Share this
3 ประวัติศาสตร์การถูกแฮ็กครั้งยิ่งใหญ่ของโลกคริปโต
วันนี้บิทาซซ่าจะพาคุณมาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของเรื่องราวที่ถือได้ว่าเป็นรอยแผลใหญ่ๆจากอดีตแห่งวงการคริปโตเลยก็ว่าได้ เพื่อที่เราจะได้นำไปปรับใช้และป้องกันตัวเองอยู่เสมอ ไม่ตกเป็นเหยื่อของพวกมิจฉาชีพที่พร้อมจะโจมตีเราได้ทุกเมื่อ
#1 Ronin Network, 2022, $614m
การถูกแฮ็กที่ถือว่าโหดที่สุด และสร้างความเสียหายมากที่สุดเกิดกับ Ronin Network เครือข่าย Sidechain สำหรับการทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงินคริปโตเคอร์เรนซีของเกม P2E ชื่อดัง Axie Infinity
ซึ่งถูกแฮ็กสินทรัพย์ออกจากระบบแบ่งเป็น
- 173,600 ETH หรือราว 19,600 ล้านบาท
- 25,500,000 USDC หรือราว 855 ล้านบาท
*คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 20,455 ล้านบาท หรือ 614 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ
ทันทีที่ทางทีมงานแจ้งให้ผู้ใช้ทราบเรื่องการโดนแฮ็ก ก็ปิดระบบแลกเปลี่ยนและฝาก-ถอนของ Ronin Network ลงชั่วคราว พร้อมราคาเหรียญ RON ที่ลดลงกว่า 20% ซึ่งสุดท้ายทางทีมงาน Ronin Network ได้ให้สัญญากับผู้ใช้ว่าจะทำงานกับหน่วยงานทางกฎหมาย เพื่อตามตัวคนร้าย และนำเงินที่ถูกขโมยไปคืนมาให้เร็วที่สุด
ต่อมามีการสืบสวนข้อมูลจนพบต้นตอของการถูกแฮกที่มูลค่าสูงที่สุดฝนประวัตศาสตร์ว่า เกิดจากการที่พนักงานวิศวะคอมพิวเตอร์ของ Sky Mavis ได้รับข้อเสนองานใหม่โดยบริษัทปลอมที่สร้างขึ้นโดยแฮกเกอร์ ผ่านทาง LinkedIN แพลต์ฟอร์มโซเชียลมีเดียสำหรับหางาน
จากการยืนยันของรัฐบาลสหรัฐฯ กลุ่มแฮกเกอร์เบื้องหลังการโจรกรรมดิจิทัลครั้งนี้คือ Lazarus จากเกาหลีเหนือ โดยทำการหลอกลวงให้ค่าตอบแทนสูงจน”ดีเกินจริง” และมีการเรียกสัมภาษณ์หลายครั้ง ล่อลวงให้พนักงานกดเปิดลิ้งค์ไฟล์เอกสารที่มีรายละเอียดของตำแหน่งาน(ปลอม)นั้นๆอยู่ ทำให้แฮกเกอร์ทะลวงเข้าสู่คอมพิวเตอร์ของพนักงานท่านนั้นได้ในที่สุด และโอนสินทรัพย์ออกไปสู่วอลเลทตัวเองรวมกว่า 2หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐ*
*คำนวนจากราคาคริปโต ณเวลาที่การโจรกรรมเกิดขึ้น
#2 Poly Network Hack, $610M
การโดนแฮ็กอันดับรองลงมา แต่เกิดขึ้นก่อนและทำให้ผู้คนต่างตกใจมากเพราะเป็นครั้งแรกที่แพลตฟอร์มคริปโตถูกแฮ็กไปด้วยมูลค่ามหาศาลแบบนี้ “Poly Network” แพลตฟอร์มผู้ให้บริการโอนข้ามเหรียญระหว่างเครือข่าย (Bridge Protocol) โดยช่องโหว่เกิดจากฟังก์ชั่น Cross-chainใน Smart contract ที่สามารถเปลี่ยนบัญชีผู้ดูแลเงินได้ ทำให้แฮกเกอร์นำบัญชีตัวเองเข้ามาสวมและสั่งโอนเงินออกไปได้อย่างอิสระ ซึ่งมูลค่าที่โอนออกไปก็คือ 610 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ
หลังจากโดนแฮกระบบ ทีมงาน Poly Network ได้ทำการเปิดเผย “Wallet Address” ของแฮกเกอร์
พร้อมขอความร่วมมือนักขุดและ Exchange ต่าง ๆ ให้แบนหรือระงับการให้บริการเหรียญที่อาจถูกส่งมาจากวอลเล็ทดังกล่าว ซึ่งทาง Tether เจ้าของ USDT ก็ตอบรับความร่วมเป็นอย่างดีและได้ทำการล็อคเหรียญ USDT ไว้ได้กว่า 33 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ หลังจากนั้นทางทีมงานก็ได้พยายามเจรจากับแฮ็กเกอร์ให้นำเหรียญมาคืนทั้งหมด เพราะมันอาจจะเป็นคดีความที่ร้ายแรงได้
