Velo Labs และเหรียญ VELO คือหนึ่งในโครงการที่โดดเด่น โดยเฉพาะในด้านการโอนเงินข้ามประเทศ ในยุค Defi หรือการเงินแบบไร้ตัวกลาง VELO เป็นโทเคนดิจิทัลที่พัฒนาโดย Velo Labs ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายการชำระเงินที่รวดเร็ว ปลอดภัย และมีต้นทุนต่ำ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ยังขาดโครงสร้างพื้นฐานด้านการเงินที่ครอบคลุม
Velo คริปโตฝีมือคนไทยได้เปิดตัวพร้อมกับพันธมิตรชั้นนำ 13 รายทั่วเอเชีย รวมถึงเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP Group), Hanwha Group, Stellar Network และ Bitazza ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตในประเทศไทย โดยจะเปิดให้บริการฝาก-ถอนและซื้อ-ขาย ในวันที่ 24 มิถุนายน 2564 12.00น. เป็นต้นไป
Velo ร่วมกับพันธมิตร Lightnet ประกาศการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ Solana ในการร่วมกันสร้างโครงสร้างพื้นฐานของระบบให้บริการชำระบัญชี ธุรกรรมทองคำดิจิทัลใน สปป ลาว ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์นี้ส่งเสริมให้เกิดการขยายฐานผู้ใช้งานทองคำดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น
เหรียญ Velo หรือ Velo Token (VELO) เป็นเหรียญ Utility Token (โทเคนเพื่อการใช้งานภายในระบบ) สำหรับใช้ภายในระบบนิเวศของ Velo Labs ซึ่งเป็นโปรเจกต์ที่พัฒนาแพลตฟอร์มด้านการโอนเงินและบริการทางการเงินที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อให้การทำธุรกรรมระหว่างประเทศมีความรวดเร็ว ปลอดภัย และมีต้นทุนต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีเป้าหมายเพื่อทำให้การโอนเงินข้ามพรมแดน (Cross-Border Remittance) มีต้นทุนต่ำและรวดเร็ว โดยเชื่อมโยงกับธนาคารและผู้ให้บริการทางการเงินต่าง ๆ
Velo Protocol คือ Decentralized Finance Infrastructure ที่ออกแบบมาเพื่อ อำนวยความสะดวกในการออกสินเชื่อดิจิทัล (Digital Credit Issuance) และ การชำระเงินระหว่างประเทศ ผ่านการใช้ Smart Contract และโทเคน VELO เป็นหลักประกัน
Velo ออกแบบระบบให้ทำหน้าที่เป็น "Bridge Layer" (สะพานเชื่อม) ระหว่างโลกของการเงินแบบดั้งเดิม (Fiat) และโลกดิจิทัล (Crypto & Stablecoins) ด้วยแนวคิดที่เรียกว่า Federated Credit Exchange Network (FCEN)
Velo เชื่อมกับระบบการเงินดั้งเดิม Traditional Finance (FIAT) ผ่านพันธมิตร ได้แก่:
ธนาคาร (เช่น UOB, SCB, Seven Bank) – เชื่อมกับระบบบัญชีเงินฝากเพื่อแปลง Fiat เป็น Digital Credit โดยต้องมี เหรียญ VELO เป็นหลักประกัน เพื่อป้องกันการออกเครดิตเกินตัว
e-Wallets (เช่น TrueMoney) – รองรับการแปลงเครดิตให้ใช้งานในระบบดิจิทัล
Remittance Operators (เช่น Lightnet) – ดำเนินการแปลงเงิน Fiat เป็น Digital Credit และส่งข้ามพรมแดน
Velo รองรับ Stablecoins เพื่อใช้เป็นตัวกลางในระบบ Clearing / Settlement เพิ่มสภาพคล่อง (Liquidity) ให้แก่เครือข่ายเพิ่มความสามารถในการเชื่อมกับ DeFi / CeFi
Velo Protocol ให้ผู้ให้บริการทางการเงิน เช่น ธนาคาร, e-wallet สามารถ ออก “Digital Credit” (DC) ที่มีมูลค่าผูกกับสกุลเงินจริง เช่น DC-USD, DC-THB ได้ โดยต้องวาง หลักประกัน (Collateral) เป็นเหรียญ VELO ช่วยให้ธุรกรรมข้ามพรมแดนสามารถ เคลียร์ยอดได้เร็ว และ ปลอดภัย โดยใช้ Smart Contract และ Stablecoins เป็นตัวกลาง
การโอนเงินข้ามประเทศโดยใช้ VELO ช่วยลดปัญหาหลักของการโอนเงินต่างประเทศแบบเดิม ได้แก่ SWIFT, Western Union ฯลฯ ซึ่งมีปัญหาคือต้องใช้เวลาหลายวัน มีความธรรมเนียมสูง ขาดความโปร่งใสและตรวจสอบยาก VELO แก้ปัญหานี้ได้ ทำให้การโอนเงินระหว่างประเทศเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และตรวจสอบได้
