Share this
รู้จักเหรียญ VELO: ตัวจริงด้านโอนเงินข้ามประเทศในโลก DeFi

Velo Labs และเหรียญ VELO คือหนึ่งในโครงการที่โดดเด่น โดยเฉพาะในด้านการโอนเงินข้ามประเทศ ในยุค Defi หรือการเงินแบบไร้ตัวกลาง VELO เป็นโทเคนดิจิทัลที่พัฒนาโดย Velo Labs ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายการชำระเงินที่รวดเร็ว ปลอดภัย และมีต้นทุนต่ำ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ยังขาดโครงสร้างพื้นฐานด้านการเงินที่ครอบคลุม
ข่าวเหรียญ Velo ล่าสุด
การเปิดตัวและการสนับสนุนจากพันธมิตร
Velo คริปโตฝีมือคนไทยได้เปิดตัวพร้อมกับพันธมิตรชั้นนำ 13 รายทั่วเอเชีย รวมถึงเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP Group), Hanwha Group, Stellar Network และ Bitazza ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตในประเทศไทย โดยจะเปิดให้บริการฝาก-ถอนและซื้อ-ขาย ในวันที่ 24 มิถุนายน 2564 12.00น. เป็นต้นไป
Velo ร่วมกับพันธมิตร Lightnet ประกาศการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ Solana ในการร่วมกันสร้างโครงสร้างพื้นฐานของระบบให้บริการชำระบัญชี ธุรกรรมทองคำดิจิทัลใน สปป ลาว ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์นี้ส่งเสริมให้เกิดการขยายฐานผู้ใช้งานทองคำดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น

เหรียญ Velo คืออะไร
เหรียญ Velo หรือ Velo Token (VELO) เป็นเหรียญ Utility Token (โทเคนเพื่อการใช้งานภายในระบบ) สำหรับใช้ภายในระบบนิเวศของ Velo Labs ซึ่งเป็นโปรเจกต์ที่พัฒนาแพลตฟอร์มด้านการโอนเงินและบริการทางการเงินที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน เพื่อให้การทำธุรกรรมระหว่างประเทศมีความรวดเร็ว ปลอดภัย และมีต้นทุนต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีเป้าหมายเพื่อทำให้การโอนเงินข้ามพรมแดน (Cross-Border Remittance) มีต้นทุนต่ำและรวดเร็ว โดยเชื่อมโยงกับธนาคารและผู้ให้บริการทางการเงินต่าง ๆ
การทำงานของ Velo Protocol
Velo Protocol คือ Decentralized Finance Infrastructure ที่ออกแบบมาเพื่อ อำนวยความสะดวกในการออกสินเชื่อดิจิทัล (Digital Credit Issuance) และ การชำระเงินระหว่างประเทศ ผ่านการใช้ Smart Contract และโทเคน VELO เป็นหลักประกัน
-
การเชื่อมโยงกับ Traditional Finance (Fiat) และ Stablecoins
Velo ออกแบบระบบให้ทำหน้าที่เป็น "Bridge Layer" (สะพานเชื่อม) ระหว่างโลกของการเงินแบบดั้งเดิม (Fiat) และโลกดิจิทัล (Crypto & Stablecoins) ด้วยแนวคิดที่เรียกว่า Federated Credit Exchange Network (FCEN)
Velo เชื่อมกับระบบการเงินดั้งเดิม Traditional Finance (FIAT) ผ่านพันธมิตร ได้แก่:
ธนาคาร (เช่น UOB, SCB, Seven Bank) – เชื่อมกับระบบบัญชีเงินฝากเพื่อแปลง Fiat เป็น Digital Credit โดยต้องมี เหรียญ VELO เป็นหลักประกัน เพื่อป้องกันการออกเครดิตเกินตัว
e-Wallets (เช่น TrueMoney) – รองรับการแปลงเครดิตให้ใช้งานในระบบดิจิทัล
Remittance Operators (เช่น Lightnet) – ดำเนินการแปลงเงิน Fiat เป็น Digital Credit และส่งข้ามพรมแดน
Velo รองรับ Stablecoins เพื่อใช้เป็นตัวกลางในระบบ Clearing / Settlement เพิ่มสภาพคล่อง (Liquidity) ให้แก่เครือข่ายเพิ่มความสามารถในการเชื่อมกับ DeFi / CeFi
-
วิธีการสร้าง Credit & Settlement Layer
