Share this
รู้จัก Solana (SOL) บล็อกเชนความเร็วสูงที่นักลงทุนมองว่าอาจเป็น “Ethereum Killer”

Solana เป็นหนึ่งในโปรเจกต์บล็อกเชนที่มาแรงสุด ๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยจุดเด่นเรื่อง ความเร็วสูง ค่าธรรมเนียมต่ำ และรองรับแอปพลิเคชัน Web3 ได้อย่างลื่นไหล จนหลายคนยกให้เป็นคู่แข่งตัวจริงของ ‘Ethereum’ กันเลยทีเดียวสำหรับบทความนี้ ขอพาไปรู้จักเหรียญ Solana แบบเข้าใจง่ายขึ้น ตั้งแต่เหรียญ SOL คืออะไร เบื้องหลังเทคโนโลยี การใช้งานในโลกจริง ไปจนถึงแนวโน้มอนาคตของโปรเจกต์นี้ ถ้าพร้อมแล้วมาดูไปพร้อมกันเลย
ข่าวล่าสุดเกี่ยวกับ Solana
ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา Solana กลับมาเป็นกระแสอีกครั้งในวงการคริปโตฯ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราคาที่พุ่งแรง การยอมรับจากบริษัทใหญ่ หรือความเห็นจากนักวิเคราะห์ที่เริ่มมองเห็นโอกาสใหม่ ๆ ของเหรียญ SOL เราเลยขอรวบรวมข่าวสำคัญที่คนถือเหรียญ (หรือกำลังสนใจจะถือ) ไม่ควรพลาด
-
ราคา SOL กระโดดแรงในเดือนเมษายน 2025
ในช่วงต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ราคาเหรียญ SOL พุ่งทะลุ $118 หรือราว ๆ 4,300 บาท ซึ่งถือเป็นระดับราคาสูงสุดในรอบหลายเดือน ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นหลังจากมีรายงานว่า “วาฬ” หรือผู้ถือเหรียญรายใหญ่ ได้เข้าซื้อเพิ่มในปริมาณมาก พร้อมกับแนวโน้มบวกของตลาดคริปโตฯ ที่เริ่มฟื้นตัวหลังจากช่วงขาลง
นี่เป็นสัญญาณที่น่าสนใจ เพราะไม่ใช่แค่เรื่องราคาขึ้นเท่านั้น แต่ยังสะท้อนว่าความเชื่อมั่นใน Solana กำลังกลับมาอีกครั้ง โดยเฉพาะในหมู่นักลงทุนรายใหญ่
-
บริษัท Janover ถือครอง SOL เป็นสินทรัพย์หลักในคลัง
ข่าวที่สร้างแรงกระเพื่อมไม่น้อยในแวดวงธุรกิจและคริปโตฯ คือ การที่ บริษัท Janover Inc. ซึ่งเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีการเงินในสหรัฐฯ ออกมาประกาศว่าจะถือเหรียญ SOL เป็นสินทรัพย์หลักใน Treasury ของบริษัท
ผลคือ ราคาหุ้นของ Janover พุ่งแรงกว่า +840% ภายในวันเดียว! การตัดสินใจครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่แค่โปรเจกต์คริปโตฯ หรือนักลงทุนทั่วไปเท่านั้นที่เชื่อมั่นใน Solana แต่ยังรวมถึงภาคธุรกิจจริงที่เริ่มให้การยอมรับเหรียญ SOL ในฐานะ “สินทรัพย์สำรอง”
-
นักวิเคราะห์ชี้ SOL ยังน่าจับตาเป็นพิเศษในปีนี้
นักวิเคราะห์หลายสำนักเริ่มออกบทความวิเคราะห์เกี่ยวกับแนวโน้มของ Solana ในปี 2025 โดยเน้นย้ำถึงจุดแข็งสำคัญอย่างระบบนิเวศที่เติบโตต่อเนื่อง ทั้งในด้าน NFT, เกม Web3 และ DeFi ที่ใช้งานจริงบนเครือข่าย Solana แล้ว อีกทั้งการอัปเกรดเครือข่ายล่าสุด ยังช่วยลดปัญหาเรื่องระบบล่มในอดีต ทำให้หลายฝ่ายเริ่มมองว่า Solana อาจกลับมาเป็น “ตัวท็อป” อีกครั้งในรอบนี้

เหรียญ SOL คืออะไร?
