Bitazza Thailand Blog

มาทำความรู้จัก DeFi Protocol โลกการเงินไร้ศูนย์กลางกัน

 

DeFi Protocol คืออะไร ? 

ระบบการเงินไร้ศูนย์กลางหรือ DeFi (Decentralized Finance) เกิดขึ้นในช่วงปี 2020 และกลายเป็นหนึ่งใน Narrative สำคัญของโลกสินทรัพย์ดิจิทัลนับตั้งแต่ตอนนั้นและยังคงเป็นหนึ่งในเซกเตอร์ที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนมาอย่างต่อเนื่อง 

ทั่วไปแล้ว ระบบการเงินจะต้องมีศูนย์กลางอยู่ที่สถาบันการเงินอย่างเช่นธนาคารซึ่งเป็นผู้จัดการดูแลเงินของลูกค้าทั้งหมด แต่การทำงานของ DeFi จะไม่รวมศูนย์กลางอยู่ที่ใครคนหนึ่งแต่จะมีตัวกลางที่ทำหน้าที่ให้บริการการเงินโดยไม่เข้าไปจัดการกับเงินของลูกค้าได้ซึ่งเรียกว่า DeFi Protocol 

DeFi มีการให้บริการการเงินที่ใกล้เคียงกับระบบการเงินดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยกู้ (Lending) ซึ่งเปิดให้ผู้ลงทุนสามารถนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาปล่อยกู้รับดอกเบี้ยได้ กลุ่ม Decentralized Exchange หรือ DEX ที่เปิดให้นักลงทุนนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาวางเป็นสภาพคล่องในการซื้อขายและรับส่วนแบ่งผลตอบแทนหรือที่เรียกว่า Yield Farming รวมถึง DEX ในรูปแบบของตราสารอนุพันธ์

ขณะที่ DeFi Protocol ใหม่อย่าง Liquid Staking ซึ่งทำหน้าที่รับฝากเหรียญ ETH เพื่อรับผลตอบแทนจากการ Stake เหรียญ ถือเป็นกลุ่มที่มาแรงในปีที่ผ่านมาและเติบโตรวดเร็ว

ตัวชี้วัดความนิยมใน DeFi Protocol ประกอบไปด้วยมูลค่าเงินที่ล๊อกไว้หรือ TVL ถ้าหากมีมูลค่าเติบโตแสดงว่ามีนักลงทุนที่นำเงินมาฝากไว้ใน DeFi Protocol นั้นๆเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับการวิเคราะห์ข้อมูล On Chain อย่างเช่นรายได้ที่เกิดขึ้นใน Protocol นั้นๆ รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจต่างๆที่เข้าร่วมซึ่งสะท้อนถึงความเข้มแข็งของ Protocol นั้นๆ

 

🪙โทเค็นในกลุ่ม DeFi ที่น่าสนใจ

DeFi ที่มีมูลค่าเงินที่ล๊อกไว้สูงสุดคือกลุ่ม Liquid Staking ซึ่งจะมี Protocol ที่เป็นผู้นำอันดับหนึ่งคือ Lido DAO หรือ LDO ซึ่งครองสัดส่วนกว่า 30% ของการ Stake เหรียญ ETH ทั้งหมด 

ขณะที่ DeFi ในกลุ่ม Decentralized Exchange จะประกอบไปด้วย Protocol อย่าง Uniswap (UNI),Sushiswap (SUSHI) PancakeSwap (CAKE )และ Curve Finance (CRV) ที่เป็นผู้นำตลาด ส่วน DEX ที่อยู่ในกลุ่มของ Derivatives จะมี DYDX เป็นผู้นำตลาด เช่นเดียวกับ Synthetic (SNX)

กลุ่มของ DeFi Protocol ในสายของ Lending ประกอบไปด้วย Maker (MKR) ผู้สร้างเหรียญ Stablecoins อย่าง DAI,Compound (COMP) และ AAVE  

อย่างไรก็ตามบาง Protocol อาจจะมีการให้บริการ DeFi มากกว่าหนึ่งบริการก็เป็นได้จากการที่ขยายงานเพิ่มเติม นักลงทุนจึงควรต้องหมั่นศึกษาและติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง

ปี 2024 นี้ต้องมาจับตากันว่า DeFi Protocol จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีและโปรดักต์ไปในทิศทางใดซึ่งอาจทำให้เกิด Narrative ใหม่ซึ่งทำให้ DeFi เข้าสู่ระดับ Mass Adoption ได้มากขึ้นก็เป็นได้

*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้