Share this
กลยุทธ์การเทรด: แนวรับและแนวต้าน
แนวรับและเเนวต้านนั้นเป็นหลักในการเทรดพื้นฐานที่มีการใช้มากที่สุด เราลองมาดูกันว่าหลักการพื้นฐานของมันเป็นอย่างไร
ถ้าเราดููจากกราฟด้านบนเราจะเป็นเส้นซิกแซกที่เป็นรูปแบบของกราฟตลาดขาขึ้นหรือที่เราเรียกว่าตลาดกระทิง เมื่อเวลาที่ตลาดมีการปรับตัวขึ้นมันจะต้องมีการดึงกลับเสมอ โดยจุดสูงสุดก่อนที่มันจะปรับตัวดึงกลับจะถูกเรียกว่า “แนวต้าน” และก่อนที่ตลาดจะไปต่อจุดกลับตัวที่ต่ำที่สุดก่อนกราฟจะเด้งขึ้นนั้นเราจะเรียกมันว่า “แนวรับ”
แนวรับและแนวต้านนั้นจะเกิดขึ้นตลอดเวลาในตลาด ซึ่งแม้มันจะอยู่ในสภาพตลาดซบเซาหรือตลาดหมีแนวรับและแนวต้านก็ยังเกิดขึ้นเสมอ
หนึ่งในหลักการของแนวรับและแนวต้านคือการที่แนวรับจะกลายเป็นแนวต้านหรือแนวต้านจะกลายเป็นแนวรับเมื่อราคาของตลาดพุ่งขึ้นหรือลงนั้นทะลุเกินแนวรับและแนวต้าน
การตีเส้นแนวรับและแนวต้าน
หนึ่งในเรื่องที่ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวรับและแนวต้านคือมันไม่ใช่หลักการทางวิทยศาสตร์เพราะฉะนั้นมันเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยที่แนวรับหรือแนวต้านจะถูกทำลายและตลาดก็กลับตัวหลังจากนั้นไม่นาน ซึ่งมันอาจเกิดขึ้นได้ในขณะที่ตลาดกำลังทดสอบแนวรับแนวต้านหรือบางทีมันอาจจะเป็นกับดัก (Trap)
ถ้าเราใช้กราฟแท่งเทียนเราจะเห็นช่วงทดสอบของแนวรับและแนวต้านในโซนสีเทา
ลองสังเกตุว่าแท่งเทียนนั้นจะตกลงมาใกล้แนวรับมากจนเหมือนกับว่ามันอาจจะทำลายโซนแนวรับซึ่งเป็นการทดสอบแนวรับของตลาด
แล้วทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแนวรับหรือแนวต้านถูกทำลาย ซึ่งที่จริงแล้วมันไม่มีคำตอบที่แน่นอนสำหรับคำถามนี้ บางคนอาจจะบอกว่าแนวรับและแนวต้านจะถูกทำลายเมื่อราคาของมันผ่านช่วงระดับนั้นไปแล้ว แต่ถ้าคุณถามนักเทรดที่มีประสบการณ์หละก็ คำตอบที่ได้คือมันไม่เป็นอย่างนั้นเสมอไป
เราลองมาดูตัวอย่างด้านบนว่าเกิดอะไรเมื่อราคานั้นใกล้จะทะลุแนวรับ
.
อย่างที่คุณเห็นว่าราคานั้นปิดที่ใต้แนวรับแต่ราคากลับไต่ขึ้นต่อในทันที ซึ่งถ้าคุณขาย Bitcoin ไปในช่วงนั้นคุณอาจจะขายมันไปในตอนที่ราคาต่ำที่สุด
สิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับแนวรับและแนวต้าน
- แนวรับและแนวต้านนั้นมันจะถูกระบุเป็นช่วงมากกว่าที่จะระบุแบบตรงตัว
- เมื่อราคานั้นพุ่งทะลุแนวต้าน แนวต้านนั้นอาจจะกลายเป็นแนวรับ
- เมื่อราคาถูกทดสอบบ่อยๆที่เเนวรับหรือแนวต้านโดยที่ไม่ได้ทำลายแนวรับหรือแนวต้านนั้นซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงความแข็งของแนวรับและแนวต้าน
- เมื่อแนวรับหรือแนวต้านถูกทำลาย การพุ่งขึ้นหรือลงของราคามันจะขึ้นอยู่กับว่าราคานั้นถูกทดสอบในแนวรับหรือแนวต้านมานานเท่าใด
ถ้าคุณได้ฝึกฝนเสียหน่อยคุณจะสามารถหาแนวรับและแนวต้านได้อย่างง่ายดาย
Share this
- Bitazza Blog (111)
- Crypto Weekly (47)
- DAO (15)
- Beginner (14)
- mission (11)
- ความปลอดภัย (11)
- Tether (USDt) (8)
- บล็อกเชน (8)
- bitcoin (7)
- missions (7)
- Learning Hub (6)
- การค้าขาย (6)
- หัวข้อเด่น (6)
- ตลาด (5)
- วิจัย (5)
- Campaigns (3)
- Security (3)
- เศรษฐศาสตร์ (3)
- Bitazza Insights (2)
- Social Features (2)
- Stablecoin (2)
- Token talk (2)
- Trading (2)
- TradingView (2)
- เกี่ยวกับการสอน (2)
- Crypto รายสัปดาห์ (1)
- Disclosure (1)
- ENJ (1)
- Educational (1)
- Featured (1)
- KYC (1)
- NFTs (1)
- SEC (1)
- TRUMP (1)
- บิทาซซ่าบล็อกส์ (1)
Subscribe by email

WAN Coin คืออะไร? เหรียญจาก Wanchain กับโซลูชันเชื่อมต่อบล็อกเชน

NEAR Coin คืออะไร? แพลตฟอร์มบล็อกเชนใช้งานง่ายสำหรับทุกคน

มาเลเซียเปิดตัวฮับสินทรัพย์ดิจิทัล เตรียมทดลอง Stablecoin ผูกเงินริงกิต

DOT Coin คืออะไร? เจาะลึก Polkadot และระบบเชื่อมบล็อกเชนแห่งอนาคต

ส่อง PNUT Coin เหรียญมีมมาแรงบน Solana

TON Coin คืออะไร? ทำความรู้จักเหรียญจาก Telegram และอนาคตของ Web3

รู้จัก NOT Coin คืออะไร? เหรียญไวรัลจาก Telegram ที่กำลังเปลี่ยนเกมคริปโตฯ

BabyDoge คืออะไร? วิเคราะห์อนาคตเหรียญมีมในตลาดคริปโตปี 2025

AAVE คืออะไร? แพลตฟอร์มกู้ยืมในโลก DeFi ที่นักลงทุนต้องรู้