SOL คือเหรียญหลักของเครือข่าย Solana ที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงระบบ ใช้สำหรับจ่ายค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมต่าง ๆ บนบล็อกเชน นำไป Stake เพื่อช่วยยืนยันธุรกรรมบนเครือข่าย พร้อมรับรางวัลตอบแทนเป็น SOL เพิ่ม นอกจากบทบาทพื้นฐานในระบบแล้ว SOL ยังมีการนำไปใช้งานจริงในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นในโปรเจกต์ DeFi, ตลาด NFT ชื่อดังอย่าง Magic Eden, เกม Web3 อย่าง Star Atlas, หรือแม้แต่แอปพลิเคชันด้านการเงินที่สร้างบน Solana อีกหลายตัว เรียกได้ว่า หากจะใช้งานอะไรสักอย่างบนระบบนิเวศ Solana เหรียญ SOL คือ เหรียญที่ขาดไม่ได้ เลยจริง ๆ
ประวัติและการก่อตั้ง Solana
เหรียญ Solana ก่อตั้งขึ้นในปี 2017 โดย Anatoly Yakovenko อดีตวิศวกรจาก Qualcomm ที่ต้องการสร้างบล็อกเชนที่เร็วและใช้งานได้จริง เพราะมองว่าบล็อกเชนยุคก่อนยังช้า ค่าธรรมเนียมแพง และไม่ตอบโจทย์แอปขนาดใหญ่ เขาจึงร่วมมือกับ Greg Fitzgerald และทีมพัฒนาตั้งบริษัท Solana Labs ขึ้นมา และในปี 2020 ก็เปิดตัวเครือข่าย Solana อย่างเป็นทางการ พร้อมวางแนวคิดหลักไว้ชัดเจน คือ ‘เร็ว เสถียร และเข้าถึงง่าย’ จนกลายมาเป็นจุดขายที่หลาย ๆ โปรเจ็กซ์ตัดสินใจใช้งานบนเครือข่ายนี้นั่นเอง
เทคโนโลยีเบื้องหลัง Solana
Solana ไม่ได้เป็นแค่บล็อกเชนที่เร็วเฉย ๆ แต่ความเร็วระดับเทพของเครือข่ายนี้ เกิดจากการออกแบบระบบที่แตกต่างจากบล็อกเชนเจ้าอื่นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ชื่อว่า Proof of History (PoH) ที่ทำให้ Solana อยู่ในสายตานักลงทุนทั่วโลกเช่นกัน
Proof of History (PoH) คืออะไร?
PoH เป็นกลไกเฉพาะของ Solana ที่ใช้ในการ "เรียงลำดับเวลา" ของธุรกรรมโดยอัตโนมัติ แทนที่จะรอให้แต่ละโหนดยืนยันกันไปมาแบบเดิม ๆ PoH จะทำหน้าที่สร้าง “นาฬิกาดิจิทัล” ที่บอกได้เลยว่า ธุรกรรมไหนเกิดก่อน-หลัง ทำให้การประมวลผล เร็วขึ้นหลายเท่า และไม่ต้องเสียเวลารอ เหมือนมีคนจัดคิวให้ธุรกรรมก่อนอนุมัติให้นั่นเอง
ทำงานคู่กับ Proof of Stake (PoS)
แม้ PoH จะช่วยเรียงลำดับได้เร็ว แต่ระบบยังต้องมีคนช่วย “ยืนยัน” ว่าธุรกรรมถูกต้องจริง Solana เลยใช้กลไก Proof of Stake (PoS) เข้ามาร่วมด้วย โดยให้ผู้ถือเหรียญสามารถ Stake SOL เพื่อกลายเป็นผู้ตรวจสอบและรับรางวัล เมื่อ PoH ทำให้เรียงคิวเร็ว และ PoS ช่วยตรวจสอบเร็ว ก็ได้ระบบที่เร็ว แถมยังประหยัดพลังงานอีกด้วย
Solana ทำธุรกรรมได้เร็วแค่ไหน?
