ในโลกของการลงทุนและการวิเคราะห์ธุรกิจ หนึ่งในปัจจัยที่นักลงทุนควรพิจารณาและให้ความสนใจ คือ สภาพคล่องทางการเงินของบริษัท ที่สะท้อนถึงความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นและการอยู่รอดของบริษัทนั้น ๆ “Current Ratio” หรือ “อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเวียน” คือ หนึ่งในตัวชี้วัดที่ได้รับความนิยมในการแสดงถึงความมั่นคงของธุรกิจ และประเมินว่าบริษัทมีความสามารถเพียงพอในการชำระหนี้สินระยะสั้นหรือไม่ บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับ Current Ratio อย่างละเอียด พร้อมตัวอย่างวิธีการคำนวณ และแนวทางการใช้เพื่อช่วยให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Current Ratio คือ อัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเวียนที่เป็นตัวชี้วัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น (Short-term Liabilities) ที่ต้องชำระไม่เกิน 12 เดือน โดยใช้สินทรัพย์ระยะสั้นของบริษัท (Short-term Assets) หรืออธิบายง่าย ๆ ได้ว่า Current Ratio เป็นอัตราส่วนที่ใช้ประเมินสุขภาพทางการเงินโดยรวมของบริษัท ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีหรือไม่นั่นเอง
Current Ratio = สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน
ค่าที่ได้จากการคำนวณนี้จะแสดงถึงความสามารถของบริษัทในชำระหนี้สินระยะสั้น ผ่านการใช้สินทรัพย์หมุนเวียนของบริษัท
จากสูตรการคำนวณอัตราส่วนสภาพคล่องหมุนเวียน ตัวแปรแต่ละตัวมีความหมาย ดังนี้
บริษัท ABC มีข้อมูลทางการเงิน ดังนี้
สินทรัพย์หมุนเวียน = 300,000 บาท
เมื่อนำมาคำนวณตามสูตร Current Ratio จะได้
Current Ratio = 300,000/150,000 = 2.0
นั่นหมายความว่า บริษัท ABC มีสินทรัพย์หมุนเวียนเป็น 2 เท่า ของหนี้สินหมุนเวียน ซึ่งทำให้บริษัท ABC มีความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นได้อย่างเพียงพอ
เมื่อเราสามารถคำนวณอัตราส่วนได้แล้ว ในส่วนถัดไปคือ การวิเคราะห์ผลลัพธ์ที่ได้ หากบริษัทมี Current Ratio น้อยกว่า 1.0 แสดงว่าบริษัทมีสัญญาณที่น่ากังวล เนื่องจากมีเงินทุนหมุนเวียนไม่พอ และมีหนี้สิ้นมากกว่าเมื่อเทียบกับมูลค่าของสินทรัพย์หมุนเวียน ส่งผลถึงความสามารถในการชำระหนี้ รวมถึงสภาพคล่องของบริษัทโดยตรง
ในทางกลับกันหากผลลัพธ์ของ Current Ratio มากกว่า 1.0 หมายความว่าบริษัทนั้นมีเงินสดเพียงพอที่จะสามารถชำระหนี้ระยะสั้นได้โดยไม่มีปัญหาสภาพคล่อง อย่างไรก็ตามหากค่าของ Current Ratio สูงเกินไป อาจแสดงถึงปัญหาในการบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนของบริษัทได้ เช่น บริษัทอาจมีเงินสดค้างสูงเกินความจำเป็น แทนที่จะนำไปลงทุนให้เกิดผลตอบแทน หรือ มีลูกหนี้การค้าสูงเกินไป อาจแสดงถึงความสามารถในการเรียกเก็บหนี้และกระเงินสดติดขัดในระยะยาว ทั้งนี้ค่าของ Current Ratio จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับค่าเฉลี่ยของแต่ละอุตสาหกรรม
เนื่องจากแต่ละอุตสาหกรรมมีการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกัน ส่งผลให้ค่าของ Current Ratio มีความแตกต่างตามกันไป ยกตัวอย่าง เช่น
ดังนั้น Current Ratio จึงควรใช้เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของบริษัทหรือธุรกิจในอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์สูงสุด
