Bitazza Thailand Blog

บทเรียนวิกฤตเหรียญ LUNA ข้อคิดจากอดีตสู่อนาคต

what is terra luna coin

 

เรียกว่าเป็นตัวอย่างของคำว่า ‘To the Moon’ ได้เห็นภาพชัดที่สุด เมื่อเหรียญ ‘Stable Coin’ อย่างเหรียญ UST ที่มีเหรียญ Luna เป็น Governance Token ทำ All time High จากมูลค่าเริ่มต้นอยู่ระหว่าง $0.2 - $0.5 เมื่อปี 2020 ไปที่มูลค่ากว่า ~$119 ในเดือนเม.ย. 2022 บรรยากาศการลงทุนเป็นไปในทิศทางบวก ข่าวต่าง ๆ ตอบรับ นักเทรดและตลาดมั่นใจว่าเหรียญนี้ จะมาเป็นคู่แข่งกับเหรียญยอดนิยมอย่าง USDT และ USC แต่แล้วเพียงเดือนเดียวมูลค่าเหรียญกลับดิ่งลงถึง 99.999% หรือเหลือเพียง $0.001 เท่านั้นวิกฤตนี้เกิดจากอะไร มาดูไปพร้อม ๆ กันเลย

 


ข่าวล่าสุดเกี่ยวกับเหรียญ LUNA

ก่อนจะย้อนไปถึงอดีตอันรุ่งโรจน์ของเหรียญ LUNA มาอัปเดตสถานะปัจจุบันของเหรียญนี้กัน เชื่อว่านักลงทุนคงได้ตามแผนกอบกู้เหรียญนี้จาก Terra มาแล้วโดยการแบ่งแพลตฟอร์ม Blockchain ใหม่ เรียกว่า Terra 2.0 โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แบบเก่าที่ใช้ชื่อ ‘Terra Blockchain’ ที่ยังเชื่อมต่อกับ UST เปลี่ยนโทเคนจาก LUNA ไปเป็น LUNA Classic (LUNC) และ ‘Terra LUNA Blockchain’ เป็นบล็อกเชนใหม่ที่ไม่มีการเชื่อมต่อกับ Stable Coin โดยใช้ชื่อโทเคน ‘LUNA’ และถูกจำกัดจำนวนที่ 1 พันล้านโทเคน ไปแล้วในปี 2022 

โดยเดือนตุลาคม ปี 2024 ได้มีการ Burn หรือเผาเหรียญ LUNC ครั้งใหญ่กว่า 250 พันล้านโทเคน เพื่อลดปริมาณเหรียญที่หมุนเวียนกว่า 6 ล้านล้านโทเคน เป็นปริมาณเพียง 4% ของโทเคนทั้งหมด 

และเมื่อเดือนมกราคม ปี 2025 Terra LUNC ก็ยังคงดำเนินการเผาเหรียญอยู่ โดยไปเผาโทเคน Axelar ที่ไม่ได้ใช้งานแล้วออกจากระบบนิเวศ ในการอัปเดต v2.14.0 โดยทำให้ราคาก LUNA กลับมาอยู่ที่ $0.3204 โดยมีปริมาณซื้อขายเพิ่มขึ้น 73% เป็น 39.8 ล้านดอลลาร์ รวมถึง LUNC ก็เพิ่มขึ้น 4% เช่นกัน

เมื่อเห็นสถานะปัจจุบันของเหรียญ LUNA แล้ว ก็มาดูกันว่าที่มาที่ไปของเหรียญนี้เป็นอย่างไร และน่าสนใจหรือควรพิจารณาลงทุนมากน้อยแค่ไหนมาดูไปพร้อม ๆ กันเลย

 


 

lunca cryto

 

เหรียญ LUNA คืออะไร?

