Share this
เปลี่ยนโลกการลงทุนด้วย DeFi ระบบการเงินในยุคใหม่ที่ไร้ตัวกลาง

เคยสงสัยกันหรือไม่ ว่าโลกของเราจะเป็นยังไงถ้าระบบการเงินโลกไม่มีธนาคารหรือสถาบันการเงินมาเป็นตัวกลางในการทำธุรกรรม การเงินแบบดั้งเดิมอาจเคยเป็นทางเลือกเดียวในการทำธุกรกรรม แต่ทุกวันนี้เรามีทางเลือกใหม่ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างง่ายดายและสะดวกสบาย โดยไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางอย่างธนาคาร นั่นก็คือ “DeFi” หรือระบบการเงินไร้ศูนย์กลางที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการทำธุรกรรมทางการเงินนั่นเอง บทความนี้จะพามาหาคำตอบว่า DeFi คืออะไร มีบทบาทในโลกของการเงินของเราอย่างไร และมีแนวโน้มอย่างไรในอนาคต
DeFi คืออะไร?
DeFi (Decentralized finance) หรือ ระบบการเงินที่ไร้ศูนย์กลาง คือ ระบบการเงินที่สร้างขึ้นมาจากเทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อสร้างระบบการเงินแบบที่ไม่มีการควบคุมจากศูนย์กลาง โดยได้มีการเปิดให้นักลงทุน นักธุรกิจ และผู้ใช้งานทั่วไปสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินต่าง ๆ ได้อย่างสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็น การกู้ยืม การให้ยืม การลงทุน การซื้อขายหรือการแลกเปลี่ยน โดยที่ไม่ต้องทำรายการผ่านบุคคลที่สามหรือธนาคารเหมือนระบบการเงินแบบดั้งเดิม ที่ปกติแล้วจะมีตัวกลาง เช่น ธนาคาร หรือหน่วยงานที่ควบคุมการทำธุรกรรมต่าง ๆ ขณะลงทุน
เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลัง DeFi
DeFi เป็นระบบการเงินที่ถูกเขียนขึ้นมาจากบล็อกเชน ที่ทำงานร่วมกับสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) พร้อมกับ Oracles ที่ช่วยเชื่อมต่อข้อมูลจากโลกภายนอก โดยเทคโนโลยีเหล่านี้ทำงานร่วมกันเพื่อทำให้การทำธุรกรรมเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องพึ่งพาตัวกลาง มาดูกันว่าเทคโนโลยีทั้ง 3 นี้คืออะไร และทำหน้าที่อย่างไรต่อ DeFi บ้าง

บล็อกเชน (Blockchain) คืออะไร?
บล็อกเชน (Blockchain) คือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ที่มีฐานข้อมูลแบบกระจาย ถูกจัดเก็บเป็นบล็อก ๆ เชื่อมต่อกันผ่านอินเตอร์เน็ต โดยข้อมูลจะถูกจัดเก็บและเรียงต่อกันเป็นห่วงโซ่ ทำให้มีความซับซ้อนและมีความปลอดภัยสูง ซึ่งข้อมูลที่ถูกจัดเก็บชุดนั้น ๆ จะต้องเป็นข้อมูลชุดเดียวกัน และมีความถูกต้องตรงกันทั้งหมด ถึงจะสามารถใช้งานข้อมูลเหล่านี้ได้ พูดง่าย ๆ คือ ถ้ามีข้อมูลชุดใดชุดหนึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลชุดอื่น ๆ ที่เชื่อมต่อกันก็จะถูกเปลี่ยนแปลงไปด้วย ทำให้บล็อกเชนเกิดการปลอมแปลงข้อมูลได้ยาก และมีความปลอดภัยสูง เทคโนโลยีบล็อกเชนได้ถูกนำมาใช้ดูแลสกุลเงินดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น บิทคอยน์ หรือคริปโต นอกจากนี้ยังถูกนำไปใช้งานอย่างการละทะเบียนข้อมูลทรัพย์สิน หรือการทำสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) อีกด้วย