Solana เคลมว่าระบบสามารถรองรับได้ถึง 65,000 ธุรกรรมต่อวินาที (TPS) ซึ่งเยอะกว่าบล็อกเชนอื่นแบบทิ้งห่าง เช่น Ethereum ที่ทำได้แค่ประมาณ 15–30 TPS เท่านั้น
ที่สำคัญคือ ค่าธรรมเนียมเฉลี่ยแค่ไม่ถึง 0.01 ดอลลาร์ ทำให้คนทั่วไปใช้งานได้จริง ไม่ต้องรอ ไม่ต้องจ่ายแพง ลองนึกภาพเวลาเล่นเกม Web3 หรือเทรด NFT ที่ไม่ต้องรอโหลด ไม่ต้องโดนตัดหน้า ก็เรียกได้ว่าสัมผัสพลังของ Solana ได้จากปลายนิ้วเลยทีเดียว

การใช้งาน Solana มีอะไรบ้าง?
Solana ไม่ได้เป็นแค่บล็อกเชนที่เร็ว แต่เป็นระบบนิเวศขนาดใหญ่ที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง จุดเด่นเรื่อง การประมวลผลรวดเร็ว ค่าธรรมเนียมต่ำ และรองรับผู้ใช้จำนวนมากได้แบบไม่สะดุด ทำให้เหรียญ Sol กลายเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ของนักพัฒนาและผู้ใช้งานที่ต้องการประสบการณ์ที่ “รวดเร็ว” จริง ๆ
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราเห็นแอปพลิเคชันหลายประเภทที่ถูกสร้างขึ้นบนเหรียญนี้ ทั้งแพลตฟอร์ม การเงินแบบกระจายอำนาจ (DeFi), ตลาดซื้อขาย NFT, รวมถึง เกมและแอป Web3 ที่เน้นความเร็วและการใช้งานในระดับแมส เรียกได้ว่า Solana ไม่ใช่แค่บล็อกเชนสำหรับนักเทรดเท่านั้น แต่ยังเป็น “สนามจริง” ของแอปฯ ที่ใช้ในชีวิตประจำวันบนโลกดิจิทัลอีกด้วย
1. DeFi
แอปการเงินแบบกระจายอำนาจบน Solana กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยการพัฒนาเครื่องมือที่ตอบโจทย์ทั้งนักเทรดสายฟาร์มและสายวิเคราะห์ เช่น
- Raydium ที่ให้คุณเทรดเหรียญแบบ on-chain ได้รวดเร็ว พร้อมระบบ liquidity pool สำหรับสร้างรายได้แบบ passively
- Mango Markets ที่รวมความสามารถทั้งการเทรดแบบสปอต มาร์จิ้น และ perpetual เข้าไว้ด้วยกัน
- Jupiter Aggregator ที่เปรียบเสมือน Google สำหรับค้นหาเส้นทางการแลกเหรียญที่คุ้มที่สุดบน แพลตฟอร์ม Solana
ข้อได้เปรียบคือ ทุกอย่างทำได้ไว ค่าธรรมเนียมถูก และผู้ใช้ไม่ต้องกังวลกับความหน่วงของระบบแบบบล็อกเชนเจ้าอื่น ๆ
2. NFT
ตลาด NFT บน Solana ถือว่าเติบโตเร็วที่สุดเจ้านึงในวงการ โดยเฉพาะ Magic Eden ที่กลายเป็นศูนย์กลางของนักสะสมและศิลปินที่ต้องการ mint ขาย หรือลงคอลเลกชันใหม่ ๆ แบบต้นทุนต่ำ Magic Eden รองรับทั้ง NFT สายศิลปะ, โปรเจกต์ Profile Picture (PFP), ไปจนถึงของสะสมในเกม Web3 เช่น Aurory และ DeGods ด้วยค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่าหลายสิบเท่าเมื่อเทียบกับ Ethereum และ UX ที่ออกแบบมาให้ใช้งานง่าย จึงไม่แปลกใจที่เหรียญนี้ กลายเป็นบ้านของ NFT รุ่นใหม่ที่ “ใช้งานได้จริง”