Velo Protocol ให้ผู้ให้บริการทางการเงิน เช่น ธนาคาร, e-wallet สามารถ ออก “Digital Credit” (DC) ที่มีมูลค่าผูกกับสกุลเงินจริง เช่น DC-USD, DC-THB ได้ โดยต้องวาง หลักประกัน (Collateral) เป็นเหรียญ VELO ช่วยให้ธุรกรรมข้ามพรมแดนสามารถ เคลียร์ยอดได้เร็ว และ ปลอดภัย โดยใช้ Smart Contract และ Stablecoins เป็นตัวกลาง
-
การใช้งานจริงในระบบการเงินระหว่างประเทศ
การโอนเงินข้ามประเทศโดยใช้ VELO ช่วยลดปัญหาหลักของการโอนเงินต่างประเทศแบบเดิม ได้แก่ SWIFT, Western Union ฯลฯ ซึ่งมีปัญหาคือต้องใช้เวลาหลายวัน มีความธรรมเนียมสูง ขาดความโปร่งใสและตรวจสอบยาก VELO แก้ปัญหานี้ได้ ทำให้การโอนเงินระหว่างประเทศเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และตรวจสอบได้
จุดเด่นของเหรียญ Velo
1. ใช้เป็นหลักประกัน (Collateral) ในระบบเครดิต
- VELO ไม่ใช่แค่เหรียญเพื่อเก็งกำไร แต่มีบทบาท “จริง” ในการค้ำประกันการออก Digital Credit
- เมื่อผู้ให้บริการต้องการออกเครดิต เช่น DC-USD, DC-THB ต้องวาง VELO เป็นหลักประกัน
- ทำให้ระบบมี Trustless Credit Issuance โดยไม่ต้องพึ่งธนาคารกลาง
2. เชื่อมโลกการเงินดั้งเดิม (Fiat) กับโลกดิจิทัล (Stablecoin / Blockchain) โดยทำผ่าน Smart Contracts และ Settlement Layer
3. รองรับธุรกรรมข้ามพรมแดนอย่างรวดเร็ว
4. มีพันธมิตรระดับภูมิภาค ทั้งธนาคาร e-wallet ทำให้มีการใช้งานจริง
5. สามารถนำไป Stake / Farming ได้ในบางแพลตฟอร์ม
ความร่วมมือและพาร์ตเนอร์สำคัญของ Velo
Velo Protocol เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินดิจิทัล (Decentralized Financial Infrastructure) ที่มุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกด้านการโอนเงินระหว่างประเทศและการออกเครดิตดิจิทัล โดยหนึ่งในจุดแข็งของ Velo คือการมีพันธมิตรที่แข็งแกร่งจากทั้งฝั่งการเงินแบบดั้งเดิม (Traditional Finance) และฝั่งเทคโนโลยีการเงิน (Fintech) ที่ช่วยขับเคลื่อนให้ระบบสามารถใช้งานได้จริงในระดับภูมิภาคและระดับโลก
1. Lightnet Group – โครงสร้างพื้นฐานหลักของระบบโอนเงิน
Lightnet Group เป็นบริษัทแม่ที่ร่วมก่อตั้ง Velo Labs และทำหน้าที่เป็นเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเชื่อมโยงผู้ให้บริการโอนเงินและสถาบันการเงินผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชนของ Velo Protocol
บทบาท: เชื่อมต่อระบบธุรกรรมข้ามประเทศ โดยใช้ Velo เป็นโครงสร้างหลักสำหรับการออกเครดิตและการชำระบัญชี
2. Visa – ผู้ให้บริการระบบการชำระเงินระดับโลก
Velo ได้ร่วมมือกับ Visa ในการพัฒนาโซลูชันด้านการชำระเงิน โดยเฉพาะในด้าน API และระบบการโอนเงินผ่านบัตร เพื่อให้รองรับการใช้งานในโลกดิจิทัล รวมถึงการเชื่อมโยงกับธุรกรรมในชีวิตประจำวัน
บทบาท: สนับสนุนการสร้างระบบจ่ายเงินที่ผสานโลกบล็อกเชนกับการเงินแบบดั้งเดิมอย่างราบรื่น
3. TrueMoney – ผู้ให้บริการ e-Wallet รายใหญ่ในไทย
TrueMoney เป็นหนึ่งในพันธมิตรที่สำคัญของ Velo Protocol โดยทำหน้าที่เป็นช่องทางฝั่งผู้ใช้งานในการฝาก ถอน และรับเงินผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งเชื่อมตรงกับระบบของ Velo
บทบาท: รองรับการใช้งานฝั่งผู้ส่งเงินในประเทศไทย และเป็นจุดเชื่อมต่อหลักสำหรับตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
4. UOB (United Overseas Bank) – ธนาคารระดับภูมิภาค
UOB เป็นหนึ่งในธนาคารพันธมิตรที่ร่วมเชื่อมระบบของ Velo เข้ากับเครือข่ายการเงินแบบดั้งเดิม ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถแปลงเงิน Fiat เป็นเครดิตดิจิทัลและกลับคืนได้อย่างสะดวก