เมื่อต้องวิเคราะห์สภาพคล่องทางการเงิน นอกจาก Current Ratio แล้ว ยังมีอัตราส่วนอื่น ๆ ที่นักลงทุนควรใช้เพื่อพิจารณาควบคู่กันไป ได้แก่ Quick Ratio และ Cash Ratio โดยแต่ละอัตราส่วนนั้น มีความแตกต่างและการใช้งาน ดังนี้
ตัวชี้วัดเกี่ยวกับความสามารถของบริษัทในการชำระหนี้ระยะสั้น ที่ต้องมีการชำระภายในหนึ่งปี โดยใช้สินทรัพย์หมุนเวียนทั้งหมด เหมาะสำหรับใช้ประเมินสภาพคล่องในภาพรวมของบริษัทหรือธุรกิจนั้น ๆ
มีสูตรการคำนวณ คือ
Current Ratio = สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน
อัตราส่วนที่ใช้วัดสภาพคล่องในการชำระหนี้ระยะสั้น ที่ไม่นับรวมสินค้าคงคลัง และจะนับเฉพาะสินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับธุรกิจหรือบริษัทที่มีสินค้าคงเหลือจำนวนมากหรือมีการหมุนเวียนของสินค้าช้า
มีสูตรการคำนวณ คือ
Quick Ratio = (สินทรัพย์หมุนเวียน - สินค้าคงเหลือ) / หนี้สินหมุนเวียน
ตัวบ่งชี้ที่มีความเข้มงวด รอบคอบ และระมัดระวังมากที่สุด โดยจะใช้ประเมินความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นของบริษัท ซึ่งจะพิจารณาเฉพาะสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงที่สามารถนำมาชำระหนี้ได้ทันที อย่างเงินสดและสินทรัพย์ในรูปแบบเงินสด โดยไม่จำเป็นต้องขายหรือยืมสินทรัพย์ เหมาะสำหรับการวัดความมั่นคงทางเงินของบริษัทในช่วงที่อยู่ในวิกฤติทางการเงิน
มีสูตรการคำนวณ คือ
Cash Ratio = (เงินสด + รายการเทียบเท่าเงินสด) / หนี้สินหมุนเวียน
ค่า Current Ratio ที่ต่ำกว่า 1.0 อาจเป็นสัญญาณว่าบริษัทนั้นกำลังประสบกับปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน และมีหนี้สินที่บริษัทต้องชำระภายใน 1 ปี มากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน ที่อาจบ่งชี้ความสามารถในการชำระหนี้สินได้
โดยทั่วไป Current Ratio ที่มีค่าระหว่าง 1.5 - 3.0 ถือว่าอยู่ในระดับดี และแสดงถึงความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นของบริษัทได้อย่างปลอดภัย อย่างไรก็ตามค่าที่ดี ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ค่า Current Ratio ในอดีตของบริษัทเดียวกัน และสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่สามารถควบคุมได้
Current Ratio เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับนักลงทุนในการใช้ประเมินสภาพคล่องและความมั่นคงทางการเงินของธุรกิจหรือบริษัทนั้น ๆ อัตราส่วนนี้ช่วยให้นักลงทุน นักวิเคราะห์ทราบว่าบริษัทสามารถใช้สินทรัพย์หมุนเวียนในการชำระหนี้สินระยะสั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด ดังนั้น การเข้าใจ Current Ratio พร้อมคำนึงถึงบริบทของแต่ละอุตสาหกรรมอย่างถูกต้อง จะสามารถช่วยลดความเสี่ยง และเพิ่มการลงทุนให้มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนไม่ควรใช้ Current Ratio ในการตัดสินใจลงทุนเพียงอย่างเดียว ควรพิจารณาร่วมกับอัตราส่วนทางการเงินอื่น ๆ ร่วมด้วย เพื่อให้นำไปสู่การตัดสินใจที่สมเหตุสมผลมากขึ้น
คำเตือน
*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
**บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการให้คำแนะนำทางการเงินแต่อย่างใด
อ้างอิง