3. เกมและ Web3
สายเกมก็ไม่ผิดหวัง เพราะหลายเกมระดับโปรดักชันเลือกใช้ Solana เป็นบล็อกเชนหลัก
-
อย่าง Star Atlas เกมแนวอวกาศระดับ AAA ที่ใช้ NFT เป็นไอเท็ม
-
หรือ Aurory เกมแนวเทิร์นเบส RPG ที่เน้นระบบเล่นเพื่อสะสมและแลกเปลี่ยนไอเท็มจริง
-
ยังมี STEPN แอปแนว Move-to-Earn ที่เคยเป็นกระแสใหญ่ช่วงหนึ่ง ก็เกิดบนแพลตฟอร์มนี้เช่นกัน
เพราะความเร็ว ความเสถียร และต้นทุนที่ต่ำ ทำให้เหรียญ Solana กลายเป็นบล็อกเชนที่ “เกมเมอร์ไม่ต้องรอโหลด และนักพัฒนาไม่ต้องจ่ายหนัก”

วิธีซื้อเหรียญ SOL บน Bitazza
ถ้าคุณสนใจเหรียญ SOL และอยากลองซื้อไว้ในพอร์ต Bitazza ก็เป็นอีกแพลตฟอร์มที่ใช้งานง่าย รองรับภาษาไทย และมีการซื้อขาย SOL/THB ได้โดยตรง ไม่ต้องแปลงผ่านเหรียญอื่นให้ยุ่งยาก
ขั้นตอนการซื้อเหรียญ SOL บน Bitazza มีดังนี้:
- สมัครและล็อกอินเข้าสู่ระบบ
หากยังไม่มีบัญชี ให้เริ่มจากการสมัครที่ Bitazza.com แล้วทำการยืนยันตัวตน (KYC) ให้เรียบร้อย จากนั้นล็อกอินเข้าระบบผ่านเว็บหรือแอปก็ได้ - ไปที่เมนู “ตลาด” และเลือกคู่เทรด SOL/THB
ในหน้าหลัก ให้เลือกเมนู “ตลาด” จากนั้นพิมพ์ค้นหา “SOL” แล้วเลือกคู่เทรด SOL/THB เพื่อดูราคาแบบเรียลไทม์ - เลือกจำนวนที่ต้องการซื้อ
ใส่จำนวนเหรียญที่ต้องการซื้อ หรือเลือกจำนวนเงินบาทที่อยากใช้ซื้อก็ได้ (ระบบจะคำนวณให้โดยอัตโนมัติ) - กด “ซื้อ” แล้วรอยืนยันการทำรายการ
ตรวจสอบความถูกต้องของรายการอีกครั้ง แล้วกด “ยืนยัน” เท่านี้เหรียญ SOL ก็จะเข้าพอร์ตของคุณทันที
จุดเด่นและข้อจำกัดของ Solana
แม้ Solana จะถูกมองว่าเป็นบล็อกเชนแห่งอนาคต แต่แน่นอนว่าทุกเทคโนโลยีย่อมมีทั้งจุดแข็งและข้อจำกัด มาดูกันว่าอะไรคือ “ข้อดี” ที่ทำให้เหรียญนี้น่าจับตา และ “ข้อจำกัด” ที่ผู้ใช้งานควรระวัง
จุดเด่น
- ความเร็วสูงแบบเหนือชั้น
Solana รองรับได้กว่า 65,000 ธุรกรรมต่อวินาที (TPS) ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในหมู่บล็อกเชนระดับแนวหน้า การทำธุรกรรมจึงเกิดขึ้นแทบจะทันที เหมาะมากกับแอปฯ ที่ต้องรองรับผู้ใช้จำนวนมาก เช่น เกมออนไลน์, SocialFi หรือแอปฯ การเงินที่ต้องการใช้ความเร็ว - ค่าธรรมเนียมต่ำจนแทบไม่รู้สึก
ในขณะที่บางเครือข่ายอาจเก็บค่า Gas หลักร้อย (หรือพันบาทในช่วงตลาดร้อนแรง) บนแพลตฟอร์ม ค่าธรรมเนียมเฉลี่ยแค่ไม่กี่สตางค์ต่อธุรกรรม ทำให้ทั้งนักพัฒนาและผู้ใช้งานทั่วไปเข้าถึงได้ง่าย ไม่ต้องกังวลเรื่องต้นทุน - เหมาะกับนักพัฒนาและแอปใช้งานจริง