Smart Contract คืออะไร?
Smart Contract หรือสัญญาอัจฉริยะ คือ สัญญาดิจิทัลที่ถูกเขียนไว้ในระบบบล็อกเชน มักถูกนำมาใช้ในการจัดการสัญญาต่าง ๆ ระบบจะทำการจัดการข้อมูลและเงื่อนไขตามที่เราได้ระบุไว้ในสัญญาที่ได้เขียนไป โดยสัญญานั้นจะถูกจัดการแบบอัตโนมัติ โดยที่เราไม่จำเป็นจะต้องพึ่งพาตัวกลางหรือบุคคลที่สาม เช่น หากมีการเขียนสัญญาเอาไว้ว่าจะต้องมีการโอนเงินเข้าระบบเมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนด ทางระบบก็จะจัดการสัญญานี้ให้เองโดยที่บุคคลที่สามไม่ต้องเข้าไปยุ่งเกี่ยวใด ๆ ทั้งสิ้น
Oracles และการเชื่อมโยงข้อมูลภายนอก
Oracles ทำหน้าที่เหมือนเป็นจิ๊กซอว์ที่เชื่อมต่อข้อมูลภายนอกกับบล็อกเชนเข้าด้วยกัน เพราะโดยทั่วไปแล้ว ข้อมูลภายนอกจะไม่สามารถเชื่อมต่อเข้ากับบล็อกเชนได้ ทำให้ไม่สามารถที่จะดึงข้อมูลจากโลกภายนอกเครือข่ายให้เข้ามาในบล็อกเชนได้ เช่น ข้อมูลของราคาตลาด หรือตัวชี้วัดข้อมูลแบบเรียลไทม์ ถ้าไม่สามารถดึงข้อมูลเหล่านี้เข้ามาได้ ก็จะส่งผลให้สัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ ดังนั้น Oracles จึงถือว่าเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่ทำให้กลไกการทำงานของบล็อกเชนทำงานได้ราบรื่นขึ้น
ทำไม DeFi ถึงสำคัญ?
DeFi เป็นระบบการเงินรูปแบบใหม่ ที่ทันสมัยและช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเราได้มากกว่าระบบการเงินแบบดั้งเดิม ถือว่าเป็นตัวเลือกใหม่ ๆ ในการทำธุรกรรมทางการเงินให้กับเราได้ ซึ่งความสำคัญของ DeFi มีอยู่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น
- การลดการพึ่งพาตัวกลางทางการเงิน: เนื่องจากการทำธุรกรรมทางการเงินแบบ DeFi เป็นระบบการเงินแบบที่ไร้ตัวกลาง จึงสามารถที่จะลดขั้นตอนและความซับซ้อนได้ ผู้ใช้งานสามารถทำธุรกรรมโดยตรงเองได้เลย เพียงแค่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ ก็สามารถทำธุรกรรมได้ทั่วทุกมุมโลก
- ความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูล: อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า DeFi เป็นระบบการเงินที่สร้างขึ้นมาจากเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งชุดข้อมูลของบล็อกเชน จะเป็นข้อมูลชุดเดียวกันในการทำงาน หากมีความเปลี่ยนแปลงข้อมูลชุดใดชุดหนึ่งไป ข้อมูลชุดอื่น ๆ ก็จะต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย นั่นหมายความว่า ทุกคนจะสามารถรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้น DeFi จึงมีความโปร่งใสต่อการเปิดเผยข้อมูลชุดนั้น ๆ ต่อผู้ใช้งาน
- การสร้างโอกาสทางการเงินให้กับทุกคน: หากพูดถึงการใช้บริการทางการเงินในรูปแบบอื่น ๆ แน่นอนว่าบางรูปแบบอาจจำเป็นจะต้องมีเครดิตทางการเงินที่ดีในการใช้บริการ เช่น การสมัครบัตรเครดิต ผู้ใช้บริการจะต้องมีเงินเดือนขั้นต่ำตามที่ธนาคารกำหนด และมีระยะเวลาตามเงื่อนไขของธนาคาร แต่ผู้ใช้บริการ DeFi ไม่จำเป็นที่จะต้องมีบัญชีธนาคารและมีเครดิตที่ดี ก็สามารถใช้ DeFi ได้เลยทันที