1. ใช้เป็นหลักประกัน (Collateral) ในระบบเครดิต
2. เชื่อมโลกการเงินดั้งเดิม (Fiat) กับโลกดิจิทัล (Stablecoin / Blockchain) โดยทำผ่าน Smart Contracts และ Settlement Layer
3. รองรับธุรกรรมข้ามพรมแดนอย่างรวดเร็ว
4. มีพันธมิตรระดับภูมิภาค ทั้งธนาคาร e-wallet ทำให้มีการใช้งานจริง
5. สามารถนำไป Stake / Farming ได้ในบางแพลตฟอร์ม
Velo Protocol เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินดิจิทัล (Decentralized Financial Infrastructure) ที่มุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกด้านการโอนเงินระหว่างประเทศและการออกเครดิตดิจิทัล โดยหนึ่งในจุดแข็งของ Velo คือการมีพันธมิตรที่แข็งแกร่งจากทั้งฝั่งการเงินแบบดั้งเดิม (Traditional Finance) และฝั่งเทคโนโลยีการเงิน (Fintech) ที่ช่วยขับเคลื่อนให้ระบบสามารถใช้งานได้จริงในระดับภูมิภาคและระดับโลก
Lightnet Group เป็นบริษัทแม่ที่ร่วมก่อตั้ง Velo Labs และทำหน้าที่เป็นเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเชื่อมโยงผู้ให้บริการโอนเงินและสถาบันการเงินผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชนของ Velo Protocol
บทบาท: เชื่อมต่อระบบธุรกรรมข้ามประเทศ โดยใช้ Velo เป็นโครงสร้างหลักสำหรับการออกเครดิตและการชำระบัญชี
Velo ได้ร่วมมือกับ Visa ในการพัฒนาโซลูชันด้านการชำระเงิน โดยเฉพาะในด้าน API และระบบการโอนเงินผ่านบัตร เพื่อให้รองรับการใช้งานในโลกดิจิทัล รวมถึงการเชื่อมโยงกับธุรกรรมในชีวิตประจำวัน
บทบาท: สนับสนุนการสร้างระบบจ่ายเงินที่ผสานโลกบล็อกเชนกับการเงินแบบดั้งเดิมอย่างราบรื่น
TrueMoney เป็นหนึ่งในพันธมิตรที่สำคัญของ Velo Protocol โดยทำหน้าที่เป็นช่องทางฝั่งผู้ใช้งานในการฝาก ถอน และรับเงินผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งเชื่อมตรงกับระบบของ Velo
บทบาท: รองรับการใช้งานฝั่งผู้ส่งเงินในประเทศไทย และเป็นจุดเชื่อมต่อหลักสำหรับตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
UOB เป็นหนึ่งในธนาคารพันธมิตรที่ร่วมเชื่อมระบบของ Velo เข้ากับเครือข่ายการเงินแบบดั้งเดิม ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถแปลงเงิน Fiat เป็นเครดิตดิจิทัลและกลับคืนได้อย่างสะดวก
บทบาท: ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างโลกการเงินแบบเดิมกับระบบ Credit Layer ของ Velo
Seven Bank ร่วมมือกับ Velo ในการให้บริการถอนเงินสดสำหรับผู้รับเงินปลายทางในประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ต้องการส่งเงินกลับบ้าน
บทบาท: ให้บริการถอนเงินสดผ่านตู้ ATM สำหรับผู้ใช้งานที่ได้รับเงินจากระบบ Velo
GCash เป็นแพลตฟอร์มที่รองรับการถอนเงินของผู้รับเงินในฟิลิปปินส์ โดยเชื่อมกับระบบของ Velo ในการรับเครดิตดิจิทัลแล้วแปลงเป็นเงินสดในระบบของ GCash
บทบาท: ทำหน้าที่เป็นช่องทางปลายทางในการรับเงินจากระบบของ Velo
Velo Protocol เริ่มต้นบนเครือข่าย Stellar แต่ต่อมาได้ย้ายมายัง Binance Smart Chain (BSC) เพื่อความเร็วในการทำธุรกรรมและค่าธรรมเนียมที่ต่ำลง
บทบาท: เป็น Layer ของ Blockchain ที่รองรับธุรกรรมหลักของ Credit และ Settlement Layer
