Share this
CBDC คืออะไร? เงินดิจิทัลจากธนาคารกลางจะมาเปลี่ยนโลกหรือไม่?

นักลงทุนหลาย ๆ ไม่รู้จะวางตัวยังไง เมื่อรู้ว่ารัฐบาลที่กีดกันและออกกฏที่ขัดขวางเหรียญดิจิตอล จะหันมาออกเหรียญดิจิตอลซะเอง ที่สำคัญไม่ได้เป็นแค่ประเทศเดียว ยังมีอีกหลายประเทศที่ธนาคารกลางแห่งประเทศนั้น ๆ ได้ริเริ่มลงทุน วิจัยและพัฒนาในการทำเหรียญดิจิตอล CBDC โดยมีมากถึง 110 ประเทศทั่วโลก ที่มีการวิจัย ศึกษา พัฒนารวมไปถึงใช้งานจริง สำหรับนักลงทุนหลาย ๆ คนอาจสนใจ วันนี้เราพามาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันว่า เหรียญ CBDC คืออะไร และสำคัญอย่างไร มาดูไปพร้อม ๆ กันเลย
CBDC คืออะไร?
เหรียญ CBDC คือ เหรียญดิจิตอลที่สามารถใช้จ่าย ชำระค่าบริการสินค้า รักษามูลค่าได้ มีการใช้งานเหมือนเป็นเงินเฟียตประเภทหนึ่ง อีกทั้งยังได้รับการรับรองการใช้งานได้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่การใช้งานยังอยู่ในวงจำกัด มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่อนุญาตให้ใช้งานในชีวิตประจำวันได้เลย โดยส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะทดสอบเพียงเท่านั้น โดยเหรียญนี้มีการใช้งานไม่ต่างจากเงินสดใด ๆ เลย เพียงแต่มีความต่างตรงที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาเป็นส่วนประกอบอยู่เสมอ

ใครเป็นผู้ออก CBDC?
เจ้าของเหรียญ CBDC คือ รัฐบาลกลางหรือธนาคารกลางแห่งประเทศ โดยชื่อนี้มาจากคำว่า Central Bank Digital Currency (CBDC) จะเห็นได้ว่าเหรียญ CBDC มีการใช้งานแบบเดียวกันกับเงินเฟียตทั่วไป สามารถชำระเงิน จ่ายค่าบริการตามปกติอีกด้วย นอกจากการใช้จ่ายตามปกติแล้ว เหรียญลักษณะนี้ยังเป็นเหรียญที่ธนาคารกลางสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในการชำระเงินได้ อย่าง ธปท. กำลังพัฒนาเหรียญนี้ในโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงิน พัฒนานวัตกรรมทางการเงินให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว รวมถึงรองรับการเขียนโปรแกรม (Programmability) ซึ่งช่วยให้ต้นทุนต่ำ เชื่อมโยงผู้ให้บริการรายอื่นได้อย่างรวดเร็ว ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ นั่นเอง
หลักการทำงานของ CBDC
การทำงานของ CBDC คือ มีการใช้งานเหมือนเงินเฟียตทั่วไป ชำระหนี้ จ่ายค่าบริการ ทำธุรกรรมออนไลน์ได้ เหมือนกับการใช้งาน Mobile Banking ทั่วไป แต่ต่างกันตรงที่มีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ ของเหรียญดิจิตอลมาใช้งานเพื่อทำให้ธุรกรรมโปร่งใส ตรวจสอบได้ ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน รวมไปถึงสามารถออกแบบนวัตกรรมทางการเงินที่สามารถรองรับการใช้สกุลเงินเหล่านี้ได้อีกด้วย
เทคโนโลยีที่ใช้ในการพัฒนา CBDC
การทำงานของระบบ CBDC เป็นการใช้งานระบบบล็อกเชนมาทำธุรกรรมโดยใช้เทคโนโลยี Distributed Ledger Technology มาประมวลผลแบบกระจายศูนย์มาใช้ในเหรียญ เพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมการเงินผ่านธนาคารกลาง หรือการใช้เทคนิค Cryptography ในการเข้ารหัสเพื่อความปลอดภัยของข้อมูลและป้องกันการปลอมแปลง หรือใช้ Smart Contract เพื่อสร้างเงื่อนไข สร้างกฎในการทำธรกรรมได้อย่างอัตโนมัติ เทคโนโลยีต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยให้เหรียญ CBDC มีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และธนาคารควบคุมได้และยังตอบสนองต่อการใช้งานได้อย่างดี

