Share this
ภาษีคริปโต คืออะไร เข้าใจวิธีคำนวณภาษี + ลดภาระภาษี

ช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงการจัดการยื่นภาษี ภาษีคริปโต คือ อีกหนึ่งภาระภาษีที่หลายคนจำเป็นต้องยื่นเสียภาษีเช่นกัน บทความนี้เลยจะพามาทำความเข้าใจและเจาะลึกกันว่า ภาษีคริปโต คืออะไร ใครบ้างที่ต้องเสีย มีประเภทภาษีไหนอีกบ้างที่เกี่ยวเนื่องกัน ต้องยื่นอย่างไร แล้วมีวิธีหรือกลยุทธ์ไหนที่ช่วยลดภาระภาษีคริปโตได้บ้าง
ภาษีคริปโตคืออะไร?
โดยทั่วไปแล้ว ภาษีคริปโต คือ ภาษีที่จัดเก็บรายได้หรือกำไรที่มาจากการทำธุรกรรมหรือลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างคริปโตเคอร์เรนซี ครอบคลุมทั้งการแลกเปลี่ยนซื้อขายสกุลเงินคริปโตต่าง ๆ การทำ Minting (ขุดเหรียญ) การได้รับรีวอร์ดจาก Airdrop หรือการทำ Staking
ทั้งนี้ หากอ้างอิงการจัดประเภทสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งอ้างอิงตามคู่มือสินทรัพย์ดิจิทัลสำหรับผู้ลงทุน เผยแพร่โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์นั้นจะรวมไปถึงคริปโตเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัล

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษีคริปโต?
การกำหนดว่าใครคือผู้ต้องเสียภาษีคริปโตบ้างแล้วนั้น จะพิจารณาว่าบุคคลนั้นได้เงินได้จากการทำอะไรได้บ้าง โดยแยกตามลักษณะหน้าที่และบทบาทของบุคคลในมุมของแวดวงการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล ดังนี้
- นักลงทุนทั่วไป คือ ผู้ที่มีเงินได้จากการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนคริปโตเคอร์เรนซีผ่านแพลตฟอร์ม Exchange ที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
- นักเทรดรายวัน คือ ผู้ที่มีเงินได้จากการซื้อขายคริปโตเคอร์เรนซีเป็นประจำ โดยมุ่งเน้นซื้อขายเพื่อการเก็งกำไร
- นักขุดเหรียญ คือ ผู้ที่มีเงินได้จากการขุดคริปโตเคอร์เรนซี และนำเหรียญที่ได้นั้นมาขายหรือแลกเปลี่ยน
- คนที่ได้รับรีวอร์ดจาก Airdrop, Staking, Yield Farming คือ ผู้ที่มีเงินได้จากการได้รับคริปโตเคอร์เรนซีแบบแจกฟรี (Airdrop) การทำ Staking หรือทำฟาร์ม
ประเภทของภาษีที่เกี่ยวข้องกับคริปโตในไทย
โดยทั่วไปแล้ว ภาษีอื่นที่เกี่ยวเรื่องกับคริปโตเคอร์เรนซียังมีอีกหลายประเภท ได้แก่
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ รายได้จากการลงทุนคริปโตเคอร์เรนซี ซึ่งถือเป็นเงินได้พึงประเมิน จะรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอัตราก้าวหน้า 5% - 35%
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เดิมทีกรมสรรพากรกำหนดการหักภาษีนี้ 15% แต่ปัจจุบันได้ยกเว้นการหักภาษีดังกล่าวในกรณีที่เกิดการซื้อขายบน Exchange ที่ได้รับรองจากหน่วยงาน ก.ล.ต. เท่านั้น

วิธีคำนวณภาษีจากคริปโต
หากอ้างอิงตามหลักของกรมสรรพากรแล้วนั้น การคำนวณว่าได้กำไรหรือขาดทุนจากการลงุทนคริปโตจะอิงจากการคำนวณต้นทุนของคริปโตเคอร์เรนซี ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่ คำนวณตามต้นทุนถัวเฉลี่ย (Moving Average cost) และ คำนวณวิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO)
คำนวณตามต้นทุนถัวเฉลี่ย (Moving Average cost) คือ คำนวณต้นทุนเฉลี่ยของเหรียญทั้งหมดที่ถืออยู่
คำนวณวิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) ขายเหรียญที่ซื้อมาก่อนเป็นลำดับแรก
ยกตัวอย่าง
นาย A ตัดสินใจลงทุนซื้อคริปโตเหรียญในราคา 10,000 บาท ต่อมาได้ซื้ออีกเหรียญเพิ่มในราคา 4,000 บาท หากนาย A ตัดสินใจขายเหรียญใดเหรียญหนึ่งภายหลัง การคำนวณต้นทุนถัวเฉลี่ยจะใช้หลักคิด
([10,000 + 4,000]/2 = 7,000)
แต่ถ้านาย A ใช้วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO) คำนวณต้นทุนภาษีคริปโต จะยึดเอาว่าเหรียญที่นาย A ตัดสินใจขายไปก่อนนั้นคือเหรียญแรกที่ซื้อมาก่อน ซึ่งมีราคา 10,000 บาท นั่นเอง
ทั้งนี้ หากตัดสินใจเลือกคำนวณต้นทุนด้วยวิธีใดแล้ว ก็ต้องยึดวิธีนั้นสำหรับคำนวณต้นทุนตลอดปีภาษี
ขั้นตอนการยื่นภาษีคริปโตในไทย
วิธียื่นภาษีคริปโตในไทยนั้น มีขั้นตอน ดังนี้
- รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งบันทึกการซื้อขาย กำไร ขาดทุน และรายได้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคริปโต
- คำนวณรายได้สุทธิ นำกำไรและขาดทุนมาหักลบกัน หากมีกำไรสุทธิ ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- ยื่นแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90/91 โดยนำยื่นภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป
ขั้นตอนการยื่นภาษีคริปโตออนไลน์
หากต้องการยื่นภาษีคริปโตแบบออนไลน์นั้น สามารถทำได้ โดยยื่นภาษีผ่านระบบออนไลน์ของกรมสรรพากรผ่านการกรอกข้อมูลเกี่ยวกับรายได้จากการลงทุนคริปโตเคอร์เรนซีลงในแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90/91 พร้อมแนบหลักฐานประกอบ ดังนี้
- จำนวนสินทรัพย์ดิจิทัลที่ซื้อหรือขาย
- มูลค่าของสินทรัพยนั้น ณ วันที่ทำธุรกรรม
- อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิง
- รายละเอียดผู้ซื้อหรือผู้ขายสำหรับการซื้อ/ขายสินทรัพย์ดิจิทัล (ถ้ามี)
- หลักฐานใบกำกับภาษีหรือใบเสร็จค่าใช้จ่าย
- หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ถ้ามี)