วิธีการทำงานของ DeFi
-
การให้ยืม (Lending) และการกู้ยืม (Borrowing)
- การให้ยืม : ผู้ใช้งานสามารถให้ยืมสกุลเงินดิจิทัลที่ตัวเองมีอยู่ได้ โดยเลือกแพลตฟอร์มหรือเหรียญที่ต้องการจะให้ยืม จากนั้นสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) จะเข้ามาจัดการธุรกรรมทั้งหมด และผู้ให้ยืมจะได้รับดอกเบี้ยที่สูงกว่าธนาคาร เนื่องจากไม่มีบุคคลที่สามมาเป็นตัวกลางในการหักภาษีหรือคิดค่าธรรมเนียมจากการใช้บริการ
- การกู้ยืม : ผู้ใช้สามารถกู้ยืมสินทรัพย์ดิจิทัลจากผู้อื่นเพื่อนำไปลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ ได้ โดยที่ยังคงสามารถถือครองทรัพย์สินของตัวเองไว้ และไม่จำเป็นต้องเอาทรัพย์สินของตัวเองที่ถือไว้ไปลงทุนในส่วนอื่น ๆ
-
การซื้อขายแบบ Decentralized (DEX)
การซื้อขายแบบ Decentralized หรือ DEX (Decentralized Exchange) เป็นการซื้อขายแบบไม่พึ่งพาตัวกลางในการขาย ไม่ว่าจะเป็น โบรกเกอร์ นักลงทุน นายหน้า หรือธนาคาร แต่ใช้สัญญาอัจฉริยะเป็นตัวช่วยในการซื้อขายทรัพย์สินนั้น ๆ
-
การให้ผลตอบแทนผ่าน Yield Farming และ Staking
Yield Farming และ Staking มีความคล้ายกันอยู่ แต่การให้ผลตอบแทนใน DeFi แบบ Yield Farming จะมีความซับซ้อนและความเสี่ยงค่อนข้างสูงกว่า เนื่องจากเป็นการสร้างผลตอบแทนด้วยการฝากทรัพย์สินในสภาพคล่อง เพื่อที่จะให้ได้ผลตอบแทนแบบสูง ซึ่ง Yield Farming จะมีการใช้สัญญาอัจฉริยะเข้ามาเป็นตัวช่วยในเรื่องของการรับผลตอบแทนด้วย ซึ่งการใช้งาน DeFi ในไทยมักจะเป็นการรับผลตอบแทนเป็นแบบ Farming มากกว่า Staking แต่ Staking จะมีความปลอดภัยสูงกว่า เนื่องจากเป็นการลงทุนจากสิ่งที่มีอยู่ในกระเป๋าของตัวเองเท่านั้น ไม่สามารถใช้เงินที่อยู่ในสภาพคล่องมาใช้ฝากได้ ดังนั้น ข้อดีของ Staking อีกอย่างคือสามารถช่วยสร้างความมั่นคงของระบบไว้ได้
-
การสร้าง Stablecoin ในระบบ DeFi
Stablecoin เป็นเหรียญดิจิทัลที่มีการออกแบบให้มูลค่าของเหรียญมีความเสถียร มักจะถูกผูกติดอยู่กับค่าเงินที่มีความเสถียรสูง เช่น สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยจะมีการออกแบบไม่ให้มีการแปรผันมาก เพื่อที่จะสามารถรักษาความเสถียรของเหรียญเอาไว้ได้ ซึ่งการจะสร้าง Stablecoin ใน DeFi นั้นมีความซับซ้อนอยู่มาก ผู้ใช้งานสามารถใช้สัญญาอัจฉริยะมาช่วยควบคุมการสร้างและการแลกเปลี่ยนเหรียญ นอกจากนี้การใช้สัญญาอัจฉริยะยังเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการสร้างความปลอดภัยและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อีกด้วย

