Bitazza Thailand Blog

ผลตอบแทน ETH ต่ำกว่า BTC 44% จากพื้นฐานอ่อนแอ

100924_Newsletter-10-16-Sep-24_CH-Cover-TH-1200x908

 

สัปดาห์ที่ 10-16 กันยายน 2567

VanEck สรุปเหตุผลที่กดดันราคา Ethereum (ETH) ว่ามาจากรายได้ที่ลดลงภายในเชน รวมถึงการมีบล็อกเชนเลเยอร์ 2  และบล็อกเชนทางเลือกอย่าง Solana (SOL) ที่มีค่าธรรมเนียมถูกกว่าเข้ามาแย่งตลาดไป

CryptoQuant เปิดเผยข้อมูลว่า นับตั้งแต่ Ethereum เปลี่ยนมาใช้ระบบ Proof-of-Stake เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ผลตอบแทนของ Ethereum ตามหลัง Bitcoin (BTC) อยู่ 44% และยังมีผลตอบแทนต่ำกว่าเหรียญในกลุ่มเดียวกันอย่าง Solana (SOL) และ Binance (BNB) ที่ 53% และ 18% ตามลำดับ

VanEck กำลังจะปิดตัว Ethereum Futures ETF ในวันที่ 16 กันยายนนี้ จากสาเหตุเรื่องผลการดำเนินงาน สภาพคล่อง สินทรัพย์ภายใต้การบริหาร และความสนใจของนักลงทุน ประกอบกับการเข้ามาของ Spot Ethereum ETF ที่ดึงความสนใจจากนักลงทุนไป

ข้อมูลจาก SoSoValue รายงานว่า Spot Bitcoin ETF มีเม็ดเงินไหลออกในสัปดาห์ที่ผ่านมา 706 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าสูงสุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ขณะที่ Spot Ethereum ETF ก็ยังไม่ฟื้นตัวและมีเงินไหลออกกว่า 91 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนดัชนี Fear & Greed ในกลุ่มคริปโทเคอร์เรนซี ลดลงมาอยู่ระดับ 29 คะแนน ณ 8 กันยายน 2567 สะท้อนว่า นักลงทุนมีความกังวลสูงมาก

The Block รายงานค่าธรรมเนียมจาก DeFi Protocol ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ลดลง 24.4% เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม ถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2567 โดยโปรเจกต์ที่สร้างค่าธรรมเนียมสูงสุด คือ Lido รองลงมาเป็น Uniswap Jito และ Pancakeswap โดยเหตุผลที่ความสนใจใน DeFi (decentralized finance) ลดลงมาจากนักลงทุนหันไปสนใจเหรียญมีมมากกว่า

MV Global บริษัทลงทุนของ Web3MV Global เผยแพร่บทวิเคราะห์ระบุว่า เครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพแบบกระจายอำนาจหรือ DePins (decentralized physical infrastructure networks) จะเป็นการเติบโตครั้งใหม่ของ Web 3 โดยปัจจุบัน DePins ประกอบด้วยโครงการกว่า 1,000 โครงการและมีมูลค่าตลาดรวมกว่า 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


วิเคราะห์กราฟเทคนิค


 

technical-th-01@1-Sep-10-2024-12-42-02-6923-PM

 

Bitcoin (BTC)

Bitcoin (BTC) มีแรงเทขายจนลงมาแตะระดับแนวรับ 49,000 ดอลลาร์สหรัฐ จับตาแนวรับดังกล่าวหากไม่สามารถยืนอยู่ได้อาจลงมาถึงแนวรับ 44,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้ตัดขาดทุนออกไปก่อน ขณะที่ RSI (relative strength index) เข้าเขตขายมากเกินไป (oversold) อาจมีการฟื้นตัวกลับของราคาโดยมีเป้าหมายแนวต้านที่ 65,000 ดอลลาร์สหรัฐ

 

  • แนวรับ : 1,760,000 บาท / 49,000 USD
  • แนวต้าน : 2,200,000 บาท / 65,000 USD

 

technical-th-02@1-Sep-10-2024-12-42-02-6142-PM

 

Ethereum (ETH)

Ethereum (ETH) อ่อนแรงลงอย่างต่อเนื่อง ระวังที่แนวรับ 2,100 ดอลลาร์สหรัฐ หากรับไม่อยู่ให้ตัดขาดทุนออกไปก่อนเพราะอาจลงได้ต่อถึงระดับ 1,600 ดอลลาร์สหรัฐ หากสามารถยืนได้อาจเป็นจังหวะการเก็งกำไรระยะสั้นมีเป้าหมายที่แนวต้าน 2,750 ดอลลาร์สหรัฐ แต่เน้นแค่เก็งกำไรระยะสั้นเพราะแนวโน้มหลักยังเป็นขาลง