บทบาท: ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างโลกการเงินแบบเดิมกับระบบ Credit Layer ของ Velo
5. Seven Bank Japan – ธนาคารพร้อมตู้ ATM ทั่วประเทศญี่ปุ่น
Seven Bank ร่วมมือกับ Velo ในการให้บริการถอนเงินสดสำหรับผู้รับเงินปลายทางในประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ต้องการส่งเงินกลับบ้าน
บทบาท: ให้บริการถอนเงินสดผ่านตู้ ATM สำหรับผู้ใช้งานที่ได้รับเงินจากระบบ Velo
6. GCash – แอป e-Wallet รายใหญ่ในฟิลิปปินส์
GCash เป็นแพลตฟอร์มที่รองรับการถอนเงินของผู้รับเงินในฟิลิปปินส์ โดยเชื่อมกับระบบของ Velo ในการรับเครดิตดิจิทัลแล้วแปลงเป็นเงินสดในระบบของ GCash
บทบาท: ทำหน้าที่เป็นช่องทางปลายทางในการรับเงินจากระบบของ Velo
7. Stellar Network (เดิม) / Binance Smart Chain (ปัจจุบัน)
Velo Protocol เริ่มต้นบนเครือข่าย Stellar แต่ต่อมาได้ย้ายมายัง Binance Smart Chain (BSC) เพื่อความเร็วในการทำธุรกรรมและค่าธรรมเนียมที่ต่ำลง
บทบาท: เป็น Layer ของ Blockchain ที่รองรับธุรกรรมหลักของ Credit และ Settlement Layer
การใช้งาน Velo Token
Velo Token เป็นเหรียญดิจิทัลหลักของระบบ Velo Protocol ซึ่งทำหน้าที่เป็น สินทรัพย์เชิงโครงสร้าง (Utility Token) ที่ใช้ขับเคลื่อนการทำงานของระบบโอนเงินระหว่างประเทศและการออกเครดิตดิจิทัล (Digital Credit) ผู้ให้บริการทางการเงิน เช่น ธนาคาร, e-wallet, หรือผู้ให้บริการโอนเงิน ที่ต้องการออก “Digital Credit” ภายใต้ระบบของ Velo จำเป็นต้องวาง VELO Token เป็นหลักประกัน (collateral) ช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับระบบ โดยไม่ต้องพึ่งตัวกลางในการตรวจสอบ นอกจากนั้น Velo Token ยังใช้ในการชำระค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในระบบ ค่าธรรมเนียมการโอน (Cross-border transaction fee)ค่าธรรมเนียมการออก Digital Credit ค่าธรรมเนียมการแลกเปลี่ยนภายใน Exchange Layer ซึ่งทำให้เหรียญมีความต้องการและถูกใช้งานอย่างต่อเนื่อง บางส่วนของ VELO ที่ใช้ในการชำระค่าธรรมเนียมจะถูกนำไป เผาทิ้ง (Burn) เพื่อลดจำนวนอุปทานในระบบอย่างถาวร

การวิเคราะห์แนวโน้มราคาเหรียญ Velo
ปัจจัยพื้นฐานและภายนอกที่มีผลต่อราคา ทั้งในมุมมองระยะสั้นและระยะยาว
1. การใช้งานจริง (Utility & Adoption )
หาก VELO ถูกใช้จริงในระบบของ Velo Protocol เช่น เป็นหลักประกัน, ค่าธรรมเนียม, หรือ Settlement มากก็ยิ่งส่งผลเชิงบวกต่อราคาเหรียญ Velo
2. ปริมาณเหรียญในระบบ (Tokenomics)
ถ้ามีการเผาเหรียญอย่างต่อเนื่องหรือลดการปลดล็อกเหรียญในระยะสั้น ก็สามารถช่วยพยุงราคาหรือดันราคาขึ้นได้
3. สภาวะตลาดคริปโตโดยรวม
ทิศทางของ Bitcoin และตลาดโดยรวมก็มีผลต่อราคาเหรียญ Velo ซึ่งหากเป็นช่วงตลาดขาลง Velo อาจเผชิญแรงขายย่างมาก เนื้่องจากยังไม่ใช่สินทรัพย์หลักในพอร์ต
4. การร่วมมือกับพันธมิตร
เมื่อมีข่าวการร่วมมือใหม่ ๆ ส่งผลให้ราคาเหรียญขึ้น และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับนักลงทุน
ความเสี่ยงที่ควรรู้ก่อนลงทุน
ถึงแม้ Velo Protocol จะมีจุดเด่นในด้านโครงสร้างพื้นฐานของระบบการเงินดิจิทัล และได้รับความร่วมมือจากหลายองค์กรในเอเชีย แต่ในฐานะนักลงทุน ยังมีหลายประเด็นที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ
-