ประโยช์ของการใช้ DeFi
- ความยืดหยุ่นในการใช้งาน สามารถทำธุรกรรมได้จากทุกที่ทั่วโลก เพียงแค่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
- ลดค่าใช้จ่ายในการทำธุรกรรมได้ การทำธุกรกรรมแบบไม่ผ่านตัวกลาง จะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการจ่ายค่าธรรมเนียมให้ตัวกลางอย่างธนาคารได้ เช่น ค่าธรรมเนียมจากการถอนเงิน หรือค่าธรรมเนียมจากการโอนเงิน
- ความสะดวกและรวดเร็ว ผู้ใช้งานสามารถทำธุรกรรมผ่าน DeFi ได้เลย โดยที่ไม่ต้องรอการอนุมัติหรือยินยอมจากตัวกลาง ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนซื้อขายในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย
- ต้นทุนต่ำ การทำธุรกรรมที่ไม่ผ่านตัวกลาง ทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายในการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน หรือการโอนเงินไป ซึ่งทำให้สามารถทำธุกรรมในต้นทุนที่ต่ำกว่าระบบการเงินแบบดั้งเดิมได้
ความเสี่ยงและข้อจำกัดของ DeFi
ถึงแม้ว่า DeFi จะมีประโยชน์อยู่มาก มีความปลอดภัยและมีความโปร่งใสต่อการใช้งานสูง ทำให้ยากต่อการปลอมแปลงข้อมูล แต่ DeFi เป็นเทคโนโลยีที่ถูกเขียนขึ้นมาจากโค้ด ดังนั้นย่อมมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดบั๊กหรือข้อผิดพลาดของระบบขึ้น ช่องโหว่เล็ก ๆ นี้อาจส่งผลทำให้ข้อมูลและทรัพย์สินสูญหาย โดยที่อาจไม่สามารถกู้คืนกลับมาได้ รวมไปถึงการแปรผันอย่างรวดเร็วของตลาด อาจทำให้ผู้ใช้บริการสูญเสียทรัพย์สินไปได้จากความไม่แน่นอนของระบบ นอกจากนี้ ความซับซ้อนของข้อมูลอาจทำให้ผู้ใช้บริการไม่สามารถเข้าใจระบบได้ทั้งหมด และอาจมีความเสี่ยงต่อการขาดทุนได้
ตัวอย่าง Platform ยอดนิยม
ระบบ DeFi มีแพลตฟอร์มหลากหลายที่มีหน้าที่เหมือนและแตกต่างกันออกไป เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้ใช้งาน ยกตัวอย่างแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยม เช่น
- Uniswap: แพลตฟอร์มสำหรับการซื้อขายแบบ Decentralized (DEX) ถูกปล่อยออกมาเมื่อพฤศจิกายน ปี 2018 ซึ่งใช้กลไกการแลกเปลี่ยนแบบ AMM (Automated Market Maker)
- Curve Finance: เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มสำหรับการแลกเปลี่ยนซื้อขายแบบ Decentralized (DEX) ซึ่งแพลตฟอร์มนี้จะใช้สำหรับแลกเปลี่ยน Stablecoin ที่มีค่าธรรมเนียมต่ำ และลดความผันผวนของราคาได้
- Aave: เป็นแพลตฟอร์มสำหรับกู้ยืมทรัพย์สินดิจิทัล โดยใช้ระบบสัญญาอัจฉริยะ และมีการให้ผลตอบแทนกับผู้ฝากเงิน