กลยุทธ์ลดภาษีคริปโตอย่างถูกกฎหมาย
จริง ๆ แล้ว วิธีลดภาระภาษีคริปโตอย่างถูกกฎหมายนั้น โดยเฉพาะภายในประเทศไทย สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
- หักลบกำไรด้วยขาดทุน (Tax Loss Harvesting) คือ การนำผลขาดทุนจากการลงทุนคริปโตเคอร์เรนซีอื่น ๆ ที่อยู่ในปีภาษีเดียวกันนั้น มาหักลบกำไรได้ เพื่อลดฐานภาษีที่ต้องชำระจริง
- ถือครองระยะยาว (HODL) คือ ถือครองสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นเป็นเวลานานกว่า 1 ปี ซึ่งวิธีนี้อาจช่วยลดภาระภาษีได้ เพราะกำไรที่ได้จากการขายสินทรัพย์ที่ถือครองระยะยาวมักถูกเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำกว่าการขายในระยะสั้น ถึงอย่างนั้น วิธีนี้ก็จำเป็นต้องติดตามและศึกษาทำความเข้าใจกฎหมายภาษีที่เกี่ยวข้องในไทยอย่างสม่ำเสมอ
- เลือกวิธีคำนวณต้นทุนที่เหมาะสม ควรพิจารณาวิธีที่สอดคล้องกับรูปแบบการลงทุน เพราะวิธีคำนวณต้นทุนที่เลือกจะส่งผลต่ออัตรากำไรที่คำนวณได้ ตลอดจนภาษีที่ต้องชำระ
- บริจาคคริปโตเพื่อการกุศล วิธีนี้อาจช่วยลดภาระภาษีได้ เพราะอาจได้รับการยกเว้นภาษีหรือนำมาหักลดหย่อนภาษีได้
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับภาษีคริปโต
-
ต้องเสียภาษีคริปโตทุกกรณีหรือไม่?
ใช่ หากมีรายได้หรือกำไรจากคริปโต ต้องยื่นภาษีตามที่กำหนด โดยสามารถอิงลักษณะผู้ที่ต้องเสียภาษีคริปโตตามที่กล่าวไปข้างต้น
-
รายได้จากการ Stake คริปโตต้องเสียภาษีหรือไม่?
ใช่ รายได้จากการ Stake ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ต้องรวมคำนวณภาษี เพราะการทำ Staking ถือเป็นการได้รับผลประโยชน์หรือผลตอบแทนจากการถือครอง เหมือนกับการทำ Yield Farming หรือ Airdrop
-
ถ้าโอนคริปโตให้เพื่อน ถือเป็นรายได้ต้องเสียภาษีหรือเปล่า?
หากโอนคริปโตให้เพื่อนโดยไม่มีค่าตอบแทน ลักษณะนี้ไม่ถือเป็นรายได้ แต่ผู้รับอาจต้องพิจารณาภาระภาษีที่เกี่ยวข้อง
Conclusion
ภาษีคริปโตว่าด้วยการเสียภาษีที่ได้จากการได้รายได้หรือผลตอบแทนจากการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งครอบคลุมทั้งคริปโตเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัล ทั้งนี้ผู้ที่ต้องเสียภาษีดังกล่าวก็มีทั้งนักลงทุนทั่วไป นักเทรด นักขุดเหรียญ หรือแม้แต่คนที่ได้รับรีวอร์ดด้วยวิธีการต่าง ๆ แม้ว่าจะมีวิธีช่วยลดภาระภาษีคริปโตอยู่ แต่ก็ควรศึกษาและติดตามข้อมูลล่าสุดจากกรมสรรพากรเสมอ เพราะกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับภาษีคริปโตนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้
คำเตือน
*คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
**บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการให้คำแนะนำทางการเงินแต่อย่างใด
อ้างอิง
Share this
- Bitazza Blog (56)
- Crypto Weekly (38)
- DAO (15)
- Beginner (14)
- mission (11)
- ความปลอดภัย (11)
- บล็อกเชน (8)
- Learning Hub (6)
- การค้าขาย (6)
- หัวข้อเด่น (6)
- ตลาด (5)
- วิจัย (5)
- Security (3)
- Tether (USDt) (3)
- missions (3)
- เศรษฐศาสตร์ (3)
- Bitazza Insights (2)
- Campaigns (2)
- Token talk (2)
- Trading (2)
- เกี่ยวกับการสอน (2)
- Crypto รายสัปดาห์ (1)
- Disclosure (1)
- Educational (1)
- Featured (1)
- Stablecoin (1)
- TradingView (1)
- bitcoin (1)
- บิทาซซ่าบล็อกส์ (1)