถึงการลงทุนแล้ว Liquidity หรือสภาพคล่อง ถือเป็นอีกเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจ โดยเฉพาะ Liquidity ในตลาดคริปโต บทความนี้จะพามาเจาะลึกว่า Liquidity คืออะไร มีอะไรบ้าง แล้ว Liquidity ในตลาดคริปโตเป็นแบบไหน ส่งผลอย่างไร ตลอดจน Liquidity Pool และกลไกการทำงาน
Liquidity คืออะไร?
Liquidity คือ สภาพคล่องที่ช่วยชี้วัดว่าสินทรัพย์ใดจะนำไปแลกเปลี่ยนหรือเปลี่ยนเป็นเงินสดพร้อมใช้ได้ โดยไม่กระทบต่อมูลค่า ทั้งนี้ สินทรัพย์ที่ได้ชื่อว่ามีสภาพคล่องสูงที่สุดก็คือ “เงินสด” โดยอัตราส่วนเงินสด การเปลี่ยนมาเป็นเงินสดได้เร็ว และถูกนำมาใช้แลกเปลี่ยนเป็นเงินสดในปัจจุบันนั้น ล้วนเป็นปัจจัยชี้วัดว่าสินทรัพย์ตัวใดมีสภาพคล่องในปัจจุบัน

ประเภทของ Liquidity
โดยทั่วไปแล้ว Liquidity ยังแบ่งประเภทออกตามกลไกการทำงาน ซึ่งมีนิยามความหมายแตกต่างกัน ดังนี้
- Market Liquidity (สภาพคล่องของตลาด) คือ ความสามารถหรือสภาพคล่องของตลาดที่ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ได้อย่างสะดวก ไม่เกิดการผันแปรของมูลค่าเปรียบเทียบของสินทรัพย์ทั้งสองอย่างที่นำมาแลกเปลี่ยน ส่งผลให้ภาพรวมของตลาดทั้งหมดเกิดสภาพคล่อง เช่น ตลาดหุ้นของสหรัฐฯ ได้ชื่อว่าเป็นตลาดลงทุนที่มีสภาพคล่องสูงที่สุด โดยภายในตลาดนั้นอาจมีหุ้นบางตัวที่มีสภาพคล่องมากกว่าหุ้นตัวอื่น เป็นต้น
- Accounting Liquidity (สภาพคล่องทางบัญชี) คือ เครื่องมือวัดสภาพคล่องของบุคคลหรือบริษัท ทั้งในแง่ของหนี้สินหรือภาระผูกพันทางการเงินกับสภาพคล่องของสินทรัพย์ที่ครอบครอง เพื่อดูว่าบุคคลหรือบริษัทนั้นมีความสามารถในการชำระหนี้สินได้ตรงตามเวลาหรือไม่ หากมองในมุมของการลงทุนแล้ว การประเมินสภาพคล่องทางบัญชีนั้นเปรียบสภาพคล่องของสินทรัพย์ที่ลงทุนเป็นหนี้หมุนเวียนหรือภาระผูกพันที่มีระยะเวลากำหนดครบภายในหนึ่งปี
- Funding Liquidity (สภาพคล่องทางเงินทุน) คือ ตัวบ่งชี้ว่าสถาบันการเงินหรือบุคคลสามารถถือครองหรือเข้าถึงเงินสดหรือสินทรัพย์อื่นที่มีสภาพคล่อง เพื่อนำมาชำระหนี้สินหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ หรือไม่

Liquidity ในตลาดคริปโต คืออะไร
หากมองกันในตลาดลงทุนคริปโตเคอร์เรนซี่แล้วนั้น Liquidity คือ ตัวชี้วัดสภาพคล่องว่าเงินคริปโตฯ เหรียญไหนจะแปลงค่าเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลหรือเงินสดได้ โดยปราศจากผลกระทบทางด้านมูลค่าและปัจจัยอื่น
นอกจากนี้ หากตลาดคริปโตหรือสินทรัพย์ดิจิทัลอื่นเกิดสภาพคล่องสูงเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้เงินคริปโตและสินทรัพย์นั้นเกิดความเสถียรมากขึ้น ในขณะที่ความผันผวนน้อยลง
Liquidity Pool คืออะไร?