เหรียญ DeFi มีอะไรบ้าง
ปัจจุบันมีเหรียญอยู่หลากหลายประเภทที่สามารถใช้ทำธุรกรรมได้ เหรียญ DeFi มักจะถูกตั้งชื่อตามเครือข่ายในบล็อกเชน หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น
- UNI เหรียญของแพลตฟอร์ม Uniswap ที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนซื้อขาย
- AAVE เหรียญจากแพลตฟอร์มการกู้ยืมทรัพย์สิน Aave
- COMP เหรียญจากแพลตฟอร์มการกู้ยืมและการให้ดอกเบี้ย Compound
- SNX เหรียญจากแพลตฟอร์มที่ใช้ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนทรัพย์สินแบบเสมือน Synthetix
แนวโน้มของ DeFi ในอนาคต
DeFi มีแนวโน้มที่จะเติบโตและพัฒนาอย่างขึ้นแบบรวดเร็ว เพราะเป็นระบบที่เปิดโอกาสให้คนเข้าถึงการใช้บริการทางการเงินที่ง่ายและสะดวก แบบไม่จำเป็นจะต้องทำงานผ่านตัวกลาง และยังสร้างโอกาสให้นักลงทุนได้เข้ามาใช้งานและสร้างกำไรจากการลงทุนอีกด้วย ด้วยเหตุดังกล่าว จึงทำให้ DeFi เป็นที่น่าสนใจจากผู้ใช้งานอย่างมาก โดยในปี 2023 ได้มีการคาดคะเนการเติบโตว่าจะสามารถทำเงินเพิ่มขึ้นจาก 21,3000 ล้าน เป็น 616,1000 ล้านดอลลาร์ภายในปี 2033 ซึ่งถ้าทำได้ ก็จะนับว่าเป็นการเติบโตที่มากกว่าเดิมเกือบ 30 เท่า ภายในเวลาเพียงแค่ 10 ปีเท่านั้น
DeFi ลงทุนยังไง
การลงทุนในระบบ DeFi สามารถทำได้หลายวิธี ผู้ลงทุนอาจยึดจากความต้องการของตนเองเป็นหลักก่อนว่าต้องการลงทุนแบบไหน โดยอาจลงทุนแบบการซื้อเหรียญที่เป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์ม DeFi เช่น การซื้อเหรียญ UNI หรือ AAVE เพื่อเก็บไว้เป็นการลงทุนระยะยาว หรือใช้เหรียญเหล่านี้ในบริการต่าง ๆ ของแพลตฟอร์ม เช่น การให้ยืมเงินหรือการสร้างสภาพคล่องเพื่อรับค่าธรรมเนียม นอกจากนี้ยังสามารถลงทุนในแพลตฟอร์มที่ให้ผลตอบแทนจากการฝากเหรียญ ซึ่งผู้ลงทุนอาจศึกษาเพิ่มเติมต่อในเรื่องของการรับผลประโยชน์ไม่ว่าจะเป็น DeFi Farming หรือ Staking ด้วยก็ได้
DeFi เป็นระบบการเงินที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนและสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) ทำให้ผู้ใช้งานสามารถทำธุรกรรมทางการเงินโดยไม่ต้องพึ่งพาตัวกลาง ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายและลดขั้นตอนที่ซับซ้อนในการทำธุรกรรมได้ อย่างไรก็ตาม DeFi ก็มีความเสี่ยงที่ผู้ใช้งานอาจต้องเจออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น การศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับการลงทุนใน DeFi ก็เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ที่สนใจในระบบการเงินแบบไร้ศูนย์กลางนี้
คำเตือน
*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
**บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการให้คำแนะนำทางการเงินแต่อย่างใด
อ้างอิง
Share this
- Bitazza Blog (111)
- Crypto Weekly (47)
- DAO (15)
- Beginner (14)
- mission (11)
- ความปลอดภัย (11)
- Tether (USDt) (8)
- บล็อกเชน (8)
- bitcoin (7)
- missions (7)
- Learning Hub (6)
- การค้าขาย (6)
- หัวข้อเด่น (6)
- ตลาด (5)
- วิจัย (5)
- Campaigns (3)
- Security (3)
- เศรษฐศาสตร์ (3)
- Bitazza Insights (2)
- Social Features (2)
- Stablecoin (2)
- Token talk (2)
- Trading (2)
- TradingView (2)
- เกี่ยวกับการสอน (2)
- Crypto รายสัปดาห์ (1)
- Disclosure (1)
- ENJ (1)
- Educational (1)
- Featured (1)
- KYC (1)
- NFTs (1)
- SEC (1)
- TRUMP (1)
- บิทาซซ่าบล็อกส์ (1)
Subscribe by email

WAN Coin คืออะไร? เหรียญจาก Wanchain กับโซลูชันเชื่อมต่อบล็อกเชน

NEAR Coin คืออะไร? แพลตฟอร์มบล็อกเชนใช้งานง่ายสำหรับทุกคน

มาเลเซียเปิดตัวฮับสินทรัพย์ดิจิทัล เตรียมทดลอง Stablecoin ผูกเงินริงกิต

DOT Coin คืออะไร? เจาะลึก Polkadot และระบบเชื่อมบล็อกเชนแห่งอนาคต

ส่อง PNUT Coin เหรียญมีมมาแรงบน Solana

TON Coin คืออะไร? ทำความรู้จักเหรียญจาก Telegram และอนาคตของ Web3

รู้จัก NOT Coin คืออะไร? เหรียญไวรัลจาก Telegram ที่กำลังเปลี่ยนเกมคริปโตฯ

BabyDoge คืออะไร? วิเคราะห์อนาคตเหรียญมีมในตลาดคริปโตปี 2025

AAVE คืออะไร? แพลตฟอร์มกู้ยืมในโลก DeFi ที่นักลงทุนต้องรู้