Velo Token เป็นเหรียญดิจิทัลหลักของระบบ Velo Protocol ซึ่งทำหน้าที่เป็น สินทรัพย์เชิงโครงสร้าง (Utility Token) ที่ใช้ขับเคลื่อนการทำงานของระบบโอนเงินระหว่างประเทศและการออกเครดิตดิจิทัล (Digital Credit) ผู้ให้บริการทางการเงิน เช่น ธนาคาร, e-wallet, หรือผู้ให้บริการโอนเงิน ที่ต้องการออก “Digital Credit” ภายใต้ระบบของ Velo จำเป็นต้องวาง VELO Token เป็นหลักประกัน (collateral) ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับระบบ โดยไม่ต้องพึ่งตัวกลางในการตรวจสอบ นอกจากนั้น Velo Token ยังใช้ในการชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในระบบ ค่าธรรมเนียมการโอน (Cross-border transaction fee)ค่าธรรมเนียมการออก Digital Credit ค่าธรรมเนียมการแลกเปลี่ยนภายใน Exchange Layer ซึ่งทำให้เหรียญมีความต้องการและถูกใช้งานอย่างต่อเนื่อง บางส่วนของ VELO ที่ใช้ในการชำระค่าธรรมเนียมจะถูกนำไป เผาทิ้ง (Burn) เพื่อลดจำนวนอุปทานในระบบอย่างถาวร
ปัจจัยพื้นฐานและภายนอกที่มีผลต่อราคา ทั้งในมุมมองระยะสั้นและระยะยาว
หาก VELO ถูกใช้จริงในระบบของ Velo Protocol เช่น เป็นหลักประกัน, ค่าธรรมเนียม, หรือ Settlement มากก็ยิ่งส่งผลเชิงบวกต่อราคาเหรียญ Velo
ถ้ามีการเผาเหรียญอย่างต่อเนื่องหรือลดการปลดล็อกเหรียญในระยะสั้น ก็สามารถช่วยพยุงราคาหรือดันราคาขึ้นได้
ทิศทางของ Bitcoin และตลาดโดยรวมก็มีผลต่อราคาเหรียญ Velo ซึ่งหากเป็นช่วงตลาดขาลง Velo อาจเผชิญแรงขายย่างมาก เนื้่องจากยังไม่ใช่สินทรัพย์หลักในพอร์ต
เมื่อมีข่าวการร่วมมือใหม่ ๆ ส่งผลให้ราคาเหรียญขึ้น และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับนักลงทุน
ถึงแม้ Velo Protocol จะมีจุดเด่นในด้านโครงสร้างพื้นฐานของระบบการเงินดิจิทัล และได้รับความร่วมมือจากหลายองค์กรในเอเชีย แต่ในฐานะนักลงทุน ยังมีหลายประเด็นที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ
ความเสี่ยงจากการแข่งขันในตลาด (Competitive Risk) ตลาดด้านการโอนเงินข้ามประเทศ (Cross-border Remittance) และ Credit Layer บนบล็อกเชนมีผู้เล่นหลายราย เช่น Ripple (XRP) Stellar (XLM) Conflux (CFX) และ Stablecoin ที่เติบโตเร็วอย่าง USDC, USDT
Velo (VELO) และ XRP (Ripple) ก็เป็นสองเหรียญที่มีเป้าหมายคล้ายกัน คือเข้ามาแก้ปัญหาการโอนเงินระหว่างประเทศให้เร็วขึ้น ถูกลง และปลอดภัยมากขึ้น แต่ก็มีสิ่งที่แตกต่างกันอยู่พอสมควร XRP เป็นเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นโดยบริษัท Ripple Labs เพื่อใช้เป็น "สื่อกลาง" ในการโอนเงินระหว่างธนาคารและสถาบันการเงินทั่วโลก จุดเด่นคือความเร็วในการโอนและต้นทุนต่ำ
ตัวอย่างเช่น: หากธนาคาร A ต้องการโอนเงินไปยังธนาคาร B ในอีกประเทศหนึ่ง ระบบของ Ripple จะเปลี่ยนเงิน A เป็น XRP แล้วส่งข้ามประเทศทันที จากนั้นก็แปลงกลับเป็นสกุลเงินของประเทศปลายทาง ส่วน VELO มีแนวคิดที่ต่างออกไป โดยไม่ได้เน้นการใช้เหรียญเป็น “ตัวกลาง” ในการโอนเงินโดยตรง แต่ใช้ระบบที่เรียกว่า Credit & Settlement Layer โดยให้ผู้ให้บริการทางการเงิน เช่น แอปโอนเงิน, e-wallet หรือธนาคาร วางเหรียญ VELO เป็นหลักประกัน แล้วออก "เครดิตดิจิทัล" ที่แทนเงินตรา เช่น DC-USD, DC-THB เพื่อนำไปใช้ในการโอนเงิน XRP เน้นทำงานร่วมกับ ธนาคารและสถาบันการเงินระดับโลก เช่น SBI (ญี่ปุ่น), Santander (ยุโรป), Tranglo (มาเลเซีย)
VELO เน้นจับมือกับ บริการทางการเงินในเอเชีย เช่น TrueMoney, GCash, Seven Bank, และธนาคารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ถ้าคุณมองหาเหรียญที่มีความมั่นคงระดับหนึ่ง และได้รับการใช้งานจริงจากธนาคารทั่วโลก XRP อาจเหมาะกับคุณ แต่ถ้าคุณมองหาเหรียญที่ยังมีโอกาสเติบโตสูง และกำลังเริ่มมีการใช้งานจริงในตลาดเกิดใหม่ VELO ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเช่นกัน
คำเตือน
*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
**บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการให้คำแนะนำทางการเงินแต่อย่างใด
อ้างอิง