เหรียญ LUNA คือ เหรียญแบบ Algorithmic Stablecoin โดยเป็นการตรึงมูลค่าเหรียญโทเคนผ่านเหรียญ Stable Coin อย่าง UST ที่อัตรา 1:1 หรือ ใช้โทเคน LUNA มารักษาสภาพมูลค่าของ UST โดยที่ 1 UST = $1 โดยใช้วิธีการ Mint & Burn

วิธีการคือ หากมูลค่า 1 UST > $1 ก็จะทำการ Burn เหรียญ LUNA เพื่อ Mint เหรียญ UST 

หรือหากมูลค่า 1 UST < $1 ก็จะทำการ Burn เหรียญ UST เพื่อ Mint เหรียญ LUNA 

โดยวิธีการนี้จะเป็นการสร้างสภาวะอุปสงค์/อุปทานของเหรียญขึ้นมาเพื่อตรึงมูลค่าเหรียญ UST ให้เท่ากับ $1 เสมอ นั่นเอง แน่นอนว่าวิธีการนี้เป็นที่มาของวิกฤตที่เรียกว่า Terra-Luna นั่นเอง

ปัจจุบัน Terra ใช้วิธีการแบ่ง Blockchain ออกเป็น 2 แพลตฟอร์ม โดยแพลตฟอร์มใหม่ Terra LUNA Blockchain จะไม่เกี่ยวข้องกับ Stable Coin แต่อย่างใด และแพลตฟอร์มเดิมก็เปลี่ยนกลับมาใช้ เหรียญ LUNA Classic (LUNC) และเลิกใช้วิธีการ Algorithmic Stablecoin มาใช้กลไก Delegated Proof of Stake (DPoS) และใช้เป็นบล็อกเชน DApps (Decentralized Applications) และรองรับการทำ Web3

 


LUNA มีทั้งหมดกี่เหรียญ

ปัจจุบันเมื่อมีการทำแผนฟื้นฟูแล้ว เหรียญ LUNA จึงมีทั้งหมด 2 เหรียญ คือ เหรียญ LUNA ที่ใช้ Terra 2.0 และเหรียญ Luna Classic (LUNC) ที่ยังคงผูกอยู่กับ UST นั่นเอง 

 


Luna เคยขึ้นสูงสุดกี่บาท

จะเห็นว่าก่อนที่จะเกิดวิกฤต Terra-Luna ราคาเหรียญ LUNC พุ่งสูงสุดที่ $119 ในวันที่ 5 เม.ย. 2022 หลังจากนั้นเมื่อผ่านแผนฟื้นฟู Terra 2.0 และออกเหรียญใหม่เป็น LUNA ราคาเหรียญอยู่ที่ $19.54 ในวันที่ 28 พ.ค. 2022 โดยปัจจุบัน LUNC มูลค่าอยู่ที่ $0.00007659 (16 ก.พ. 2025) และเหรียญ LUNA มูลค่าอยู่ที่ $0.2643 (16 ก.พ. 2025) 

 


ประวัติของเหรียญ LUNA

จากที่ได้รู้วิธีการทำงานคร่าว ๆ ของเหรียญ LUNA แล้ว ก็มาดูย้อนดูต้นกำเนิดและประวัติของเหรียญนี้กันบ้าง โดยเหรียญนี้ก่อตั้งโดย Terra Blockchain ที่มี Do Kwon และ Daniel Shin ภายใต้บริษัท Terraform Labs (TFL) ซึ่งมีคอนเซ็ปท์การสร้างเหรียญ Stable Coin ที่มีเสถียรภาพและใช้ระบบนิเวศที่ซัพพอร์ตกันได้อย่างแข็งแกร่ง จึงมีการใช้คอนเซ็ปท์อัลกริธึ่มแบบ Algorithmic Stablecoin ใช้อุปสงค์-อุปทานในการตรึงมูลค่าเหรียญให้เป็น 1 UST = $1 ด้วยวิธีการ Mint & Burn เหรียญ เพื่อรักษามูลค่าเหรียญเอาไว้

 


 

terra luna cryto crisis

 