ด้วยเอกสารพัฒนา (developer docs) ที่ครบ, เครื่องมือ SDK ที่พร้อมใช้งาน และระบบที่ขยายตัวได้ง่าย ทำให้ เหรียญ Solana เป็นบล็อกเชนที่เหมาะกับการสร้างแอปพลิเคชันระดับจริงจัง ทั้งในด้าน DeFi, NFT, Web3 หรือเกมที่ต้องใช้ข้อมูลแบบเรียลไทม์
ข้อจำกัด
- เคยเกิดเหตุการณ์เครือข่ายล่มหลายครั้ง
Solana เคยเจอปัญหาเครือข่ายหยุดทำงานแบบชั่วคราวหลายครั้งในช่วงปี 2022–2023 ซึ่งแม้จะได้รับการแก้ไขแล้วและอัปเดตระบบอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังเป็นจุดที่นักลงทุนจับตามอง - ความกระจุกตัวของ Validator
แม้จะเป็นระบบแบบกระจายศูนย์ แต่ในช่วงที่ผ่านมา เครือข่ายยังมี validator หลัก ๆ ที่ถืออำนาจการตรวจสอบธุรกรรมในสัดส่วนสูง ซึ่งอาจกระทบต่อภาพลักษณ์เรื่องการกระจายอำนาจของบล็อกเชนนี้ในระยะยาว -
ยังต้องพิสูจน์ความมั่นคงในระยะยาว
เหรียญนี้เติบโตเร็วมากในเวลาไม่กี่ปี แต่ก็ยังต้อง “พิสูจน์ตัวเอง” ในด้านความเสถียร ความปลอดภัย และการรองรับการใช้งานจริงในวงกว้าง โดยเฉพาะหากมีแอประดับโลกเข้ามาใช้งานพร้อมกัน
อนาคตของ Solana และราคา SOL
แม้จะเคยเจอทั้งช่วงพุ่งแรงและช่วงสะดุด แต่ก็ยังเป็นหนึ่งในโปรเจกต์ที่ถูกจับตามองมากที่สุดในปี 2025 โดยเฉพาะเมื่อหลายฝ่ายเริ่มเห็นสัญญาณเชิงบวก ทั้งด้านการพัฒนาเครือข่าย ความสนใจจากนักลงทุนรายใหญ่ และการกลับมาของแอป Web3 ต่าง ๆ
ถ้า Solana เดินหน้าแก้ปัญหาความเสถียรได้ และยังคงจุดแข็งด้านความเร็วและค่าธรรมเนียมต่ำ โอกาสในการเป็นบล็อกเชนหลักสำหรับ Web3 ก็ยังเปิดกว้าง
ปัจจัยสำคัญที่อาจขับเคลื่อนอนาคตของ Solana:
- การกลับมาของโปรเจกต์ GameFi และ Web3 Apps
เกมระดับ AAA และแอป Web3 ที่ใช้งานได้จริงเริ่มทยอยกลับมาในตลาด และหลายโครงการเลือกใช้ เหรียญนี้เป็นบล็อกเชนหลัก เพราะต้นทุนต่ำและตอบสนองเร็ว - การยอมรับจากสถาบันและนักลงทุนรายใหญ่
การที่บริษัทอย่าง Janover เลือกถือ SOL เป็นสินทรัพย์หลักในคลัง อาจกลายเป็นแรงบันดาลใจให้บริษัทอื่น ๆ ทำตาม - การอัปเกรดระบบอย่างต่อเนื่อง
ทีม Solana Labs เดินหน้าปรับปรุงระบบให้มีความเสถียรมากขึ้น มีระบบตรวจสอบความพร้อมของเครือข่ายแบบเรียลไทม์ และลดโอกาสเกิดเหตุล่มซ้ำเดิม - ชุมชนผู้ใช้งานและนักพัฒนาเติบโตต่อเนื่อง
Ecosystem ของเหรียญนี้ยังขยายตัวทุกไตรมาส ทั้งจำนวน DApp, ผู้พัฒนา และผู้ใช้งานใหม่ที่เข้ามาลองใช้

ความเห็นจากนักวิเคราะห์: ราคา SOL ปี 2025 จะไปถึงไหน?