ความเสี่ยงจากการแข่งขันในตลาด (Competitive Risk) ตลาดด้านการโอนเงินข้ามประเทศ (Cross-border Remittance) และ Credit Layer บนบล็อกเชนมีผู้เล่นหลายราย เช่น Ripple (XRP) Stellar (XLM) Conflux (CFX) และ Stablecoin ที่เติบโตเร็วอย่าง USDC, USDT
- ความเสี่ยงจากการใช้งานจริงยังไม่แพร่หลาย (Adoption Risk) แม้จะมีพาร์ตเนอร์จริงหลายราย แต่การใช้งานระบบ Velo อย่างแพร่หลายยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น บาง Use Case ยังอยู่ในระยะทดสอบ หรือยังไม่เปิดใช้จริงกับกลุ่มผู้ใช้งานวงกว้าง
- ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสูง (Volatility Risk) ในฐานะที่ VELO เป็นโทเคนที่ยังไม่อยู่ในกลุ่ม Top Tier ความผันผวนของราคายังสูง ราคาอาจขึ้นหรือลงเป็นเปอร์เซ็นต์สองหลักในระยะสั้นได้
%20and%20XRP%20(Ripple).jpg?width=1398&height=1042&name=Velo%20(VELO)%20and%20XRP%20(Ripple).jpg)
เหรียญ Velo ต่างจากเหรียญ XRP อย่างไร
Velo (VELO) และ XRP (Ripple) ก็เป็นสองเหรียญที่มีเป้าหมายคล้ายกัน คือเข้ามาแก้ปัญหาการโอนเงินระหว่างประเทศให้เร็วขึ้น ถูกลง และปลอดภัยมากขึ้น แต่ก็มีสิ่งที่แตกต่างกันอยู่พอสมควร XRP เป็นเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นโดยบริษัท Ripple Labs เพื่อใช้เป็น "สื่อกลาง" ในการโอนเงินระหว่างธนาคารและสถาบันการเงินทั่วโลก จุดเด่นคือความเร็วในการโอนและต้นทุนต่ำ
ตัวอย่างเช่น: หากธนาคาร A ต้องการโอนเงินไปยังธนาคาร B ในอีกประเทศหนึ่ง ระบบของ Ripple จะเปลี่ยนเงิน A เป็น XRP แล้วส่งข้ามประเทศทันที จากนั้นก็แปลงกลับเป็นสกุลเงินของประเทศปลายทาง ส่วน VELO มีแนวคิดที่ต่างออกไป โดยไม่ได้เน้นการใช้เหรียญเป็น “ตัวกลาง” ในการโอนเงินโดยตรง แต่ใช้ระบบที่เรียกว่า Credit & Settlement Layer โดยให้ผู้ให้บริการทางการเงิน เช่น แอปโอนเงิน, e-wallet หรือธนาคาร วางเหรียญ VELO เป็นหลักประกัน แล้วออก "เครดิตดิจิทัล" ที่แทนเงินตรา เช่น DC-USD, DC-THB เพื่อนำไปใช้ในการโอนเงิน XRP เน้นทำงานร่วมกับ ธนาคารและสถาบันการเงินระดับโลก เช่น SBI (ญี่ปุ่น), Santander (ยุโรป), Tranglo (มาเลเซีย)
VELO เน้นจับมือกับ บริการทางการเงินในเอเชีย เช่น TrueMoney, GCash, Seven Bank, และธนาคารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ถ้าคุณมองหาเหรียญที่มีความมั่นคงระดับหนึ่ง และได้รับการใช้งานจริงจากธนาคารทั่วโลก XRP อาจเหมาะกับคุณ แต่ถ้าคุณมองหาเหรียญที่ยังมีโอกาสเติบโตสูง และกำลังเริ่มมีการใช้งานจริงในตลาดเกิดใหม่ VELO ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเช่นกัน
คำเตือน
*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
**บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการให้คำแนะนำทางการเงินแต่อย่างใด
อ้างอิง
Share this
- Bitazza Blog (79)
- Crypto Weekly (41)
- DAO (15)
- Beginner (14)
- mission (11)
- ความปลอดภัย (11)
- บล็อกเชน (8)
- Learning Hub (6)
- การค้าขาย (6)
- หัวข้อเด่น (6)
- Tether (USDt) (5)
- ตลาด (5)
- วิจัย (5)
- bitcoin (4)
- Campaigns (3)
- Security (3)
- missions (3)
- เศรษฐศาสตร์ (3)
- Bitazza Insights (2)
- Stablecoin (2)
- Token talk (2)
- Trading (2)
- เกี่ยวกับการสอน (2)
- Crypto รายสัปดาห์ (1)
- Disclosure (1)
- ENJ (1)
- Educational (1)
- Featured (1)
- KYC (1)
- NFTs (1)
- SEC (1)
- TRUMP (1)
- TradingView (1)
- บิทาซซ่าบล็อกส์ (1)