ต่อมาแฮกเกอร์นิรนามที่ใช้ชื่อแฝงว่า Mr.Whitehat #mrwhitehat ได้โอนสินทรัพย์กลับไปที่แอดเดรสเดิมครึ่งหนึ่งพร้อมฝังโค้ดไว้ พร้อมชี้แจงความตั้งใจเบื้องหลังการโจรกรรมที่ไม่ไว้ใจความปลอดภัย ต้องการเปิดให้เห็นช่องโหว่ของเครื่อค่าย อ้างว่าต้องการ”ปกป้องโลก” และทำเพื่อความสนุก
โดยในท้ายที่สุดความพยายามของทีมงานก็เป็นผลสำเร็จ แฮกเกอร์ได้ทำการคืนเงินทั้งหมด(ยกเว้น USDT 33 ล้านเหรียญที่ถูกล็อคอยู่) แม้ว่าก่อนการคืนจะพยายามหาวิธี Unlock USDT หรือหาแนวร่วมการเจาะระบบครั้งนี้อยู่บ้างแต่ก็ไม่เป็นผล
หลังจากนั้นทางแพลตฟอร์มมีการเสนอให้รางวัล 5 แสนดอลล่าห์สหรัฐแก่แฮกเกอร์เพราะในที่สุดก็ไม่ได้มีเจตนาร้าย โดยทาง Mr.Whitehat ได้ปฏิเสธทั้งหมด และจนปัจจุบันก็ยังไม่มีใครรู้ตัวตนที่แท้จริงของเขา
#3 Coincheck Hack, $533M
อันดับสุดท้ายที่ยกตัวอย่างมาให้อ่านกันคือ Coincheck ศูนย์แลกเปลี่ยนเงินสกุลดิจิทัลในประเทศญี่ปุ่น ถูกแฮกเหรียญสกุล NEM 523 เหรียญ ซึ่งเป็นมูลค่ากว่า 533 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยแพลตฟอร์มพบการโอนสิทนทรัพย์จากบัญชีน่าสงสัยส่ง NEM ออกไปยัง 11 วอลเลท ซึ่งกว่าจะพบว่าเป็นการแฮกก็ล่วงเลยไปครึ่งวันแล้ว
ปัญหาของ Coincheck คือการเก็บเงินส่วนมากไว้ใน “Hot wallet” ซึ่งจะมีช่องโหว่สูงมาก การโจรกรรมครั้งนี้เกิดขึ้นจากการที่พนักงานได้รับอีเมล”ฟิชชิ่ง’ และเผลอกดเข้าไป ทำให้แฮกเกอร์เจาะเข้าไปดึงข้อมูลออกมาได้โดยง่าย
หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวช่วงเมษายน 2561 ทาง Coincheck ถูกซื้อโดย Monex Group ซึ่งประกาศว่าจะทำการคืนเงินเต็มจํานวนให้กับผู้ใช้ทุกรายที่ถูกแฮ็กเหรียญ NEM จำนวนกว่า 260,000 ราย ซึ่งถือว่าได้ใจชุมชนญี่ปุ่นส่วนใหญ่เป็นอย่างมาก
และไม่เพียงเท่านั้น ทางทีมพัฒนา NEM กำลังพัฒนาระบบอัตโนมัติ เพื่อติดตามเส้นทางของเงินที่ถูกขโมยไปและรับทำการขึ้นบัญชีไว้ทั้งหมดว่าเงินเหล่านั้น “ไม่บริสุทธิ์” ซึ่งจะทำให้เว็บเทรดอื่นๆ สามารถแบนบัญชีของแฮ็กเกอร์เพื่อช่วยป้องกันการฟอกเงินที่จะเกิดขึ้นได้
Share this
- Bitazza Blog (111)
- Crypto Weekly (47)
- DAO (15)
- Beginner (14)
- mission (11)
- ความปลอดภัย (11)
- Tether (USDt) (8)
- บล็อกเชน (8)
- bitcoin (7)
- missions (7)
- Learning Hub (6)
- การค้าขาย (6)
- หัวข้อเด่น (6)
- ตลาด (5)
- วิจัย (5)
- Campaigns (3)
- Security (3)
- เศรษฐศาสตร์ (3)
- Bitazza Insights (2)
- Social Features (2)
- Stablecoin (2)
- Token talk (2)
- Trading (2)
- TradingView (2)
- เกี่ยวกับการสอน (2)
- Crypto รายสัปดาห์ (1)
- Disclosure (1)
- ENJ (1)
- Educational (1)
- Featured (1)
- KYC (1)
- NFTs (1)
- SEC (1)
- TRUMP (1)
- บิทาซซ่าบล็อกส์ (1)
Subscribe by email

WAN Coin คืออะไร? เหรียญจาก Wanchain กับโซลูชันเชื่อมต่อบล็อกเชน

NEAR Coin คืออะไร? แพลตฟอร์มบล็อกเชนใช้งานง่ายสำหรับทุกคน

มาเลเซียเปิดตัวฮับสินทรัพย์ดิจิทัล เตรียมทดลอง Stablecoin ผูกเงินริงกิต

DOT Coin คืออะไร? เจาะลึก Polkadot และระบบเชื่อมบล็อกเชนแห่งอนาคต

ส่อง PNUT Coin เหรียญมีมมาแรงบน Solana

TON Coin คืออะไร? ทำความรู้จักเหรียญจาก Telegram และอนาคตของ Web3

รู้จัก NOT Coin คืออะไร? เหรียญไวรัลจาก Telegram ที่กำลังเปลี่ยนเกมคริปโตฯ

BabyDoge คืออะไร? วิเคราะห์อนาคตเหรียญมีมในตลาดคริปโตปี 2025

AAVE คืออะไร? แพลตฟอร์มกู้ยืมในโลก DeFi ที่นักลงทุนต้องรู้