วิกฤตการณ์ Terra-Luna

การเกิดวิกฤตของ Terra-Luna เกิดขึ้นจากปัจจัยหลัก 2 ปัจจัย นั่นก็คือ ตัวคอนเซ็ปท์ของเหรียญ และการเก็งกำไรที่สูงจากระบบ Anchor Protocol ที่เปิดตัวมาพร้อมกับ Terra LUNA  ที่จ่ายผลตอบแทนมากถึง ~20%/ปี จนจ่ายผลตอบแทนไม่ไหว โดยเหรียญ LUNA เปิดตัวครั้งแรกในปี 2018 โดยคอนเซ็ปท์พิสูจน์ธุรกรรมแตกต่างจากเหรียญทั่ว ๆ ไปที่อิงมูลค่า จากอุปสงค์-อุปทาน รวมถึง Anchor Protocol ที่ให้นักลงทุนฝาก UST โดยได้รับผลตอบแทนสูง รวมถึงการเปิดให้กู้ยืมโดยใช้สินทรัพย์อย่าง LUNA, ETH และ ATOM เป็นหลักประกัน ทำให้นักลงทุนสนใจในการถือ UST จำนวนมาก รวมถึงการเป็นกระแสในปี 2020 จากชื่อของเหรียญ ที่มักจะเอาไปโยงกับวลี To the Moon ทำให้เกิดการ FOMO ในกลุ่มเทรดเดอร์มากขึ้น จนเป็นเหรียญที่พูดถึงและติดลมบน จนเทรดเดอร์หลาย ๆ คนสร้างผลตอบแทนได้เป็นกอบเป็นกำ แน่นอนว่าการลงทุนมีได้ ก็ย่อมมีเสีย ในเหรียญ LUNA ก็เช่นกัน

  • วันที่ 7 พ.ค. 2022 เกิดการหลุดการตรึงมูลค่าของเหรียญ UST โดยนักลงทุนทยอยถอนเงินจาก Anchor Protocol ทำให้มูลค่า UST หล่นไปที่ $0.987 ไปชั่วคราว และดีดกลับมาที่ 1 UST = $1  
  • วันที่ 9 พ.ค. 2022 นักลงทุนเริ่มเกิด Panic Sell ทำให้เกิดการเทขาย LUNA จำนวนมาก จนเกิดความผิดปกติของการ Mint & Burn ขึ้นในระบบ
  • วันที่ 10 พ.ค. 2022 ราคาเหรียญ LUNA ร่วงจาก $60 ไปที่ $10 ภายใน 24 ชม. โดย Terraform Labs ได้ทำการ Mint เหรียญ LUNA จำนวนมหาศาล เพื่อกู้ UST ให้เกิดความสมดุล
  • วันที่ 12 พ.ค. 2022 ราคาเหรียญ LUNA เหลือเพียง $0.01 พร้อมกับอุปทานของเหรียญในระบบมีจำนวนมากถึง 6.5 ล้านล้านโทเคน ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อฉับพลัน จนทำให้ Exchange เจ้าใหญ่ ๆ ระงับการซื้อขายเหรียญ LUNA ทันที
  • วันที่ 28 พ.ค. 2022 เปิดตัว Terra 2.0 ในการกู้วิกฤต แก้ไข และวางแผนฟื้นฟู โดยไม่เชื่อม Stable Coin UST อีกต่อไป และแยกจากระบบ Terra Classic ออกมา พร้อมกับแจกโทเคน LUNA (ใหม่) ผ่าน Airdrop ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ และกลับมาเทรดบนกระดาน Binance และ KuCoin ได้เหมือนเดิม

 


บทเรียนจากวิกฤตการณ์ LUNA

ถึงแม้จะมีแผนฟื้นฟูและแก้ไขวิกฤตที่เกิดขึ้นแล้ว แต่นักลงทุนยังคงกลัวการลงทุนกับเหรียญนี้ และระมัดระวังกับความเสี่ยงของ ‘Algorithmic Stablecoin’ ที่มีคอนเซ็ปท์แตกต่างจากแบบอื่น ๆ อีกทั้งรวมไปถึงการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงจนระบบไม่สามารถจ่ายผลกำไรกลับคืนมาได้ หรือมองว่าเป็นแชร์ลูกโซ่ ที่นำเงินลงทุนของหน้าใหม่ ไปจ่ายให้กับนักลงทุนที่เทรดมาก่อน 