ประเภทของ CBDC
ประเภทของ CBDC สามารถแบ่งได้ตามวัตถุประสงค์ในการใช้งานได้ 2 แบบ คือ Retail CBDC และ Wholesale CBDC โดยการใช้เหรียญดังกล่าวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งาน สร้างความโปร่งใส ตรวจสอบได้ รวดเร็ว และสามารถพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมทางการเงินได้ในอนาคต
-
Retail CBDC คืออะไร?
คือ การทำธุรกรรมขนาดย่อยจากภาคธุรกิจและประชาชน เหมือนกับการใช้จ่ายโอนเงินผ่าน Mobile Banking ที่ใช้กันทั่วไปในชีวิตประจำวัน
-
Wholesale CBDC คืออะไร?
ใช้ทำธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงินด้วยกันเอง (Wholesale CBDC) ไม่ว่าจะเป็นการโอนชำระเงินระหว่างธนาคารในกระบวนการชำระบัญชีแบบไม่ผ่านตัวกลางระหว่างธนาคาร การกระจายศูนย์เพื่อช่วยในการบันทึกธุรกรรม ทำให้ลดระยะเวลาในการประมวลผล เพิ่มความเร็วในการทำธุรกรรม สร้างความโปร่งใส ตรวจสอบได้

ข้อดีของ CBDC
- เพิ่มประสิทธิภาพในการชำระเงิน การลดตัวกลางจะช่วยให้ประสิทธิภาพทางการเงินรวดเร็วมากขึ้น รวมไปถึงการสร้างนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมทางการเงินของผู้ใช้งานทั่วไปนั่นเอง
- เสริมสร้างความมั่นคงทางการเงิน เนื่องจากธุรกรรมมีการเข้ารหัสอย่างปลอดภัย มีการกระจายศูนย์ข้อมูลเพื่อช่วยกันเก็บข้อมูลและป้องกันข้อมูลในอดีตถูกเปลี่ยนแปลงด้วยการเข้ารหัสอย่างปลอดภัยอีกด้วย
- เพิ่มความโปร่งใสในการทำธุรกรรม มีการยืนยันการทำธุรกรรมด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ช่วยให้สามารถตรวจสอบธุรกรรมย้อนหลังได้ง่าย และสร้างความโปร่งใสในการจัดเก็บธุรกรรมที่เกิดขึ้น
ข้อเสียและความเสี่ยงของ CBDC
- ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เนื่องจากเจ้าของข้อมูลยังเป็นของธนาคารกลาง ซึ่งการใช้งานจำเป็นต้องอ้างอิงข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งต่างจากเหรียญคริปโตฯ ที่ไม่สามารถรู้ตัวตนได้
- ผลกระทบต่อธนาคารพาณิชย์ การออกเหรียญลักษณะนี้จำเป็นต้องสร้างระบบที่สามารถรองรับการใช้งานได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเมื่อระบบพัฒนาโดยไม่ผ่านตัวกลางแล้วบทบาทของธนาคารพาณิชย์ในฐานะตัวกลางในการดำเนินการต่าง ๆ อาจได้รับผลกระทบในอนาคตได้
- ปัญหาด้านเทคนิคและความปลอดภัย เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินเพื่อรองรับการใช้งานซับซ้อนมากขึ้น ปัญหาด้านเทคนิคและความปลอดภัยก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ดังนั้นอาจเกิดข้อผิดพลาดขึ้นในระบบจากการใช้งานได้

