Share this
ถอดรหัสบล็อกเชนเลเยอร์ 1 รากฐานสำคัญที่กำหนดอนาคตของ dApp

ก่อนที่แพลตฟอร์ม Web 3 ในภาคส่วนต่างๆ เช่น การเงินแบบกระจายศูนย์ (DeFi), GameFi และ NFT จะเข้าถึงผู้ใช้คริปโทเคอร์เรนซี แพลตฟอร์มพวกนี้จำเป็นจะต้องถูกสร้างเป็น dApp บนบล็อกเชนเลเยอร์ 1 (Blockchain Layer 1) ซึ่งทำหน้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของทั้งเครือข่ายเสียก่อน เพราะเหตุผลนี้เองที่ทำให้เหรียญในกลุ่มบล็อกเชนเลเยอร์ 1 เติบโตอย่างต่อเนื่องและเป็นกลุ่มที่ได้รับการยอมรับจากนักลงทุนเสมอมา
บล็อกเชนเลเยอร์ 1 ทำงานอย่างไร
ในโลกของบล็อกเชนจะมีคำว่า Decentralized Application หรือ dApp หมายถึง แอปพลิเคชันที่ทำงานแบบกระจายศูนย์ ต่างจากแอปพลิเคชันในยุค Web 2 ที่ทำงานแบบรวมศูนย์ dApp พวกนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่ออุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตไม่ว่าจะเป็น DeFi, GameFi หรือ NFT
การพัฒนา dApp เหล่านี้ นักพัฒนาไม่จำเป็นต้องสร้างบล็อกเชนใหม่ของตัวเอง แต่สามารถใช้งานบล็อกเชนที่มีอยู่แล้วเพื่อพัฒนาต่อได้ทันทีทำให้สามารถประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ไปจนถึงการได้รับการสนับสนุนจากผู้พัฒนาบล็อกเชนนั้น ๆ
อย่างเช่น Ethereum ซึ่งเป็นบล็อกเชนที่มีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางที่สุด ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แพลตฟอร์ม DeFi หลายแห่งที่เริ่มแรกถูกสร้างบน Ethereum เช่น UniSwap และ Aave ได้สร้างชื่อเสียงและมูลค่าบนเครือข่ายนี้ จากพลังการประมวลผลของ Ethereum Virtual Machine (EVM) ทำให้ dApp ต่าง ๆ ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำงานโดยการดำเนินการสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) ผ่านซอฟต์แวร์นี้
นอกจากนี้ Blockchain Layer 1 ยังมี Smart Contract ให้ dApp ต่าง ๆ สามารถทำงานได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคนเป็นศูนย์กลาง ทำให้ผู้ใช้งานหรือคอมมูนิตี้สามารถร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มได้โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง เพียงแค่เข้าสู่ระบบบนแพลตฟอร์มโดยใช้วอลเล็ตของตนเองที่สามารถเข้าถึงเครือข่ายนั้น ๆ อย่างเช่น เมื่อคุณทำฟังก์ชันบน dApp เช่น การเคลื่อนไหวในเกมหรือการแลกเปลี่ยนโทเคน คุณจะต้อง "เซ็น" ในหน้าต่างที่เด้งขึ้นมาเพื่อยืนยันธุรกรรม นั่นคือสัญญาอัจฉริยะ
ตลาดบล็อกเชนเลเยอร์ 1แข่งขันสูงแค่ไหน
บล็อกเชนเลเยอร์ 1 ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับ dApp ดังนั้นการที่จะดึงให้นักพัฒนาหันมาใช้งานบล็อกเชนของค่ายใดค่ายหนึ่งจะต้องมีจุดขายที่ดีพอ ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมหรือค่าแก๊ส (Gas Fee) ที่ต่ำ รวมถึงความเร็วในการทำธุรกรรมที่สูงกว่าค่ายอื่น บวกกับจุดเด่นที่ค่ายอื่นไม่สามารถเลียนแบบได้ ไปจนถึงการส่งเสริมระบบนิเวศในด้านต่าง ๆ
เหรียญไหนอยู่ในกลุ่มบล็อกเชนเลเยอร์ 1
คุณสมบัติของเหรียญในกลุ่มนี้จะสามารถนำมาใช้จ่ายค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมหรือค่าแก๊สได้ ตลอดจนใช้เพื่อโหวตนโยบายต่าง ๆ ที่จะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงของบล็อกเชน ดังนั้นหากมีการใช้งานบล็อกเชนใดมากขึ้นจะส่งผลต่อความต้องการเหรียญของบล็อกเชนนั้น ๆ จนนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าขึ้นได้