Liquidity Pool คือ Smart Contracts ที่เก็บโทเคนไว้ตั้งแต่ 2 โทเคน หรือมากกว่านั้น ซึ่งนักลงทุนสามารถซื้อขายโทเคนเหล่านั้นได้ ประโยชน์ของ Liquidity Pool คือช่วยให้ผู้คนซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนเงินดิจิทัลได้ โดยไม่ต้องอาศัยผู้ซื้อ-ผู้ขายตามแบบการลงทุนดั้งเดิม เพราะใช้ระบบ AMM ที่ช่วยจัดการธุรกรรมแลกเปลี่ยนดังกล่าวอัตโนมัติ
Liquidity Provider คืออะไร?
Liquidity Providers คือ ผู้ใช้งานที่ฝากโทเคนเข้าไปใน Liquidity Pools โดยจะได้รับ Liquidity Tokens กลับมา รวมทั้งส่วนแบ่งจากค่าธรรมเนียมทำธุรกรรมที่เกิดการซื้อขายภายใน Pool นั้น โดยค่าธรรมเนียมดังกล่าวถือเป็นค่าตอบแทนซึ่งชดเชยความเสี่ยงจากการขาดทุนชั่วคราวหรือ Impermanent Loss

ทำไม Liquidity ถึงสำคัญต่อการเทรดคริปโต?
ตามที่กล่าวไปข้างต้น ตลาดคริปโตล้วนมีปัจจัยขึ้นอยู่กับสภาพคล่อง หากสภาพคล่องในตลาดสูงก็ยิ่งลดความเสี่ยงในการลงทุนให้ลดลง ช่วยให้นักลงทุนหากลยุทธ์ในการลงทุนได้ดี รวมทั้งเปิดโอกาสให้คนเข้าถึงการครอบครองและขายสินทรัพย์ของตนได้
- การส่งผลต่อราคาตลาด (Price Impact) หากตลาดมีสภาพคล่องแล้ว ย่อมทำให้นักลงทุน สถาบันการเงิน นักเก็งกำไร หรือบุคคลและสถาบันอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องในตลาดลงทุนสินทรัพย์นั้นเกิดความเชื่อถือในมูลค่าสินทรัพย์ของตลาดคริปโต เพราะต้องยอมรับว่า ปัจจุบันคริปโตเคอร์เรนซี่ถือเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลเกิดใหม่จากการพัฒนาของเทคโนโลยีใหม่ที่ยังขาดการกำกับดูแลอย่างเป็นระบบ อีกทั้งเสี่ยงถูกโจมตีสูง หากแต่สินทรัพย์ดิจิทัลที่มีสภาพคล่องอย่างบิตคอยน์หรืออีเธอเรียมนั้น ส่งผลให้การควบคุมราคาในตลาดด้วยคนคนเดียวกลายเป็นเรื่องยากขึ้น
- ความผันผวนของราคา (Volatility) และ Liquidity ตลาดคริปโตที่มีสภาพคล่องสูงจะส่งผลให้ภาพรวมตลาดเสถียรและเกิดความผันผวนน้อยลง เพราะผู้คนต่างซื้อและขายสินทรัพย์ได้ตามกลไกตลาด และเมื่อผู้คนต่างซื้อขายสินทรัพย์ได้แบบนี้ นั่นหมายความว่า ผู้คนต่างเปิดและปิดสถานะการลงทุนได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ Slippage และความผันผวนของราคาน้อยลง
- ความเร็วในการทำธุรกรรมและสภาพคล่อง เมื่อคนเข้ามาลงทุนมากขึ้น ย่อมทำให้ตลาดเกิดสภาพคล่องมากขึ้น และเมื่อตลาดมีสภาพคล่องมาก ย่อมทำให้เกิดข้อมูลและการกระจายข้อมูลตลาดไปยังนักลงทุนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้นักเทรดวิเคราะห์ตลาดได้ดีขึ้น คาดการณ์ได้แม่นยำขึ้น รวมทั้งตัดสินใจลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ได้ทันท่วงที
ผลตอบแทนจากการเพิ่มสภาพคล่อง (Yield Farming)
อย่างที่หลายคนรู้กันดีว่า Marketplace ต่าง ๆ มักมีวิธีเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบนิเวศน์หรือ Pool ของตัวเองหลากหลายแบบ โดยหนึ่งในนั้นก็คือการทำ Yield Farming ซึ่งเป็นที่นิยมในหลายโปรโตคอล
การทำ Yield Farming คือมอบ Incentives ให้แก่ผู้ใช้งาน เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานทำ Staking เหรียญคริปโต เพื่อรับรีวอร์ด นอกจากนี้ Yield Farming ช่วยให้ Liquidity Providers ได้รับผลตอบแทนมากขึ้นด้วย

ความเสี่ยงของ Impermanent Loss ในตลาดคริปโต
โดยทั่วไปแล้ว การขาดทุนชั่วคราวหรือ Impermanent Loss มักเกิดขึ้นเมื่อราคาของโทเคนใน Pool เปลี่ยนแปลง โดยเปรียบเทียบราคากับตอนที่ฝากเหรียญเข้ามาใน Pool ยิ่งมูลค่าเปลี่ยนไปมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเสี่ยงเกิดการขาดทุนหรือ Loss มากขึ้นหากเทียบกับการถือเหรียญไว้นอก Pool
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Liquidity ในคริปโต
นอกจากเรื่องแนวคิดของ Liquidity การสร้างสภาพคล่องในบริบทของตลาดคริปโตมักมีคำถามเกี่ยวกับประเด็นเกี่ยวเนื่องอื่น ๆ ด้วย ดังนี้
-
Yield Farming ปลอดภัยหรือไม่?