  • แนวรับ : 72,000 บาท / 2,100 USD
  • แนวต้าน : 96,000 บาท / 2,750 USD

 

technical-th-03@1-Sep-10-2024-12-42-02-6906-PM

 

ApeCoin (APE)

ApeCoin (APE) ทำผลตอบแทนที่ 22.86% ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีแรงซื้อกลับเข้ามาหลังจากลงไปทำจุดต่ำสุดที่ราคา 0.0470 ดอลลาร์สหรัฐ ใช้ราคานี้เป็นจุดตัดขาดทุนหากราคาปรับตัวลงต่อ แนวต้านแรกอยู่ที่ 0.870 ดอลลาร์สหรัฐ ถ้าจะกลับมาเป็นขาขึ้นต้องผ่านแนวต้านนี้ไปให้ได้ก่อน

  • แนวรับ : 18 บาท / 0.470 USD
  • แนวต้าน : 34 บาท / 0.870 USD

technical-th-04@1-Sep-10-2024-12-42-02-7482-PM

 

Sui (SUI)

Sui (SUI) ทำผลตอบแทน 19.89% ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคากำลังยกตัวสูงขึ้นเพื่อกลับตัวเป็นขาขึ้น อาศัยจังหวะราคาย่อตัวเข้าซื้อที่แนวรับแรก 0.7455 ดอลลาร์สหรัฐ ถ้ารับไม่อยู่ให้ตัดขาดทุนไปก่อน แต่หากรับได้จะมีแนวต้านในการขายทำกำไรที่ 1.177 ดอลลาร์สหรัฐ

  • แนวรับ : 24  บาท / 0.7455  USD
  • แนวต้าน : 40  บาท / 1.177 USD

จับกระแสการลงทุน   


การประกาศตัวเลข Non Farm Payroll ลดลงกว่าที่คาดไว้ค่อนข้างมาก ทำให้ตลาดมีความวิตกกังวลว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยจนคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) จะต้องลดดอกเบี้ยลงถึง 0.5% ในการประชุมรอบหน้า ทำให้เกิดแรงเทขายในตลาดหุ้นและตลาดคริปโทเคอร์เรนซี

วันพุธที่ 11 กันยายนนี้จะมีการประกาศตัวเลขอัตราเงินเฟ้อหรือ Consumer Price Index (CPI) ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่า จะอยู่ที่ 2.6% ลดลง 2.9% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หากตัวเลขเป็นไปตามที่คาดไว้จะยิ่งทำให้ตลาดมั่นใจว่า FOMC จะลดดอกเบี้ยครั้งแรกในวันที่ 19 กันยายนหรือสัปดาห์หน้า

นอกจากนี้ ตลาดการเงินเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่ FOMC จะใช้ยาแรงด้วยการลดดอกเบี้ย 0.5% ไปแล้ว แม้ว่ามีโอกาสจะเกิดแรงขายในตลาดหุ้นต่อ แต่การลดดอกเบี้ยลงไม่ว่าอัตราเท่าใดจะส่งผลบวกต่อราคา Bitcoin ค่อนข้างแน่นอน การปรับตัวลงมาในระดับแนวรับจึงเป็นโอกาสในการทยอยสะสมในระยะยาว

ตามสถิติช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี ตลาดการลงทุนมักจะให้ผลตอบแทนที่ดีเสมอ จึงมองว่าในช่วงที่เหลือของเดือนกันยายนจะเป็นโอกาสในการทยอยลงทุนในตลาดคริปโทเคอร์เรนซีโดยเฉพาะเหรียญขนาดใหญ่อย่าง Bitcoin (BTC), Ethereum (ETH), Solana (SOL) และ Binance (BNB) โดยให้ชะลอการลงทุนหากราคา Bitcoin ลดลงต่ำกว่าระดับ 49,000 ดอลลาร์สหรัฐ 

 

 แหล่งอ้างอิง

คำเตือน

  • คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
  • ผลตอบแทนของสินทรัพย์ดิจิทัลในอดีตหรือผลการดําเนินงานในอดีต มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลตอบแทน ของสินทรัพย์ดิจิทัลหรือผลการดําเนินงานในอนาคต

 

หมายเหตุ มุมมอง ข้อมูลความรู้ และความคิดเห็นถือมาเป็นเนื้อหาที่มาจากปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้อง และไม่ได้ถือเป็นการแสดงออกจากบิทาซซ่าและพนักงาน ทั้งอีเมลและเนื้อหาที่นำเสนอไม่ถือเป็นคำแนะนำด้านการลงทุน