CBDC เทียบกับ Cryptocurrency และ Stablecoin
CBDC , Cryptocurrency และ Stable Coin เป็นเหรียญดิจิตอลเหมือนกันแต่ก็มีข้อแตกต่าง และเหมือนกันโดยสามารถแบ่งได้ง่าย ๆ ดังนี้
-
ความแตกต่างหลักระหว่าง CBDC และ Cryptocurrency
CBDC และ Cryptocurrency แตกต่างกันอย่างชัดเจน ตั้งแต่ผู้ออกเหรียญ ที่ CBDC เป็นของรัฐบาลหรือธนาคารกลาง มีกฎหมายควบคุมและรองรับการใช้งาน มีการตรึงมูลค่าของเหรียญกับสกุลเงินของประเทศนั้น ๆ นิยมใช้เหมือนเงินสดทั่วไป ควบคุมธุรกรรมโดยธนาคารกลาง โดยเหรียญคริปโตฯ นั้นแตกต่างกันโดยที่ ไม่มีศูนย์กลาง ไม่มีกฎหมายควบคุมและรองรับ มีความผันผวนสูง ใช้เก็งกำไร ซื้อขายใน DeFi ปกปิดตัวตนได้ง่าย
-
CBDC และ Stablecoin: อะไรคือความเหมือนและแตกต่าง?
ความเหมือนของ 2 เหรียญก็คือ เหรียญที่ออกมา มีเจ้าของชัดเจน มักตรึงค่าเงินกับสกุลเงินเฟียตจริง อีกทั้งความเป็นส่วนตัวขึ้นอยู่กับผู้ออกเหรียญเป็นผู้กำหนด และมีกฎหมายรองรับในบางประเทศด้วย
-
การใช้งานจริงของ CBDC และ Cryptocurrency
จะเห็นว่าการใช้งานของเหรียญ CBDC และ Cryptocurrency มีความแตกต่างกัน โดยเหรียญ CBDC จะใช้เหมือนกับการใช้งานแทนเงินสดทั่วไป ทั้งจ่ายค่าบริการ ชำระสินค้า เป็นต้น ซึ่งต่างจากการใช้เหรียญคริปโตฯ ที่ใช้ในการเก็งกำไรและลงทุนเป็นส่วนใหญ่ ทำให้การใช้จ่ายจริงของเหรียญแต่ละแบบมีความแตกต่างกัน ถึงแม้จะเคยมีกรณีใช้เหรียญ BTC ในการจ่ายค่าพิซซ่าไปแล้วก็ตาม
เหรียญ CBDC ที่ออกโดยธนาคารกลางจะช่วยสร้างเสถียรภาพทางการเงินให้กับรัฐบาลได้หรือไม่ เป็นสิ่งที่หลาย ๆ ประเทศกำลังทดลองใช้งานเหรียญนี้ในวงแคบและยังอยู่ในระยะการทดลอง แต่ก็มีประเทศจีนที่นำเหรียญนี้มาใช้โดยออกในชื่อว่า เหรียญ ‘หยวนดิจิทัล’ รวมถึงเหรียญ CBDC จะเปิดโอกาสให้ธนาคารกลางสร้างนวัตกรรมทางการเงินแบบใหม่มาให้กับผู้ใข้งานได้มากน้อยแค่ไหนก็เป็นอีกเรื่องที่น่าจับตามอง แต่ ณ ปัจจุบัน เหรียญ CDBC ยังคงอยู่ในการจับตามองของนานาประเทศที่ซุ่มทดลอง และลองใช้งานอยู่ หากเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามา รับรองได้ว่าต้องเปลี่ยนโฉมการใช้งานเหรียญนี้ จากหน้ามือเป็นหลังมืออย่างแน่นอน
คำเตือน
*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
**บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการให้คำแนะนำทางการเงินแต่อย่างใด
อ้างอิง
Share this
- Bitazza Blog (111)
- Crypto Weekly (47)
- DAO (15)
- Beginner (14)
- mission (11)
- ความปลอดภัย (11)
- Tether (USDt) (8)
- บล็อกเชน (8)
- bitcoin (7)
- missions (7)
- Learning Hub (6)
- การค้าขาย (6)
- หัวข้อเด่น (6)
- ตลาด (5)
- วิจัย (5)
- Campaigns (3)
- Security (3)
- เศรษฐศาสตร์ (3)
- Bitazza Insights (2)
- Social Features (2)
- Stablecoin (2)
- Token talk (2)
- Trading (2)
- TradingView (2)
- เกี่ยวกับการสอน (2)
- Crypto รายสัปดาห์ (1)
- Disclosure (1)
- ENJ (1)
- Educational (1)
- Featured (1)
- KYC (1)
- NFTs (1)
- SEC (1)
- TRUMP (1)
- บิทาซซ่าบล็อกส์ (1)
Subscribe by email

WAN Coin คืออะไร? เหรียญจาก Wanchain กับโซลูชันเชื่อมต่อบล็อกเชน

NEAR Coin คืออะไร? แพลตฟอร์มบล็อกเชนใช้งานง่ายสำหรับทุกคน

มาเลเซียเปิดตัวฮับสินทรัพย์ดิจิทัล เตรียมทดลอง Stablecoin ผูกเงินริงกิต

DOT Coin คืออะไร? เจาะลึก Polkadot และระบบเชื่อมบล็อกเชนแห่งอนาคต

ส่อง PNUT Coin เหรียญมีมมาแรงบน Solana

TON Coin คืออะไร? ทำความรู้จักเหรียญจาก Telegram และอนาคตของ Web3

รู้จัก NOT Coin คืออะไร? เหรียญไวรัลจาก Telegram ที่กำลังเปลี่ยนเกมคริปโตฯ

BabyDoge คืออะไร? วิเคราะห์อนาคตเหรียญมีมในตลาดคริปโตปี 2025

AAVE คืออะไร? แพลตฟอร์มกู้ยืมในโลก DeFi ที่นักลงทุนต้องรู้