อย่างไรก็ตามหากมองด้วยคอนเซ็ปท์ในการรักษามูลค่าเหรียญแล้ว ก็ถือว่าเป็นอีกวิธีในการตรึงราคาเหรียญที่ดึงดูดและแปลกใหม่ จนหลาย ๆ คนอาจผิดพลาดในการลงทุนได้นั่นเอง

 


อนาคตเหรียญ LUNA

อนาคตเหรียญ LUNA โดยเฉพาะจากการแยกแพลตฟอร์มมาเป็น Terra 2.0 เหรียญ LUNA จะใช้วิธีการ Proof-of-Stake จำกัดจำนวนเหรียญไม่เกิน 1 พันล้านเหรียญ ไม่มีการเชื่อมต่อ Stable Coin และใช้การทำงานสำหรับ DApps และ Web3 ถึงแม้กระดานเทรดใหญ่ ๆ จะอนุญาตให้กลับมาเทรดเหรียญนี้แล้ว ความเชื่อมั่นในเหรียญนี้ยังไม่สามารถกู้กลับมาได้ง่าย ๆ โดยยังมีคู่แข่งบนกระดานอย่าง ETH, Solana, และ Avalanche ที่มีเสถียรภาพ และเป็นเจ้าใหญ่บนกระดานเทรดที่นักลงทุนยังให้ความเชื่อมั่นอยู่

 


 

terra luna

 

เหรียญ LUNA ยังคงมีอยู่หรือไม่

เหรียญนี้ยังคงมีอยู่โดยการแบ่งเป็น 2 แพลตฟอร์มนั่นคือ Terra Classic โดยเปลี่ยนโทเคนจาก LUNA ไปเป็น LUNA Classic (LUNC) และ ‘Terra LUNA Blockchain’ หรือ Terra 2.0  ใช้โทคเคนในชื่อ LUNA บนกระดานเทรดนั่นเอง

 


เหรียญ LUNA มีโอกาสขึ้นไหม

หากมองถึงความเชื่อมั่นและความน่าสนใจการเทรดเหรียญนี้ก็ต้องพิจารณาในหลากหลายด้าน ถึงแม้จะปัจจุบันจะใช้แผนงานต่าง ๆ มากู้วิกฤต แต่นักลงทุนยังคงขาดความเชื่อมั่น นักลงทุนมีบทเรียนจากวิกฤตที่ผ่านมา ซึ่งมีปัจจัยหลายด้านในการวิเคราะห์และหาข้อมูลจนเป็นการยากที่จะฟันธงในอนาคต นักลงทุนจำเป็นต้องวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วนและเลือกลงทุนตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้นั่นเอง

 


จะเห็นได้ว่าวิกฤต Terra-Luna ทำให้เกิด Panic Sell ครั้งใหญ่ให้กับตลาด สร้างความกลัวให้กับนักลงทุน เกิดการเสียมูลค่า 99.999% ภายในคืนเดียวแล้ว วิกฤตนี้ก็ยังสร้างภูมิคุ้มกันให้กับนักลงทุน เป็นข้อเตือนใจให้กับตลาดในวงกว้าง สร้างความตระหนักในการลงทุนได้อย่างมาก และลดการ FOMO ลงทุนตามกระแสได้อย่างดี นับว่าเป็นตัวอย่างจริง เคสจริง จากวิกฤตที่เกิดขึ้นจริง เป็นยาแรงเตือนสติให้กับนักลงทุนในการเทรดคริปโตฯ ให้ระมัดระวังและหาทางป้องกันได้อย่างทันท่วงที เพราะว่าการลงทุนทุกชนิดมีความเสี่ยงที่ต้องเผชิญอยู่เสมอนั่นเอง

 


คำเตือน

*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ 
**บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการให้คำแนะนำทางการเงินแต่อย่างใด

 


อ้างอิง