เหรียญที่อยู่ในกลุ่มนี้ เริ่มตั้งแต่ Ethereum ที่เป็นบล็อกเชนต้นแบบของการทำ dApp ตั้งแต่ยุค ICO ตามมาด้วยกลุ่มที่พยายามจะแข่งขันกับ Ethereum ไม่ว่าจะเป็น Cardano (ADA), Polkadot (DOT), Solana (SOL), Avalanche (AVAX), The Open Network (TON), Near Protocol (NEAR) และอื่น ๆ
วิเคราะห์เหรียญในกลุ่มบล็อกเชนเลเยอร์ 1 จากอะไรได้บ้าง
การวิเคราะห์ว่าบล็อกเชนของค่ายไหนจะมีจำนวนผู้ใช้งานสูงกว่าค่ายอื่นสามารถพิจารณาได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นจำนวนของ dApp ในระบบ หรือการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนบล็อกเชน (On-Chain) จากมูลค่าเงินที่ล็อกไว้หรือ TVL (Total Value Locked) ซึ่งจะบ่งบอกถึงมูลค่าของเงินที่นักลงทุนนำมาลงทุนผ่าน dApp ในบล็อกเชนนั้น ๆ
นอกจากนี้ ยังวิเคราะห์ได้จากรายได้ (Revenue) และค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นบนบล็อกเชนนั้น ๆ ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกจำนวนการทำธุรกรรมหรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นใน dApp นั้น ๆ ยิ่งมีกิจกรรมมากเท่าไรก็จะทำให้เกิดความต้องการเหรียญของบล็อกเชนนั้น ๆ มากขึ้น รวมทั้งยังพิจารณาได้จากโทเคนที่สร้างขึ้นจากบล็อกเชนนั้น ๆ หรือ dApp ที่อยู่ในตลาดว่าได้รับความนิยมหรืออยู่ในกระแสมากน้อยเท่าไร
เหรียญในกลุ่มบล็อกเชนเลเยอร์ 1 ถือเป็นเหรียญที่นักลงทุนในโลกคริปโทเคอร์เรนซีให้ความสนใจเป็นอย่างมากและยังมีความมั่นคงสูง แต่การแข่งขันก็ค่อนข้างสูงตามไปด้วย การจะวิเคราะห์หาเหรียญในกลุ่มนี้เพื่อลงทุนจึงต้องพิจารณาองค์ประกอบหลายด้าน
แหล่งอ้างอิง
- https://cointelegraph.com/learn/articles/a-beginners-guide-to-understanding-the-layers-of-blockchain-technology
- https://www.investopedia.com/what-are-layer-1-and-layer-2-blockchain-scaling-solutions-7104877
คำเตือน
- คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจํานวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
หมายเหตุ มุมมอง ข้อมูลความรู้ และความคิดเห็นถือมาเป็นเนื้อหาที่มาจากปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้อง และไม่ได้ถือเป็นการแสดงออกจากบริษัท บิทาซซ่า จำกัดและพนักงาน เนื้อหาที่นำเสนอไม่ถือเป็นคำแนะนำด้านการลงทุน
Share this
- Bitazza Blog (111)
- Crypto Weekly (47)
- DAO (15)
- Beginner (14)
- mission (11)
- ความปลอดภัย (11)
- Tether (USDt) (8)
- บล็อกเชน (8)
- bitcoin (7)
- missions (7)
- Learning Hub (6)
- การค้าขาย (6)
- หัวข้อเด่น (6)
- ตลาด (5)
- วิจัย (5)
- Campaigns (3)
- Security (3)
- เศรษฐศาสตร์ (3)
- Bitazza Insights (2)
- Social Features (2)
- Stablecoin (2)
- Token talk (2)
- Trading (2)
- TradingView (2)
- เกี่ยวกับการสอน (2)
- Crypto รายสัปดาห์ (1)
- Disclosure (1)
- ENJ (1)
- Educational (1)
- Featured (1)
- KYC (1)
- NFTs (1)
- SEC (1)
- TRUMP (1)
- บิทาซซ่าบล็อกส์ (1)
Subscribe by email

WAN Coin คืออะไร? เหรียญจาก Wanchain กับโซลูชันเชื่อมต่อบล็อกเชน

NEAR Coin คืออะไร? แพลตฟอร์มบล็อกเชนใช้งานง่ายสำหรับทุกคน

มาเลเซียเปิดตัวฮับสินทรัพย์ดิจิทัล เตรียมทดลอง Stablecoin ผูกเงินริงกิต

DOT Coin คืออะไร? เจาะลึก Polkadot และระบบเชื่อมบล็อกเชนแห่งอนาคต

ส่อง PNUT Coin เหรียญมีมมาแรงบน Solana

TON Coin คืออะไร? ทำความรู้จักเหรียญจาก Telegram และอนาคตของ Web3

รู้จัก NOT Coin คืออะไร? เหรียญไวรัลจาก Telegram ที่กำลังเปลี่ยนเกมคริปโตฯ

BabyDoge คืออะไร? วิเคราะห์อนาคตเหรียญมีมในตลาดคริปโตปี 2025

AAVE คืออะไร? แพลตฟอร์มกู้ยืมในโลก DeFi ที่นักลงทุนต้องรู้