ตลาดคริปโตในปี 2025 เริ่มกลับมาคึกคัก และเหรียญ SOL ก็เป็นหนึ่งในตัวเต็งที่นักวิเคราะห์ให้ความสนใจ โดยมีการคาดการณ์ที่หลากหลายดังนี้:
- CoinCodex มองว่า SOL มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง หากเครือข่ายยังคงความเสถียรและ ecosystem ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยประเมินช่วงราคาทั้งปี 2025 ไว้ที่ $154.55 – $253.99 โดยเฉลี่ยอยู่ที่ $193.76 ถือเป็นแนวโน้มเชิงบวกอย่างมาก
- Cryptopolitan ระบุว่า หากตลาดโดยรวมยังเป็นขาขึ้น และเหรียญนี้ยังคงเป็นผู้นำด้าน GameFi และ NFT ได้ต่อไป ราคาอาจขึ้นไปแตะ $238.90 ได้ โดยมีระดับต่ำสุดที่คาดไว้ที่ $97.47 ซึ่งยังถือว่าสูงกว่าแนวรับในปีที่ผ่านมา
- CoinCentral วิเคราะห์ว่า หากราคา ทะลุแนวต้านสำคัญที่ $150 ได้สำเร็จ จะเป็นจุดเร่งให้เกิดแรงซื้อรอบใหม่ โดยเฉพาะหากมีข่าวเชิงบวกจากโปรเจกต์ใหม่ ๆ บนเครือข่าย หรือความเคลื่อนไหวจากนักลงทุนรายใหญ่
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ Solana
-
Solana มีทั้งหมดกี่เหรียญ?
ปัจจุบันมีเหรียญ SOL หมุนเวียนอยู่ประมาณ 566 ล้านเหรียญ และยังคงมีการปล่อยเหรียญใหม่เพิ่มขึ้นตามระบบ Inflation model ของเครือข่าย โดยในช่วงเริ่มต้น อัตราการปล่อยเหรียญอยู่ที่ประมาณ 8% ต่อปี และจะลดลงทีละน้อยจนไปอยู่ที่ 1.5% ต่อปีในระยะยาว ต่างจาก Bitcoin ที่มีจำนวนจำกัดตายตัว (21 ล้านเหรียญ), เหรียญนี้เลือกใช้โมเดลที่ “ควบคุมได้” เพื่อบาลานซ์ระหว่างการเติบโตของเครือข่ายและแรงจูงใจให้ผู้ตรวจสอบ (validators)
-
ใครเป็นเจ้าของ Solana?
คริปโตเหรียญนี้ถูกพัฒนาโดยทีม Solana Labs ที่มี Anatoly Yakovenko เป็นผู้ก่อตั้งและหัวหน้าทีมวิศวกร เขาเคยทำงานด้านระบบเครือข่ายให้กับ Qualcomm มาก่อน และมีความเชี่ยวชาญด้านระบบกระจายแบบเรียลไทม์
แม้จะมีทีมหลักพัฒนาอยู่ที่ Solana Labs แต่ตัวเหรียญเองเป็นโปรเจกต์แบบ Open-source และขับเคลื่อนโดย ชุมชนนักพัฒนา (community-driven) ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องทั่วโลก
นอกจากนี้ยังมี Solana Foundation ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่สนับสนุนการเติบโตของระบบนิเวศ
-
Solana ปลอดภัยไหม?
โดยภาพรวม Solana ถือว่า มีความปลอดภัยสูง ด้วยกลไกฉันทามติแบบ PoH + PoS ที่ผสมผสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ และมีระบบการตรวจสอบธุรกรรมที่เข้มงวด อย่างไรก็ตามเหรียญนี้เคยเผชิญกับปัญหาเครือข่ายหยุดทำงานหลายครั้งในอดีต โดยเฉพาะในปี 2022–2023 ซึ่งแม้จะมีการอัปเกรดเพื่อแก้ไขแล้ว แต่เรื่อง “ความเสถียร” ก็ยังคงเป็นจุดที่ต้องติดตาม Solana Labs ได้ลงทุนกับการอัปเดตระบบควบคุม node และปรับปรุงความสามารถในการจัดการธุรกรรมให้ดียิ่งขึ้น เพื่อป้องกันเหตุล่มซ้ำ
-
ทำไม Solana ถึงถูกเรียกว่า Ethereum Killer?