จริง ๆ แล้ว ต้องยอมรับว่าการทำ Yield Farming ไม่ได้รับประกันความปลอดภัย 100% สิ่งสำคัญคือ ต้องทำความเข้าใจวิธีการเพิ่มสภาพคล่องนี้ควบคู่กันไป เพราะ Yield Farming เอง ก็เสี่ยงเผชิญความผันผวนของมูลค่าสินทรัพย์ เจอการขาดทุนชั่วคราว และเสี่ยงเจอภัยคุกคามทางไซเบอร์
-
Liquidity Pool ในคริปโตทำงานอย่างไร?
เดิมที Liquidity Pool ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้มีสภาพคล่องต่อเนื่องสำหรับนักเทรดและ Liquidity Provider เพื่อดึงดูดให้เกิดการฝากเหรียญใน Pool และมอบผลตอบแทนในรูปของค่าธรรมเนียมธุรกรรม ส่วนการรักษามูลค่าสินทรัพย์ให้สมดุลนั้นจะถูกควบคุมด้วยอัลกอริธึมชื่อว่า Automated Market Maker หรือ AMMs
Liquidity หรือสภาพคล่อง ถือเป็นอีกหนึ่งชี้วัดมูลค่าการแลกเปลี่ยนของสินทรัพย์ หากว่ากันในบริบทของตลาดคริปโตหรือตลาดลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลแล้ว Liquidity จะช่วยให้ภาพรวมตลาดเสถียรขึ้น และเกิดความผันผวนของมูลค่าสินทรัพย์น้อยลง ซึ่งนำมาสู่การเกิด Liquidity Pool ในตลาดคริปโต ซึ่งมีลักษณะการเทรดและรับผลตอบแทนเฉพาะตัว แตกต่างจากการลงทุนแบบดั้งเดิม ถึงอย่างนั้น ทุกการลงทุนล้วนมีความเสี่ยง นักลงทุนและผู้สนใจเข้าร่วม Liquidity Pool จำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจแนวคิดดังกล่าว รวมทั้งติดตามข้อมูลข่าวสารความเคลื่อนไหวของตลาดสม่ำเสมอ เพื่อใช้เป็นวิจารณญาณประกอชการตัดสินใจลงทุน
คำเตือน
*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
**บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการให้คำแนะนำทางการเงินแต่อย่างใด
อ้างอิง
Share this
- Bitazza Blog (38)
- Crypto Weekly (33)
- DAO (15)
- Beginner (14)
- mission (11)
- ความปลอดภัย (11)
- บล็อกเชน (8)
- Learning Hub (6)
- การค้าขาย (6)
- หัวข้อเด่น (6)
- ตลาด (5)
- วิจัย (5)
- Security (3)
- missions (3)
- เศรษฐศาสตร์ (3)
- Bitazza Insights (2)
- Tether (USDt) (2)
- Token talk (2)
- Trading (2)
- เกี่ยวกับการสอน (2)
- Campaigns (1)
- Crypto รายสัปดาห์ (1)
- Disclosure (1)
- Educational (1)
- Featured (1)
- TradingView (1)
- บิทาซซ่าบล็อกส์ (1)