Bitazza Thailand Blog

Protection​ ตอนที่ 1 การใช้ Anti-Virus ตัวดี

เขียนโดย akeadmin - 12 มิ.ย. 2024, 9:30:17
 

ถ้าคุณคิดว่าภาคต่อนั้นมีแต่ในทีวีโชว์ล่ะก็ ให้คุณคิดใหม่อีกรอบ เพราะเรากำลังจะเล่าถึง 10 วิธีการเพิ่มความปลอดภัยในการรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของคุณ

บทความนี้จะโชว์ให้เห็นมุมมองในแง่ต่าง ๆ ว่านักลงทุนควรที่จะรับมืออกับมิจฉาชีพหรือแฮ็กเกอร์ที่แฝงตัวอยู่ในวงการคริปโตได้อย่างไร อันดับแรกจาก 5 สิ่งที่สำคัญก็คือการใช้ Anti-Virus เพื่อป้องกันและทำลาย Malware

ชีวิตจริงก็เหมือนกับในการ์ตูนนั่นแหละที่เมื่อใดก็ตามมีซุปเปอร์ฮีโร่ เมื่อนั้นก็ย่อมมีวายร้ายตามมาราวีเสมอ เช่นเดียวกับนวัตกรรมทางด้านดิจิทัลที่มักจะมีสิ่งแปลกปลอมในอินเทอร์เน็ตตามมารังความชุมชนออนไลน์เสมอ



แน่นอนว่าในวงการคริปโตก็หนีไม่พ้นเช่นกันที่มีมิจฉาชีพแฝงตัวมา ด้วยความที่ Crpytocurrency นั้นเป็นเทคโนลยีที่เพิ่งถือกำเนิดใหม่ ทำให้ยังไม่ค่อยมีการคุ้มครองที่รัดกุมนัก ตกเป็นเป้าหมายของแฮ็กเกอร์อยู่บ่อยครั้ง โดยส่วนมากแฮ็กเกอร์เหล่านั้นมักจะทำการปล่อย Malware หรือไวรัสใส่เหยื่อเสมอ เช่น Cryptojacking Malware ที่แอบขุดคริปโตบนตลาดซื้อขาย​แลกเปลี่ยน​และผู้ลงทุน​ที่ไม่เกิดความสงสัย​

ไวรัสมากมายหลายชนิด

Cryptomining Malare (ไวรัสที่แอบขุดคริปโต) หรือที่รู้จักกันในนามของ Cryptojacking เป็นโปรแกรมที่จะแอบใช้งานอุปกรณ์ เช่นคอมพิวเตอร์ของเหยื่อเพื่อขุดคริปโต โดยจะส่งคริปโตที่ขุดได้ไปที่กระเป๋าของแฮ็กเกอร์

ในระหว่างที่เหยื่อกำลังเปิดคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานตามปกติ แฮ็กเกอร์ก็จะได้รับคริปโตเรื่อย ๆ จากการใช้อุปกรณ์ของเหยื่อนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม Malware ในวงการคริปโตนั้นไม่ได้มีแค่ชนิดเดียว เพราะมันมาในหลากหลายรูปแบบเช่น Ryuk, Save Yourself และ Sextortion ที่มันไม่ได้แอบขุดคริปโต แต่จะทำการล็อคคอมพิวเตอร์นั้นไว้ และต้องทำการโอนคริปโตไปเพื่อจ่ายค่าไถ่ในการเข้าคอมพิวเตอร์ได้อีกครั้งไปยัง Wallet ของแฮ็กเกอร์ก็มี

 


ด่านป้องกันชั้นแรก

ถึงแม้ ในตอนนี้จะไม่มีวิธีป้องกันการจู่โจมของแฮ็กเกอร์ได้แบบ 100% แต่สิ่งสำคัญที่ต้องมีเลยคือโปรเแกรม Anti-Virus ซึ่งจะเป็นด่านป้องกันชั้นแรกที่สำคัญมาก ๆ

ถ้าคุณเป็นนักลงทุนคริปโตล่ะก็ Anti-Virus จะเป็นกุญแจอีกชิ้นที่จะช่วยรักษาคริปโตของเราให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และก็อย่ามักง่ายใช้โปรแกรมเวอร์ชันฟรี ถึงแม้ Anti-Virus บางอันจะมีความสามารถพอสมควรสำหรับเวอร์ชันฟรี แต่ในแง่ของความปลอดภัยแล้ว การจ่ายเงินเพื่อใช้ฟีเจอร์แบบเต็มที่ย่อมคุ้มกับการป้องกันมากกว่า

 


ใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพ

ในตอนที่เราเลือก Anti-Virus พยายามมองหาโปรแกรมที่ป้องกันไวรัสได้ดีเป็นพิเศษ และอันที่มีการป้องกันหลายชั้น ซึ่งจะต่อต้านพวก Malware, Ransomware, Spyware และ Trojans ต่าง ๆ ได้ดี เวลาเลือกใช้ทั้งทีก็ต้องเลือกอันที่ดีไปเลย

ก็ต้องเข้าใจไว้ด้วยว่า โปรแกรม Anti-Virus นั้นก็ใช้ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์เราเช่นกัน การที่คอมพิวเตอร์เราจะทำงานช้าลงก็ไม่ใช่เรื่องแปลก พยายามลองหาการตั้งค่าที่กินทรัพยากรน้อยที่สุด ก็สามารถช่วยลดปัญหานี้ได้

ใครที่เคยใช้ Anti-Virus จะรู้ดีว่า มันจะมีการแจ้งเตือนให้อัปเดตเวอร์ชันอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งผู้ใช้งานส่วนใหญ่มักเลือกกด ‘อัปเดตภายหลัง’ ด้วยความที่ภัยต่าง ๆ ในวงการคริปโตพัฒนาอย่างต่อเนื่องแบบนี้ พยายามกดอัปเดตโปรแกรมทันทีให้เป็นนิสัย หรืออาจจะตั้งค่าให้มีการอัปเดตอัตโนมัติก็ได้ แต่จุดที่สำคัญเลยคือห้ามลืมอัปเดตเด็ดขาด เพราะอาจมีช่องโหว่ใหม่ที่ Anti-Virus นั้นตรวจพบ แล้วทำการแก้ไขก็เป็นได้

ใน Protection​ Part 2 นั้น เราจะมาโฟกัสในเรื่องของ Hardware Wallets ที่เป็นเครื่องมือที่ควรใช้สำหรับเก็บคริปโตให้ปลอดภัยจากแฮ็กเกอร์ได้

 

หมายเหตุ: บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อให้คำแนะนำเท่านั้น ผู้อ่านควรศึกษาเองให้รอบคอบก่อนที่จะทำการตัดสินใจในแง่ของความปลอดภัย