เหรียญนี้ได้รับฉายานี้เพราะมันออกแบบมาเพื่อ “แก้จุดอ่อน” หลายอย่างของ Ethereum โดยเฉพาะในด้าน
- ความเร็ว: ประมวลผลธุรกรรมได้สูงกว่า 65,000 TPS (ในขณะที่ Ethereum เดิมทำได้แค่หลักสิบ)
- ค่าธรรมเนียมต่ำ: ใช้เงินแค่ไม่ถึง 1 บาทต่อธุรกรรม เทียบกับ Ethereum ที่บางครั้งต้องจ่ายหลักร้อยถึงพันบาท
- รองรับแอปใช้งานจริง: ไม่ว่าจะเป็นเกม Web3, NFT, หรือ DeFi ที่ต้องการความเร็วและต้นทุนต่ำ แม้ยังมีข้อจำกัดบางด้าน แต่เหรียญนี้ก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า มันคือหนึ่งในบล็อกเชนที่พร้อมรองรับการใช้งานระดับ mass adoption ได้จริง
Solana (SOL) คือหนึ่งในบล็อกเชนที่มีศักยภาพสูงมากในยุคนี้ ด้วยจุดเด่นเรื่อง ความเร็วสูง ค่าธรรมเนียมต่ำ และรองรับการใช้งานในระดับ mass adoption ไม่ว่าจะเป็น NFT, เกม Web3, หรือแอป DeFi ต่าง ๆ
เบื้องหลังความแรงของคริปโตฯ เหรียญนี้มาจากเทคโนโลยีที่ออกแบบมาเฉพาะตัวอย่าง Proof of History (PoH) ที่ทำให้ธุรกรรมเร็วและมีลำดับชัดเจน ทำงานร่วมกับระบบ Proof of Stake (PoS) ที่ช่วยกระจายอำนาจและยืนยันธุรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แม้ในอดีต Solana จะเคยเจอปัญหาเรื่องความเสถียรของเครือข่าย แต่ปัจจุบันก็มีการอัปเกรดอย่างต่อเนื่อง และได้รับความสนใจจากทั้งนักพัฒนา ผู้ใช้งาน และแม้แต่บริษัทระดับโลกที่เริ่มถือเหรียญ SOL ไว้ในพอร์ตสินทรัพย์
ด้วยระบบนิเวศที่เติบโตต่อเนื่อง มีแอปพลิเคชันใช้งานจริงมากมาย และฐานผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นทุกปี SOL จึงไม่ใช่แค่เหรียญเก็งกำไร แต่เป็น “กุญแจสำคัญ” ของโลก Web3 ที่กำลังขยายออกไปในอนาคต

คำเตือน
*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
**บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการให้คำแนะนำทางการเงินแต่อย่างใด
อ้างอิง
Share this
- Bitazza Blog (81)
- Crypto Weekly (41)
- DAO (15)
- Beginner (14)
- mission (11)
- ความปลอดภัย (11)
- บล็อกเชน (8)
- Learning Hub (6)
- การค้าขาย (6)
- หัวข้อเด่น (6)
- Tether (USDt) (5)
- ตลาด (5)
- วิจัย (5)
- bitcoin (4)
- Campaigns (3)
- Security (3)
- missions (3)
- เศรษฐศาสตร์ (3)
- Bitazza Insights (2)
- Stablecoin (2)
- Token talk (2)
- Trading (2)
- เกี่ยวกับการสอน (2)
- Crypto รายสัปดาห์ (1)
- Disclosure (1)
- ENJ (1)
- Educational (1)
- Featured (1)
- KYC (1)
- NFTs (1)
- SEC (1)
- TRUMP (1)
- TradingView (1)
- บิทาซซ่าบล็อกส์ (1)